เยียวยาเกษตรกร "จุรินทร์" เร่งแก้หนี้สมาชิก กองทุนฟื้นฟูฯเกษตรกร

06 ส.ค. 2563 | 04:44 น.

เยียวยาเกษตรกร  "จุรินทร์" เร่งแก้หนี้สมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ เคาะสองมาตรการบรรเทาภาระหนี้สะสม ต่อลมหายใจเกษตรกรให้มีที่ทำกิน

วันที่ 6 ส.ค.63 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการดำเนินการเพื่อแก้หนี้เกษตรกรว่า เมื่อวานนี้ (5 ส.ค.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) ที่ประชุมได้ติดตามความคืบหน้าการแก้หนี้เกษตรกร ซึ่งในปีงบประมาณ 2563  กฟก. ได้จัดสรรงบประมาณไว้ 1,000 ล้านบาทไว้สำหรับการจัดการหนี้เกษตรกร ตั้งเป้า 2,700 ราย

รัชดา ธนาดิเรก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"เยียวยาเกษตรกร" เร่งติดตามเกษตรกรแจ้งเลขที่บัญชีรับเงินด่วน

“เยียวยาเกษตรกร” 3 เดือน จ่ายไปแล้ว 1.2 แสนล้าน

ตรวจสอบเงินเยียวยาwww.เยียวยาเกษตรกร.com ยังโอนไม่ได้นับแสนราย

เยียวยาเกษตรกร ธ.ก.ส.โอนครบแล้วสามกลุ่ม 1.12 แสนล้าน

“เยียวยาเกษตรกร” ธ.ก.ส.เร่งตรวจสอบก่อนโอนเงินรวดเดียว15,000


 ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้มีมติในสองเรื่องหลักด้วยกัน คือ 1.เห็นชอบปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการทรัพย์สินหลักประกันของเกษตรกรที่ได้มีการจำหน่าย จ่ายโอนเพื่อการชำระหนี้ เพื่อให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์สภาพปัญหาของเกษตรกรในปัจจุบัน รวมทั้งให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของมติคณะรัฐมนตรีในปี 52 และ 55 ที่ต้องการรักษาที่ดินทำกินของเกษตรกร โดยการปรับแก้ระเบียบฉบับนี้ จะสามารถช่วยเหลือเกษตรกรร่วมพันรายที่เข้าไม่ถึงการช่วยเหลือเนื่องด้วยติดขัดจากระเบียบฯ เดิม ทำให้ทรัพย์สิน เช่น ที่ดินทำกินถูกยึดโดยสถาบันการเงินหรือขายทอดตลาด จากนี้จะจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ในการซื้อที่ดินคืน ประมาณ 320 ล้านบาท 2.เห็นชอบการขยายกรอบวงเงินในการชำระหนี้แก่ธนาคารเจ้าหนี้แทนเกษตรกรสมาชิก กฟก. (เกษตรกรยังคงต้องชำระหนี้กับ กฟก.) จากเดิมไม่เกินรายละ 2.5 ล้านบาท เป็นไม่เกิน 5 ล้านบาท มีจำนวน 137 ราย ซึ่งล้วนแล้วเป็นหนี้ค้างยืดเยื้อรอดำเนินการมาเป็นเวลานาน
 

ในส่วนการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคารเจ้าหนี้ นางสาวรัชดา กล่าวว่า นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ ได้เจรจากับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นที่แรกแล้ว เพราะมีเกษตรกรสมาชิก กฟก. เป็นลูกหนี้จำนวนมาก และขณะนี้อยู่ระหว่างการรอผลการพิจารณาของคณะกรรมการธนาคาร โดยจะใช้เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรในธนาคารเจ้าหนี้อื่นต่อไป