“ดร.สมเกียรติ”อัดแหลก กสทช. รีบปฎิเสธป้องกันควบกิจการ “ทรู-ดีแทค”

23 พ.ย. 2564 | 11:25 น.

ประธานทีดีอาร์ไอ อัด กสทช. ไม่ทำหน้าที่ รีบปฎิเสธป้องกันควบกิจการ “ทรู-ดีแทค” พาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยถึงทางตัน ถอยหลัง 17 ปี ผู้ประกอบการน้อยราย ไม่มีการแข่งขัน ฉุดพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล แนะเร่งออกประกาศขายกิจการให้ผู้ประกอบการรายใหม่ ห้ามขายบริษัทโทรคมนาคมด้วยกัน

ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์” ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ (TDRI)  กล่าวว่าผลกระทบจากการประกาศควบรวมกิจการระหว่าง  ทรู - ดีแทค โดยมีการทำ MOU ระหว่างกันเรื่องศึกษาการควบรวมธุรกิจ โดยจะมีการจัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมา  เพื่อมุ่งสู่การเป็นบริษัทเทคโนโลยี (Technology Company) นั้น

 

ผู้ประกอบการทั้ง 3 รายได้ประโยชน์  โดยดูได้จากราคาหุ้นของดีแทค ก้าวกระโดดขึ้น ตลอด 5 วัน เพิ่มขึ้น  17%   ขณะที่ ทรู หุ้นเพิ่มขึ้น 15%    ไม่เว้นคู่แข่ง เอไอเอส  คู่แข่งขันหุ้นเพิ่มขึ้น 7.7%  เพราะนักลงทุนเห็นว่า เหลือผู้เล่น 2 ราย มีความจำเป็นตัดราคา  ไม่จำเป็นต้องมีบริการใหม่ๆเพิ่ม   ได้ประโยชน์ควบรวมกิจการ

“ดร.สมเกียรติ”อัดแหลก กสทช. รีบปฎิเสธป้องกันควบกิจการ “ทรู-ดีแทค”

การควบรวมกิจการครั้งนี้ทำให้ตลาดโทรคมนาคมไทยถอยหลังไป เมื่อปี 2547  หรือ  17 ปีที่แล้ว ที่มีโอปอเรเตอร์   2ราย คือ เอไอเอส และดีแทค  การแข่งขันน้อยใครได้ประโยชน์   ตอนนั้นมี  2 ราย มีบริการไม่เป็นมิตรกับผู้ใช้  โดยมีการล็อคอีมี่ ถ้าอยากใช้ เอไอเอส ต้องซื้อโทรศัพท์จากเอไอเอส   เพราะมีการล็อกอีมี่   ซึ่งการควบรวมจะทำให้คุณภาพลดลง  มีการ บังคับขายพ่วง  แพ็กเก็จไม่เป็นประโยชน์  เพราะมีผู้ให้บริการให้เลือก 2 ราย จากเดิมมีทางเลือก 3 ราย   เช่นเดียวสตาร์ทอัพหวังได้เงินจากค่ายมือถือ หากมีการรวมกิจการ มีแหล่งสนับสนุนลดลง  

ขณะที่รัฐนั้นเสียผลประโยชน์จากการควบรวมกิจการครั้งนี้กรณีดังกล่าวเคยเกิดขึ้นจากการประมูล 3G มาแล้ว ที่มีผู้ประมูล  3  ราย  เคาะประมูลเสร็จในวันเดียว   ผู้ประกอบการได้ไลเซ่น 3G ไปในราคาถูก   จน กสทช.ออกมามีคำสั่งให้ลดราคาลงมา 15%  ท้ายสุดโอปอเรเตอร์ที่มีข้อมูลผู้บริโภค เมิน  ออกแพ็กเกจราคาถูกลง 15% จริง  แต่เป็นบริการที่ผู้บริโภคไม่ใช้งาน  ขณะที่อนาคน รัฐบาล   เปิดประมูลคลื่นความถี่ 6G  ผู้ให้บริการลดลงไม่มีการแข่งขัน รายได้เข้ารัฐลดลง  

 

นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบกับอนาคตเศรษฐกิจดิจิทัล หากปล่อยให้โครงสร้างให้อยู่ในตลาดที่ไม่มีการแข่งขัน  ผู้ใช้ องค์กร ได้รับผลกระทบหมด ทั้งเรียนออนไลน์ โรงพยาบาล ภาคธุรกิจ    ถามว่าวันนี้ ทั้ง 2 รายมีการพัฒนานวัตกรรมอะไรใหม่ๆ ออกมา

กสทช.ไม่ควรปล่อยให้มีการควบรวมกิจการไปแล้ว แล้วไปแก้ปัญหา ทางออกคือ กสทช. ควรรีบออกประกาศ เป็นกฎหมายลูก ของ พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม   ให้กิจการโทรคมนาคม สามารถขายกิจการได้  แต่ขายให้ผู้ประกอบการรายใหม่  ไม่ใช่ผู้ประกอบการรายเดิมที่มีอยู่ในตลาด

 

กสทช.ควรกลับไปพิจารณาข้อกฎหมายที่มีอยู่  ข่าวการควบรวมกิจการมีมานานแล้ว   แต่ควรศึกษาเตรียมข้อมูลให้พร้อมสำหรับ กสทช. ชุดใหม่   ไม่ใช่รีบออกมาปฎิเสธว่ากำลังจะหมดวาระแล้ว  แล้วปล่อยให้ควบรวมกิจการไปแล้ว  แล้วค่อยมาแก้ปัญหาที่หลัง”