อัพเดทรฟท.-ซีพี เจรจารื้อสัญญาสัมปทานไฮสปีดอีอีซีลงตัว

14 มี.ค. 2565 | 04:33 น.

อัพเดทเจรจารื้อสัญญาไฮสปีดอีอีซี ลงตัว รฟท-ซีพีได้ข้อสรุป  รัฐประหยัด 2.7 หมื่นล้าน คาดออก NTP ตอกเข็ม พ.ค. 65ช่วงทับซ้อน รถไฟไทย-จีน

 

กรณีการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท)เจรจาร่วมกับบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด เครือซีพีคู่สัญญาผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) หรือไฮสปีดเทรน เชื่อมสามสนามบิน ระยะทาง 220กิโลเมตร มูลค่า2.24แสนล้านบาท  เพื่อแก้ไขสัญญา ให้ได้ข้อยุติภายในเดือนมีนาคมนี้  

 

 

 

ทั้งนี้จากกรณีรฟท. ทำบันทึกข้อตกลง (MOU) กับบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด กรอบเวลา 3 เดือนนับจากวันที่ 24 ตุลาคม 2564  และมีการขยายออกไปอีก 3 เดือน หรือถึงวันที่ 24  เมษายน 2565  จึงคาดว่าจะเสนอคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) และรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาการแก้ไขสัญญา ไฮสปีดได้ตามกำหนดเวลา

 

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า รฟท.วางแผนร่วมกับเอกชนคู่สัญญาว่า  เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นทั้งสองฝ่ายต้องร่วมกันแก้ปัญหา เพื่อให้โครงการไปต่อได้และประชาชนได้ประโยชน์ ซึ่งปัญหา ของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เกิดจากการได้รับผลกระทบจากโควิด -19 ที่ทำให้ผู้โดยสารลดลง และเอกชนไม่สามารถชำระค่าสิทธิร่วมลงทุน จำนวน 10,671.090 ล้านบาท ตามสัญญาร่วมลงทุนฯในวันที่ 24 ต.ค. 2564 ได้
 

 

ที่ผ่านมา เอกชนได้ชำระตามบันทึกข้อตกลงหรือ MOU มาแล้ว 10% โดยเจรจาว่า หากโควิดสิ้นสุด จะกลับสู่การชำระตามสัญญาแต่จะต้องหาคำนิยาม “โควิดสิ้นสุด” ที่ตรงกัน เช่น ประกาศ ศบค. เป็นต้น ทั้งนี้ เอกชนเสนอขอเวลาในการฟื้นผู้โดยสาร ระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาระยะเวลาที่เหมาะสม ที่รฟท.ไม่เสียหายหรือเสียประโยชน์ใดๆ


 

ขณะที่รฟท.มีปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข ตือ การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ซึ่งมีพื้นที่ทับซ้อน กับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยให้ทาง บ.เอเชียเอราวันฯ เป็นผู้ก่อสร้างส่วนของโครงสร้างร่วม ออกแบบรองรับมาตรฐานรถไฟไทย-จีน ความเร็ว 250 กม./ชม. ซึ่งมีค่าก่อสร้างอยู่ที่ 9,207 ล้านบาท

 

 

กรณีดังกล่าวรัฐไม่ต้องจ่ายค่าก่อสร้างเพิ่ม เนื่องจากในการเจรจรแก้ไขสัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินจะดำเนินการให้ โดยเอเชียเอราวัณฯ ขอปรับเงื่อนไขสัมปทาน  โดยให้รฟท.เริ่มชำระคืนค่าก่อสร้าง เร็วขึ้นจากที่กำหนดไว้เดิม ในปีที่ 6  (นับจากเข้าพื้นที่ก่อสร้าง)  และลดระยะเวลาลงจาก 10 ปี
 

 

โดยปรึกษาทางการเงินอีอีซี ได้ศึกษาวิเคราะห์ และได้หารือกับสำนักงบประมาณ กรณีที่รัฐต้องจ่ายคืนค่าก่อสร้างเร็วขึ้น เพื่อพิจารณาทางทางเลือกที่ดีที่สุดกับรัฐและเป็นธรรมกับเอกชน ซึ่งนอกจากจะประหยัดค่าดอกเบี้ยแลัว. รัฐยังไม่ต้องจ่ายค่าก่อสร้างโครงสร้างร่วม สามารถเร่งรัดรถไฟไทย-จีน ให้เปิดได้ตามเป้าหมาย ปี 2570-2571
 

 

นายนิรุฒกล่าวว่า รฟท.มีความพร้อมในการส่งมอบพื้นที่ และสามารถออก NTP ให้เริ่มก่อสร้างได้เลย ขณะนี้เหลือประมาณ 1% เท่านั้น ส่วนพื้นที่พัฒนาเชิงพาณิชย์ มักกะสัน ที่พบว่ามีเรื่องบึงเสือดำ และลำรา
งสาธารณะ ในแผนที่แต่ในพื้นที่ไปัจจุบันไม่มีอยู่จริง แล้ว รฟท.จะเร่งแก้ไขเพื่อออก NTP การพัฒนาพื้นที่มักกะสัน ให้เอกชนต่อไป
 

 

