GC ชู ESG เดินหน้า 3 แนวทาง Circular Economy สร้างองค์กรยั่งยืน

28 ต.ค. 2564 | 08:40 น.

"ดร.คงกระพัน" ย้ำ องค์กรธุรกิจทั้งเล็กและใหญ่ ต้องเร่งบาลานซ์ Circular Economy สร้างการเติบโตระยะยาว ด้าน GC เดินหน้าเป้าหมาย Net Zero 2573 ผ่าน 3 กลยุทธ์ Smart Operating, Responsible Caring ออกแบบผลิตภัณฑ์ยั่งยืน และ Loop Connecting สร้างแนวร่วมเพื่อสร้างระบบนิเวศที่ดี

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล (จำกัด) มหาชน หรือ GC กล่าวในงาน สัมมนาออนไลน์ Thailand Next  episode 3 : Circular Economy นวัตกรรมเพื่ออนาคต ในวาระครบรอบ 50 ปี เครือเนชั่นในหัวข้อ “Circular Economy สร้างสมดุล เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” โดยตอกย้ำถึงความจำเป็นขององค์กรต่างๆ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ที่ต้องเดินหน้าบริหารธุรกิจภายใต้แนวคิด Circular Economy หรือเศรษบกิจหมุนเวียน ที่นอกจากจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รับผิดชอบสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นเทรนด์ที่ผู้บริโภคยุคใหม่ รวมทั้งโกลยุคใหม่ให้ความสำคัญอย่างมาก 

"การดำเนินงานตามแนวเศรษฐกิจหมุนเวียน ไม่จำเป็นต้องรอให้มีกฎระเบียบ หรือมีมาตรการกดดันกีดกันทางการค้า หากสามารถดำเนินการได้ต้องเร่งดำเนินการตั้งแต่เดี๋ยวนี้ เพราะจะทำให้เกิดผลตอบแทนกลับมาในอนาคต ทั้งการลดต้นทุน และการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค รวมถึงสร้างนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาด" ดร.คงกระพันกล่าว

ใหม่ๆ ออกสู่ตลาด" ดร.คงกระพันกล่าว

สำหรับ GC ได้ดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึง สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social, and Governance หรือ ESG ) ด้วยการสร้างสมดุลย์พร้อมกันทั้ง 3 ส่วนความยั่งยืนในธุรกิจและสังคมในระยะยาว รวมทั้งบริหารความเสี่ยงที่ต้องครอบคลุมทุกมิติ โดย GC ประกาศ ‘Together To Net Zero’ กำหนดแผนงานชัดเจน ตั้งเป้าหมายระยะกลางในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง 20% ภายในปี 2573 เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593 ตามข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยวางแผนในการลงทุนสูงถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2573 และจะลงทุนเพิ่มขึ้นในทศวรรษต่อไป

GC เดินหน้าสู่เป้าหมายตามแนวทาง Circular Economy โดยยึด 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ 

  1. Smart Operating มีกระบวนการทำงานที่ชาญฉลาด เพื่อลดการใช้ทรัพยาการ ลดการปล่อยของเสีย ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ใช้วัตถุดิบให้น้อยลง ประหยัดพลังงานมากขึ้น ซึ่งชี้วัดได้จากกระบวนการที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่น้อยลง ไม่ว่าใครก็เอาไปปรับใช้ได้ นอกจากนี้ยังนำกระบวนการ 5R มาใช้ ได้แก่ การลด ปริมาณขยะ (Reduce) การนำวัสดุกลับมาใช้ซ้า (Reuse) การนำวัสดุที่ชำรุดมาซ่อมแซมใช้ใหม่ (Repair) การนำวัสดุหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) และการหลีกเลี่ยงวัสดุที่จะสร้างปัญหาขยะ (Reject)
  2. Responsible Caring ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนและดีต่อโลก ทำผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน ใช้แล้วสามารถนำมาหมุนเวียนมาใช้ได้ใหม่ ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า "อีโคดีไซน์" ใช้วัตถุดิบที่รีฟอร์มได้ดี ผลิตไบโอพลาสติกหรือพลาสติกชีวภาพ ที่ทิ้งในดินก็สามารถย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยได้ 
  3. Loop Connecting เป็นการสร้างแนวร่วมเพื่อสร้างระบบนิเวศที่ดี สร้างองค์ความรู้ให้กับแนวร่วม มีการรับแลกขยะ แล้วนำไปรีไซเคิลและอัพไซคิ่ง อาทิ การนำขยะพลาสติกจากทะเล เอาไปผ่านขั้นตอนการีไซเคิลและอัพไซเคิล เป็นเส้นใยโพลีเอสเตอร์รีไซเคิล (Recycled Polyester) ก่อนนำไปผสมกับเส้นใยฝ้าย (Cotton) และเส้นใยซิงค์โพลิเอสเตอร์รีไซเคิล (Antibacterial Polyester Zinc) ร่วมผลิตและพัฒนาเป็นจีวรรีไซเคิลกับวัดจากแดง หรือการผลิตชุด PPE แจกจ่ายให้บุคลากรทางการแพทย์ในช่วงการแพร่ระบาดโควิด -19 เป็นต้น 

ดร.คงกระพัน กล่าวย้ำว่า เรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นเรื่องสำคัญ โดยต้องดำเนินการสร้างความสมดุลย์ไปพร้อมๆ กันทั้ง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม หากองค์กรต่างๆ สามารถดำเนินการได้ ก็จะช่วยสร้าง GDP สร้างให้เกิดการเติบโตของเศรษฐกิจแนวใหม่ ผ่านการรีไซเคิล การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ เพื่อทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ซึ่งการลงทุนเหล่านี้ สามารถสร้างประโยชน์และผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว เป็นประโยชน์กับทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน