อัพเดท มาตรการคลายล็อกดาวน์ รอบล่าสุด ทุกโซนสีโควิด เช็ครายละเอียดที่นี่

31 มี.ค. 2565 | 04:30 น.

ตรวจสอบ มาตรการคลายล็อกดาวน์ รอบล่าสุด ทุกโซนสีโควิด ทั่วประเทศ ทุกกิจการ กิจกรรม ตามมติศบค.ชุดใหญ่ วันที่ 18 มี.ค.65 รวมทั้งมาตรการสงกรานต์ 2565 ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว อัพเดทได้ที่นี่

ฐานเศรษฐกิจ เกาะติดมาตรการคลายล็อกดาวน์ รอบล่าสุด ในทุกพื้นที่โซนสีโควิด ทั่วประเทศทุกจังหวัด ในทุกกิจการ และกิจกรรม ตามมติผลการประชุมศบค.ชุดใหญ่ วันที่ 18 มี.ค.65  โดยมีรายละเอียดดังนี้ 

 

มาตรการพื้นที่ควบคุม (สีส้ม) 20 จังหวัด 

  • ได้แก่ ตาก นครนายก นครปฐม นครราชสีมา นครศรีธรรมราช บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก ระนอง ระยอง ราชบุรี สงขลา สมุทรปราการ สมุทรสาคร สุราษฏร์ธานี อุดรธานี อุตรดิตถ์

 

ร้านอาหาร 

ทั้งในและนอกศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า หรือสถานที่อื่นใดที่มีร้านอาหาร

  • บริโภคในร้านได้
  • เปิดได้ตามปกติ
  • ห้ามการบริโภคสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้าน
  • ให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม. สามารถพิจารณากำหนดมาตรการและเวลาเพิ่มเติมได้ ตามสถานการณ์ของพื้นที่ได้

 

ร้านสะดวกซื้อ ตลาด ตลาดนัด

  • เปิดบริการได้ตามปกติ

 

การห้ามออกนอกเคหสถาน

  • ไม่มีการห้ามออกนอกเคหสถาน

อัพเดท มาตรการคลายล็อกดาวน์ รอบล่าสุด ทุกโซนสีโควิด เช็ครายละเอียดที่นี่

Work from home

  • หน่วยงานของรัฐ ผู้ประกอบการภาคเอกชน ดำเนินการได้ตามความเหมาะสม ยกเว้น กทม และปริมณฑล ดำเนินการเหมือนพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด

 

การจัดกิจกรรมรวมกลุ่ม

  • ห้ามจัดกิจกรรมรวมคนมากกว่า 500 คน
  • กรณีเกินจำนวน ให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม. พิจารณา

 

สถานศึกษา ทุกระดับ สถาบันกวดวิชา

  • ให้ใช้อาคารสถานที่ เพื่อจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติภายใต้มาตรการป้องกันโรคที่ราชการกำหนด

 

ร้านเสริมสวย ร้านสถานเสริมความงาม ร้านสัก

  • เปิดบริการได้ตามปกติ แต่ไม่เกิน 24.00น.

 

สถานบริการเพื่อสุขภาพ นวด สปา

  • เปิดบริการได้ตามปกติแต่ไม่เกิน 24.00น.

อัพเดท มาตรการคลายล็อกดาวน์ รอบล่าสุด ทุกโซนสีโควิด เช็ครายละเอียดที่นี่

ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์

  • เปิดบริการได้ตามเวลาปกติ 
  • เปิดสวนสนุก สวนน้ำ เฉพาะพื้นที่เปิดโล่ง


ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุมฯ

  • จัดประชุม มหกรรมกีฬา แสดงสินค้า (ชิมอาหารได้) ไม่เกิน 1,000คน ให้เหมาะสมกับขนาดพื้นที่ไม่ให้แออัด
  • เว้นระยะห่าง อย่างน้อย 1 เมตร
  • สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา

มาตรการพื้นที่เฝ้าระวังสูง (สีเหลือง) 47 จังหวัด 

  • ได้แก่ กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ขอนแก่น จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชัยนาท ชัยภูมิ ชุมพร เชียงราย ตรัง ตราด นครพนม นครสวรรค์ นราธิวาส น่าน บึงกาฬ ปราจีนบุรี ปัตตานี พะเยา เพชรบูรณ์ แพร่ มหาสารคาม มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธร ยะลา ร้อยเอ็ด ลพบุรี ลำปาง ลำพูน เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สตูล สมุทรสงคราม สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อ่างทอง อำนาจเจริญ อุทัยธานี อุบลราชธานี

 

ร้านอาหาร 

ทั้งในและนอกศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า หรือสถานที่อื่นใดที่มีร้านอาหาร

  • บริโภคในร้านได้
  • เปิดได้ตามปกติ
  • จำกัดเวลาการบริโภคสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านไม่เกิน 23.00น.
  • ให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม. สามารถพิจารณากำหนดมาตรการและเวลาเพิ่มเติมได้ ตามสถานการณ์ของพื้นที่ได้

 

ร้านสะดวกซื้อ ตลาด ตลาดนัด

  • เปิดบริการได้ตามปกติ

 

การห้ามออกนอกเคหสถาน

  • ไม่มีการห้ามออกนอกเคหสถาน

 

Work from home

  • หน่วยงานของรัฐ ผู้ประกอบการภาคเอกชน ดำเนินการได้ตามความเหมาะสม ยกเว้น กทม และปริมณฑล ดำเนินการเหมือนพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด

 

การจัดกิจกรรมรวมกลุ่ม

  • ห้ามจัดกิจกรรมรวมคนมากกว่า 1,000 คน
  • กรณีเกินจำนวน ให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม. พิจารณา

 

