“ภาษีสรรพสามิต” เพิ่มแค่ไหน? เอกชนลุ้น! คำนวณต้นทุน-ราคา

14 ก.ย. 2560 | 13:33 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

ภาคเอกชนในหลายธุรกิจ รอลุ้น! “อัตราภาษีสรรพสามิตใหม่” จะเพิ่มขึ้นแค่ไหน? เพื่อนำมาใช้คำนวณต้นทุนภาษีและราคาสินค้า

วันพรุ่งนี้ (15 ก.ย.) จะมีการประกาศ “อัตราภาษีสรรพสามิตใหม่” ของสินค้าทุกกลุ่มที่มีการจัดเก็บภาษีชนิดนี้ เช่น เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, บุหรี่, รถยนต์ และแบตเตอรี่ ซึ่งเมื่อประกาศใช้จะมีผลต่อราคาสินค้าในวันเสาร์ที่ 16 ก.ย. ทันที

นายธนากร คุปตจิตต์ นายกสมาคมธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทย กล่าวว่า ขณะนี้สิ่งที่ผู้ประกอบการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต้องการเห็น คือ พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่กระทรวงการคลังจะประกาศพรุ่งนี้ (15 ก.ย.) เพื่อนำมาใช้คำนวณต้นทุนภาษีและราคาสินค้า ซึ่งถ้าเป็นสุราที่สั่งนำเข้า ขณะนี้ยังไม่มีผล เพราะกว่าสุราจะมาถึงไทยก็เดือน ม.ค. เมื่อมาถึงจึงจะเสียภาษีอัตราใหม่ ส่วนสุรานำเข้า ที่นำเข้ามาและเสียภาษีสรรพสามิตอัตราเดิม ยังคงจำหน่ายในราคาเดิม

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ

 

ด้าน นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ผู้ประกอบการรถยนต์รอประกาศอัตราภาษีสรรพสามิตใหม่เช่นกัน โดยจะรอดูอัตราภาษี ซึ่งยังคงเก็บตามขนาดเครื่องยนต์และการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และรอดูราคาขายปลีก แนะนำว่า ครอบคลุมอุปกรณ์ประดับรถยนต์ด้วยหรือไม่ เช่น วิทยุ

ขณะที่ นายประภาส คงเอียด รองปลัดกระทรวงการคลัง ด้านการจัดเก็บรายได้ ยืนยันกับสถานีข่าว “สปริงนิวส์” ว่า ร่างประกาศพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตทุกรายการ จะมีอัตราภาษีเปลี่ยนแปลงทั้งลดลง และยกเว้นจากเพดานภาษีที่อยู่แนบท้าย พ.ร.บ.สรรพสามิต ฉบับใหม่ เพื่อให้ราคาสินค้าขายปลีกใกล้เคียงกับราคาเดิม

นอกจากนี้ การปรับภาษีสรรพสามิตครั้งนี้ ก็เพื่อปรับวิธีการคำนวณภาษี จากเดิม “สินค้านำเข้า” คำนวณภาษีจากราคานำเข้ารวมค่าระวางเรือและค่าประกันภัยสินค้า หรือ ราคาซีไอเอฟ และเดิม “สินค้าผลิตในประเทศ” คำนวณจากราคาหน้าโรงงาน แต่กฎหมายใหม่กำหนดให้สินค้านำเข้าและผลิตในประเทศ ใช้ราคาขายปลีกแนะนำมาคำนวณภาษี ซึ่งช่วยแก้ปัญหาการอ้างอิงราคาซีไอเอฟต่ำกว่าปกติ ทำให้รัฐเก็บภาษีได้น้อยลง

 

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว