สอท.กังวลราคาพลังงาน-วัตถุดิบพุ่ง แนะพลิกวิกฤตเป็นโอกาสพัฒนาสินค้าBCG

23 มี.ค. 2565 | 09:33 น.

สอท.กังวลราคาพลังงาน-วัตถุดิบพุ่ง  แนะพลิกวิกฤตเป็นโอกาสพัฒนาสินค้าที่เกี่ยวกับ BCG เพิ่มมูลค่าดึงเม็ดเงินเข้าไทย ชี้สงครามรัสเซียจบใน 3 เดือนหวั่นสงครามเศรษฐกิจลากยาว

นายเกรียงไกร  เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)และประธานสภาธุรกิจไทย-รัสเซีย กล่าวในงานเสวนาฝ่าไฟสงครามรับมือวิกฤตเศรษฐกิจ ในหัวข้อ ทางออก ทางรอดธุรกิจไทยหลังสงครามจัดโดยหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจและกรุงเทพธุรกิจ ว่า ในทุกวิกฤตมีโอกาส จริง ๆ แล้วปัญหาสงครามรัสเซีย-ยูเครนเป็นความท้าทาย ซึ่งไทยเองผ่านความท้าทายมาหลายระดับ เช่น หลายอุตสาหกรรมในโลกที่ถูกดิสรัปชั่น ซึ่งส.อ.ท.มีการศึกษาอุตสาหกรรมของไทยพบว่าไทยยังเป็นอุตสาหกรรม 2-2.5 ไม่ใช่อุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งเป็นความท้าทายที่อุตสาหกรรมไทยต้องปรับตัวก่อนจะถูกดิสรัปชั่น 

นายเกรียงไกร  เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

 

ก่อนหน้านี้สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐ แม้ว่าจะคลี่คลายลงไปบ้างแต่ก็ยังอึมครึม และทั้ง 2 ประเทศเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย ที่ผ่านมาไทยเองได้รับผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ หลายอุตสาหกรรมได้รับอานิสงส์จากสงครามการค้าแต่หลายอุตสาหกรรมก็ได้รับผลกระทบ

สอท.กังวลราคาพลังงาน-วัตถุดิบพุ่ง แนะพลิกวิกฤตเป็นโอกาสพัฒนาสินค้าBCG

สำหรับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ช่วง 2 ปีที่ผ่านมากิจกรรมทั่วโลกต่างหยุดชะงักไป ทั้งการค้าขาย การท่องเที่ยวที่หยุดลง แต่เครื่องยนต์ที่ยังผลักดันเศรษฐกิจไทยให้ยังเดินหน้าอยู่ท่ามกลางวิกฤตครั้งนี้คือภาคอุตสาหกรรม โดยในปี 2564 การส่งออกไทยขยายตัวถึง 17.1% โดยเป็นภาคอุตสาหกรรมที่เป็นพระเอกในปีที่ผ่านมา ภาคการผลิตมีการพัฒนาและสามารถแข่งขันได้ในระดับหนึ่งแต่ก็มาเจอสงครามรัสเซีย-ยูเครน

 

สอท.กังวลราคาพลังงาน-วัตถุดิบพุ่ง แนะพลิกวิกฤตเป็นโอกาสพัฒนาสินค้าBCG

 

“สิ่งที่เอกชน กังวล คือราคาพลังงาน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบที่พุ่งสูงถึง100-120 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล ทำให้ราคาสินค้าได้รับผลกระทบ แต่ทั้งนี้ สงครามรัสเซียกับยูเครนไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยมาก โดยปี 2564  ไทยส่งออกไปรัสเซีย 1,020 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นำเข้า 1,750 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ดยมูลค่าการส่งออกรูปเงินบาท 3.3 หมื่นล้านบาทคิดเป็นสัดส่วน 0.38% ของยอดส่งออกไทยไปทั่วโลก”

นอกจากนี้สิ่งที่ส.อ.ท.กังวลอีกประเด็นคือ ราคาเหล็ก ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยขึ้นมาถึง 200 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และมีโอกาสเพิ่มถึง1,100-1,200ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตได้รับผลกระทบอย่างหลีกไม่ได้ ไม่วาจะเป็นยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า บรรจุภัณฑ์ หรือแม้แต่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างและภายใต้การแซงชั่นนี้อาจทำให้ขาดซัพพลายเชน