อย่างไรก็ตาม การเจรจาได้ข้อยุติ รัฐเลื่อนจ่ายค่าก่อสร้างเดือนที่ 21 รฟท.คาด พ.ค.ออก NTP เริ่มตอกเข็มช่วงทับซ้อน คณะกรรมการ 3 ฝ่าย ได้แก่ รฟท. สกพอ.  และบ. เอเชียเอราวันฯ ได้เจรจากันต่อเนื่อง โดยล่าสุดมีการประชุมติดต่อกัน 4 วัน คือวันที่ 7-10 มี.ค.2565 จนได้ข้อยุติแล้ว โดยรฟท.จะทำหนังสือยืนยันไปถึง บ.เอเชียเอราวัณฯ จากนั้นจะเสนอบอร์ด รฟท. คณะกรรมการบริหารพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) บอร์ดบอร์ดอีอีซี และครม.ตามขั้นตอน เพื่อแก้ไขสัญญาสัมปทานต่อไป
 

กรณี การชำระคืนค่าก่อสร้างเร็วขึ้น จากที่สัญญากำหนดปีท่ี 6 (นับจากเข้าพื้นที่ก่อสร้าง ) ทางเอกชนได้เสนอให้รัฐจ่ายในเดือนที่ 18 ส่วนรฟท.อีอีซีและที่ปรึกษาทางการเงิน คำนวนตัวเลขแล้ว เห็นว่า ควรปรับเป็นเดือนที่ 25 หรือ เดือนแรกของปีที่ 3  จะมีความเหมาะสมกว่า ในการเจรจาล่าสุด ได้สรุปว่าจะเริ่มจ่ายคืนค่าก่อสร้างในเดือนที่ 21 ซึ่งทางสำนักงบฯ กระทรวงการคลังรับทราบแล้ว และได้รายงาน ต่อกบอ. เบื้องต้นแล้ว
 

 

ทั้งนี้ วางไทม์ไลน์ ว่าจะเสนอครม.เห็นชอบแก้ไขสัญญาภายในเดือนเม.ย.2565 และรฟท.จะออกหนังสือให้ เอกชนเริ่มงาน (NTP : Notice to Proceed) ได้ในเดือนพ.ค. 2565 เมื่อนับ 21 เดือน เท่ากับรัฐจะเริ่มจ่ายเงินงวดแรก ในเดือนก.พ. 2567 ขณะที่ปรับระยะเวลาชำระจาก 10 ปี เหลือ 7 ปี ด้วย ซึ่งส่งผลให้รัฐประหยัดค่าก่อสร้างรถไฟไทย-จีน ช่วงทับซ้อน  9,207 ล้านบาท  และค่าดอกเบี้ยเงินในอนาคต ที่นำมาจ่ายก่อน และอัตราคิดลด (Discount Rate)  ภาพรวมได้ประมาณ 27,000 ล้านบาท
 

 

ในด้านของเอกชน อาจจะมองว่า ได้เงินจากรัฐเร็วขึ้น จะได้ประโยชน์มากเกินไปหรือไม่ ซึ่งมีการคำนวนแล้วพบว่า เอกชนมีส่วนต่างทางการเงินจากกรณีนี้ประมาณ 2 หมื่นกว่าล้านบาท ใกล้เคียงกับที่รัฐประหยัด แต่รัฐจะได้ประโยชน์ 2 เรื่องที่จะเกิดขึ้นเลย คือ ไม่ต้องตั้งงบก่อสร้างรถไฟไทย-จีน ช่วงทับซ้อน และยังกำหนดให้ เอเชียเอราวัณฯ ตอกเข็มส่วนทับซ้อนเป็นลำดับแรก หรือในเดือนพ.ค. 2565 และให้แล้วเสร็จใน3 ปี
 

 

สำหรับการชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ จำนวน 10,671 ล้านบาท ซึ่ง เอกชนขอแบ่งชำระ 7 ปี โดยงวดที่ 1-6 ชำระงวดละ 10% งวดที่ 7 จะชำระส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ย เรื่องนี้เกิดจากผลกระทบโควิด อ้างอิงจาก คำสั่งนายกรัฐมนตรี วันที่ 26 มี.ค 2563 ประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2548  

 

ขึ้นมาคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 ดังนั้นหากรัฐมีประกาศว่า โควิดสิ้นสุดก่อน 7 ปี จะมีหลักการพิจารณาที่ ปริมาณผู้โดยสารเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังมีประกาศ และผู้โดยสาร กรณีสถาณการณ์ปกติ ที่มีการคาดการณ์จะเติบโตประมาณ 9% ต่อปี มาคำนวนการเยียวยา
 

หลักการถือว่าจบแล้ว หากกพอ.เห็นชอบก็แก้ไขสัญญาได้ทันที แต่หากกพอ.มีความเห็นเป็นอย่างอื่น รฟท.จะยึดตามกพอ. โดยจะไม่มีการเจรจากับเอกชนแล้ว เพราะที่ผ่านมา หากเรื่องที่เอกชนเสนออธิบายทางการเงินได้ รัฐไม่เสียหาย รัฐรับฟัง และหากเอกชนไม่รับตามความเห็นกพอ.หรือใดๆ รฟท.พร้อมเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์เอง