จับตา “คมนาคม” ชงครม.ไฟเขียวของบหาแหล่งเงินกู้ รถไฟสายสีแดง 2.9 พันล้าน

01 ก.พ. 2565 | 05:12 น.

“คมนาคม” เตรียมชงครม.เคาะงบลงทุนจากแหล่งเงินกู้ ลงทุนรถไฟสายสีแดง วงเงิน 2.9 พันล้านบาท หลังอัตราแลกเปลี่ยน-ภาษีมูลค่าเพิ่มผันผวน เหตุติดปัญหาด้านเทคนิค เล็งขอคลังชำระภาษีนำเข้าสรรพากร

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า วันนี้ 1 ก.พ.2565 กระทรวงคมนาคมจะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติกรอบวงเงินลงทุนและจัดหาแหล่งเงินเพิ่มเติม กรณีภาษีมูลค่าเพิ่มจากการใช้แหล่งเงินกู้ ECP กรณีภาษีมูลค่าเพิ่มงวด 27 ถึง 29 ในกรณที่ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและกรณีค่าภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรจากการนำเข้า (Import VAT & Import Duty) พร้อมทั้งขออนุมัติจัดหาแหล่งเงินรองรับโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน วงเงิน 2,917 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มและกรณีคความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินเยน สำหรับค่าใช้จ่ายโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน วงเงิน 2,805 ล้านบาท ค่าปรับกรอบวงเงินลงทุนกรณีค่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการสำรองจ่ายงวดี่ 27 ถึง 29 ของสัญญาที่ 1และสัญญาที่ 2  วงเงิน 112 ล้านบาท

ส่วนค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากงานปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม (Variation order :VO) สัญญาที่1 และสัญญาที่ 3 และค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมช่วงขยายระยะเวลาการก่อสร้างของสัญญาที่และสัญญาที่ 2 วงเงิน 5,320 ล้านบาท ปัจจุบันรฟท.อยู่ระหว่างการพิจารณาตรวจสอบค่างาน VO ของสัญญาที่ 1-สัญญาที่ 3 ซึ่งยังอยู่ในกรอบวงเงินงบประมาณของโครงการ จึงไม่ขอค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในส่วนงานนี้ ขณะที่ค่าบริการสำหรับงานจ้างที่ปรึกษาโครงการ วงเงิน 343 ล้านบาท ขณะนี้รฟท.อยู่ระหว่างพิจารณาทบทวนค่าใช้จ่ายดังกล่าว เมื่อมีความชัดเจนจะนำเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาต่อไป

 

 

 


ขณะเดียวกันการขอวงเงินลงทุนกรณีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากงานปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม (Variation order -VO) เพื่อดำเนินการทางเทคนิค ที่ผ่านมาการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้มีการนำเข้าขบวนรถไฟสายสีแดง แต่กรมสรรพากรไม่อนุมัติให้ดำเนินการนำขบวนรถไฟดังกล่าวนำเข้ามา เนื่องจากต้องใช้วงเงินกู้ลงทุนภายในประเทศ โดยกรมสรรพากรให้เหตุผลว่าขบวนรถไฟที่จะนำเข้ามาภายในประเทศนั้นจะต้องชำระภาษีนำเข้า ซึ่งสำนักงบประมาณได้อนุมัติงบประมาณดังกล่าวให้ชำระภาษีนำเข้าแก่กรมสรรพากรแล้ว 

ทั้งนี้หากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติกรอบวงเงินลงทุนจากแหล่งเงินกู้เพิ่มเติมแล้ว หลังจากนั้นกระทรวงคลังจะดำเนินการจัดหาแหล่งเงินกู้ภายในประเทศเพื่อนำงบประมาณนั้นมาชำระภาษีนำเข้าแก่กรมสรรพากร ส่งผลให้กรอบวงเงินลงทุนโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 96,828 ล้านบาท จากเดิมกรอบวงเงินลงทุนโครงการฯในปี 2559 อยู่ที่ 93,950 ล้านบาท