สถานศึกษา ทุกระดับ สถาบันกวดวิชา

  • ให้ใช้อาคารสถานที่ เพื่อจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติภายใต้มาตรการป้องกันโรคที่ราชการกำหนด

 

ร้านเสริมสวย ร้านสถานเสริมความงาม ร้านสัก

  • เปิดบริการได้ตามปกติ

 

สถานบริการเพื่อสุขภาพ นวด สปา

  • เปิดบริการได้ตามปกติ

 
ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์

  • เปิดบริการได้ตามเวลาปกติ 


ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุมฯ

  • จัดงานได้ตามความเหมาะสม 

 

มาตรการพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว (สีฟ้า) 10 จังหวัด 

  • ได้แก่ กทม. กาญจนบุรี กระบี่ ชลบุรี นนทบุรี ปทุมธานี พังงา ภูเก็ต เพชรบุรี และ เชียงใหม่

 

ร้านอาหาร 

ทั้งในและนอกศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า หรือสถานที่อื่นใดที่มีร้านอาหาร

  • บริโภคในร้านได้
  • เปิดได้ตามปกติ
  • จำกัดเวลาการบริโภคสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านไม่เกิน 23.00น.
  • ให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม. สามารถพิจารณากำหนดมาตรการและเวลาเพิ่มเติมได้ ตามสถานการณ์ของพื้นที่ได้

 

ร้านสะดวกซื้อ ตลาด ตลาดนัด

  • เปิดบริการได้ตามปกติ

 

การห้ามออกนอกเคหสถาน

  • ไม่มีการห้ามออกนอกเคหสถาน

 

Work from home

  • หน่วยงานของรัฐ ผู้ประกอบการภาคเอกชน ดำเนินการได้ตามความเหมาะสม ยกเว้น กทม และปริมณฑล ดำเนินการเหมือนพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด

 

การจัดกิจกรรมรวมกลุ่ม

  • จัดกิจกรรมการรวมกลุ่มตามความเหมาะสม

 

สถานศึกษา ทุกระดับ สถาบันกวดวิชา

  • ให้ใช้อาคารสถานที่ เพื่อจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ

 
ร้านเสริมสวย ร้านสถานเสริมความงาม ร้านสัก

  • เปิดบริการได้ตามปกติ

 

สถานบริการเพื่อสุขภาพ นวด สปา

  • เปิดบริการได้ตามปกติ

 
ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์

  • เปิดบริการได้ตามเวลาปกติ 


ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุมฯ

  • จัดงานได้ตามความเหมาะสม 

อัพเดท มาตรการคลายล็อกดาวน์ รอบล่าสุด ทุกโซนสีโควิด เช็ครายละเอียดที่นี่ อัพเดท มาตรการคลายล็อกดาวน์ รอบล่าสุด ทุกโซนสีโควิด เช็ครายละเอียดที่นี่ อัพเดท มาตรการคลายล็อกดาวน์ รอบล่าสุด ทุกโซนสีโควิด เช็ครายละเอียดที่นี่ อัพเดท มาตรการคลายล็อกดาวน์ รอบล่าสุด ทุกโซนสีโควิด เช็ครายละเอียดที่นี่

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่ง ศบค. ลงนามโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในการแบ่งพื้นที่โซนสีโควิดล่าสุด ในการควบคุมสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 เพื่อมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2565เป็นต้นไป หรือจนกว่าจะมีคําสั่งเปลี่ยนแปลง เป็นอย่างอื่น โดยมีเนื้อหาดังนี้


คําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ 6/2565 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กําหนดเป็นพื้นที่ควบคุม พื้นที่เฝ้าระวังสูงและพื้นที่นําร่องด้านการท่องเที่ยว

 

ตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว ออกไปอย่างต่อเนื่องเป็นระยะนั้น

 

เพื่อให้การบริหารจัดการและเตรียมความพร้อมในการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 ตามแนวทางการจัดเขตพื้นที่สถานการณ์ตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 

 

อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 (2) ของคําสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2563เรื่อง แต่งตั้งผู้กํากับ การปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2563 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

 

นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อํานวยการศูนย์บริหาร สถานการณ์โควิด - 19 โดยคําแนะนําของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 และศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย 

 

จึงมีคําสั่งให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงาน เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรการตามข้อกําหนดฯ สําหรับเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กําหนด เป็นพื้นที่ควบคุม พื้นที่เฝ้าระวังสูงและพื้นที่นําร่องด้านการท่องเที่ยว ตามบัญชีรายชื่อจังหวัดแนบท้าย คําสั่งนี้

 

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2565เป็นต้นไป หรือจนกว่าจะมีคําสั่งเปลี่ยนแปลง เป็นอย่างอื่น สั่ง ณ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผู้อํานวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับบัญชีรายชื่อจังหวัดที่กําหนดระดับของพื้นที่สถานการณ์เพื่อการบังคับใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ แนบท้ายคําสั่งศบค. ที่ 6/2565 ดังกล่าว มีรายละเอียดดังนี้ 
อัพเดท มาตรการคลายล็อกดาวน์ รอบล่าสุด ทุกโซนสีโควิด เช็ครายละเอียดที่นี่ อัพเดท มาตรการคลายล็อกดาวน์ รอบล่าสุด ทุกโซนสีโควิด เช็ครายละเอียดที่นี่ อัพเดท มาตรการคลายล็อกดาวน์ รอบล่าสุด ทุกโซนสีโควิด เช็ครายละเอียดที่นี่ อัพเดท มาตรการคลายล็อกดาวน์ รอบล่าสุด ทุกโซนสีโควิด เช็ครายละเอียดที่นี่ อัพเดท มาตรการคลายล็อกดาวน์ รอบล่าสุด ทุกโซนสีโควิด เช็ครายละเอียดที่นี่

 

ที่มา : ราชกิจจานุเบกษา