 

สอท.กังวลราคาพลังงาน-วัตถุดิบพุ่ง แนะพลิกวิกฤตเป็นโอกาสพัฒนาสินค้าBCG

 

รวมถึงการที่สหรัฐ และประเทศในนยุโรปต่างออกมาบอยคอตรัสเซียผลกระทบที่เกิดขึ้นในตอนนี้คือราคาปุ๋ยเคมีที่สูง เพราะรัสเซีย เบลารุส ยูเครน เป็นประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกซึ่งทั่วโลกได้รับผลกระทบแน่นอนโดยเฉพะกลุ่มอาหาร โดยไทยนำเข้าปุ๋ยปีหนึ่ง 5,000 ล้านบาท

 

สอท.กังวลราคาพลังงาน-วัตถุดิบพุ่ง แนะพลิกวิกฤตเป็นโอกาสพัฒนาสินค้าBCG

 

“ในระยะสั้นสิ่งที่กังวลคือภาคเกษตรกร ที่จะได้รับผลกระทบ เพราะวัตถุดิบบางอย่างนำเข้ามาจากรัสเซีย ซึ่งหากขาดแคลนก็อาจจะทำให้ผลผลิตของเกษตรกรต่ำลง  นอกจากนี้ค่าไฟที่จะปรับขึ้นเป็น 4 บาทต่อหน่วยในเดือนพฤษภาคมนี้ และอนาคตอาจจะปรับเป็น 5 บาทต่อหน่วยนั้นก็จะเป็นการสร้างภาระและต้นทุนให้กับทั้งประชาชนและภาคธุรกิจ ซึ่งอยากให้ภาครัฐสนับสนุนค่าไฟหรือหาพลังงานทดแทนเพื่อให้ราคาพลังงานลดลง”

 

สอท.กังวลราคาพลังงาน-วัตถุดิบพุ่ง แนะพลิกวิกฤตเป็นโอกาสพัฒนาสินค้าBCG

 

ส่วนการดิสรัปชั่น(ภัยคุกคาม) ของภาคอุตสาหกรรม รัฐบาลต้องให้ความสำคัญ เพราะในอนาคตทั่วโลกจะไม่เหมือนเดิม ความมั่นคงทางด้านอาหาร หรือแม้แต่เรื่อง BCG ซึ่งต้องหันมาให้ความสำคัญในการพัฒนาเรื่องพวกนี้ นอกจากนี้สิ่งที่เป็นห่วงคือกลุ่มเอสเอ็มอี ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด เงินเฟ้อ สินค้าแพง เป็นสิ่งที่เอสเอ็มอีที่สายป่านไม่ยาวได้รับผลกระทบ รัฐบาลต้องหาทางให้คนกลุ่มนี้อยู่รอดให้ได้ในอุตสาหกรรม”

เรื่อง BCG ส.อ.ท.ให้ความสำคัญมาก โดยเราดึง B ไบโอพลาสติก ซึ่งไทยมีศักยภาพมาก มาเป็นจุดแข็งในการพัฒนาสินค้าและสร้างมูลค่า ดึงเม็ดเงินลงทุนเข้ามาในไทย ไทยต้องเร่งทำ R&D พลิกวิกฤตเป็นโอกาสให้ได้ และเห็นด้วยกับการตรึงอัตราดอกเบี้ยเพราะจะช่วยให้ต้นทุนของผู้ผลิตไม่เพิ่มขึ้น

 

สอท.กังวลราคาพลังงาน-วัตถุดิบพุ่ง แนะพลิกวิกฤตเป็นโอกาสพัฒนาสินค้าBCG

ส่วนปัญหาสงครามรัสเซีย-ยูเครน มองว่ายืดเยื้อแต่จะจบลงใน 3 เดือน  เพราะถ้าไม่จบใน 3 เดือนเชื่อว่าจะเกิดสงครามเศรษฐกิจแน่นอน และจะส่งผลกระทบไปทั่วโลก ทั้งเรื่องของราคาวัตถุดิบต่าง ๆ