ส่งออกไทย เดือนธ.ค.64 โต24.2%  สูงเป็นประวัติการณ์ ดันทั้งปีขยายตัว17.1%

21 ม.ค. 2565 | 08:56 น.

ส่งออกไทย เดือนธ.ค.64 โต24.2% สูงเป็นประวัติการณ์ ดันทั้งปีขยายตัว17.1%   เกินไปกว่าเป้าหมายกว่า 4 เท่าตัว คาดปี 65 การส่งออกยังขยายตัวต่อ ประเมินบวก 3-4%

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยในเดือนธ.ค.2565 มีมูลค่า 24,930.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงเป็นประวัติการณ์ เพิ่มขึ้น 24.2% การนำเข้ามีมูลค่า 25,284.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 33.4% ขาดดุลการค้า 354.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และภาพรวมทั้งปี 2564 (ม.ค.-ธ.ค.) มีมูลค่า 271,173.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 17.1% เป็นบวกเกินไปกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 4% และเกินไปกว่าเป้าหมายที่ประเมินช่วงหลังที่ 15-16% การนำเข้ามูลค่า 267,600.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 29.8% เกินดุลการค้า มูลค่า 3,573.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ส่งออกไทย เดือนธ.ค.64 โต24.2%   สูงเป็นประวัติการณ์ ดันทั้งปีขยายตัว17.1%

 

 

โดยปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนทำให้การส่งออกปี 2564 ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง ประกอบด้วย 1.การทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงพาณิชย์กับภาคเอกชนในรูป กรอ.พาณิชย์ ที่ลงไปแก้ปัญหาอย่างทันท่วงที และทีมเซลล์แมนจังหวัด ทีมเซลล์แมนประเทศ จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการขายของกระทรวงพาณิชย์ในรูป OBM (Online Business Matching) รวมทั้งการเร่งรัดการเจาะตลาดเมืองรองในรูป Mini-FTA และมาตรการทางการบริหารจัดการผลไม้เชิงรุกที่แก้ปัญหากำหนดมาตรการตั้งแต่เริ่มต้น ขณะที่ผลไม้ยังไม่ออก ทำให้ปัญหาอุปสรรคในการส่งออกสามารถลดน้อยและเดินหน้าได้

ส่งออกไทย เดือนธ.ค.64 โต24.2%   สูงเป็นประวัติการณ์ ดันทั้งปีขยายตัว17.1%

 

2.เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง 3.ภาคการผลิตทั่วโลกขยายตัวใน ปี 2564 ดูได้จากบัญชี PMI (Global Manufacturing PMI หรือดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตโลก) ที่เกินกว่า 50 ถึง 18 เดือนต่อเนื่อง 4.ค่าเงินบาทยังไม่แข็งค่า ทำให้สามารถแข่งขันด้านราคากับคู่แข่งในตลาดต่างประเทศได้ และ 5.ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ซึ่งมี 2 ด้าน คือ ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น แต่ก็เป็นปัจจัยบวกที่ทำให้ตัวเลขการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันมีมูลค่าเพิ่มขึ้น

ส่งออกไทย เดือนธ.ค.64 โต24.2%   สูงเป็นประวัติการณ์ ดันทั้งปีขยายตัว17.1%
         
สำหรับรายละเอียดการส่งออกเดือนธ.ค.2564 ที่เพิ่มขึ้น มาจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าสำคัญ 3 หมวด ได้แก่ สินค้าเกษตร สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรม โดยสินค้าเกษตร เพิ่ม 21.1% โตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14  สินค้าเกษตรอุตสาหกรรม เพิ่ม 24.1% ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 และสินค้าอุตสาหกรรม เพิ่ม 24% ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่    ส่วนด้านตลาดที่ขยายตัวในระดับสูง เช่น ทวีปออสเตรเลีย เพิ่ม 54.4% รัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS เพิ่ม 45.8% สหรัฐฯ เพิ่ม 36.5% ลาตินอเมริกา เพิ่ม 36.5% อาเซียน เพิ่ม 35% และทวีปแอฟริกา เพิ่ม 34.1% ตะวันออกกลางที่เป็นเป้าหมายต่อไปในอนาคต เพิ่ม 29.5% เป็นต้น

ส่งออกไทย เดือนธ.ค.64 โต24.2%   สูงเป็นประวัติการณ์ ดันทั้งปีขยายตัว17.1%
         
ส่วนรายละเอียดการส่งออกภาพรวมปี 2564 มาจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าเกษตร เพิ่ม 23.5% คิดเป็น 819,831 ล้านบาท สินค้าสำคัญที่ขยายตัวสูง เช่น ทุเรียน ยางพารา  มะม่วงสด  ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง  และมังคุดเป็นดาวรุ่ง  สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร เพิ่ม 6.7% นำเงินเข้าประเทศ 607,228 ล้านบาท สินค้าสำคัญ เช่น ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง ผลไม้แห้ง กระป๋องและแปรรูป  อาหารสัตว์เลี้ยง  และสินค้าอุตสาหกรรม เพิ่ม 16.0% มูลค่า 6,790,161 ล้านบาท เช่น สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน  เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์  อัญมณีและเครื่องประดับ  รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 

ส่งออกไทย เดือนธ.ค.64 โต24.2%   สูงเป็นประวัติการณ์ ดันทั้งปีขยายตัว17.1%
ส่วน การส่งออกในปี 2565 มีความเป็นไปได้ที่จะยังเป็นบวกต่อไป คาดการณ์ว่าจะบวก 3-4% โดยมีมูลค่ารวมทั้งปีคิดเป็น 270,000-282,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีปัจจัยที่จะช่วยสนับสนุนประกอบด้วย 1.การขยายตัวของเศรษฐกิจและการนำเข้าของประเทศคู่ค้าสำคัญขยายตัว 2.ค่าเงินบาทยังอยู่ในระดับที่เอื้อต่อการส่งออก 3.คาดว่าปริมาณตู้คอนเทนเนอร์จะเพิ่มขึ้นและเข้าสู่ความสมดุลได้ในช่วงกลางปีนี้ถึงปลายปี 4.การเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล ทำให้ตลาดโลกมีความต้องการสินค้าไอที อุปกรณ์อัจฉริยะ ที่ไทยเป็นผู้ส่งออก 5.คาดว่าความรุนแรงของโควิด-19 จะลดน้อยลง ทำให้อุปสรรคลดลง 6.ตั้งเป้าว่าการมีผลบังคับใช้ของ RCEP ที่เริ่มต้น 1 ม.ค.2565 จะมีส่วนช่วยส่งเสริมตัวเลขการส่งออกของไทยไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนอีก 14 ประเทศได้มากขึ้น คล่องตัวขึ้น และสะดวกขึ้น 

 ทั้งนี้ สินค้าที่กระทรวงพาณิชย์จะให้ความสำคัญในการส่งเสริมและผลักดัน นอกเหนือจากสินค้าที่เป็นดาวรุ่งเดิม ทั้งเกษตร ผลไม้ ยาและเวชภัณฑ์ น้ำตาลทราย อาหารสัตว์เลี้ยง ยานยนต์ สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อัญมณี คอมพิวเตอร์ เครื่องปรับอากาศ อาหารอนาคต ไลฟ์สไตล์ สมุนไพร และสินค้าในกลุ่ม BCG จะให้ความสำคัญกับการสร้างรายได้จาก Soft Power โดยจะมุ่งสินค้าและบริการดิจิทัลคอนเทนท์ เอนิเมชัน ภาพยนตร์และอื่น ๆ ซึ่งทำรายได้เข้าประเทศในระดับหนึ่งแล้ว แต่ในปี 2565 จะสนับสนุนเข้มข้นมากขึ้น