เผย 10 เทคโนโลยี พลิกโฉมกิจการภาครัฐ

18 เม.ย. 2564 | 21:20 น.

การ์ทเนอร์ อิงค์ เผย 10 แนวโน้มเทคโนโลยีในกิจการภาครัฐในปี 2564 ที่มีศักยภาพเร่งกระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัลและสามารถนำมาปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือเปลี่ยนโฉมการให้บริการสาธารณะ

นายริค ฮาวเวิร์ด รองประธานฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ อิงค์ เปิดเผยว่าการระบาดของโควิด-19 กระตุ้นให้องค์กรภาครัฐทั่วโลกเร่งพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล ซึ่งทำให้ผู้บริหารภาครัฐมองเห็นโอกาสใหม่ๆ ในการใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีมาสร้างความไว้วางใจ เสริมความคล่องตัวและเพิ่มความยืดหยุ่นด้านการดำเนินงานในหน่วยงาน ในขณะที่ความท้าทายจากการแพร่ระบาดจะยังมีต่อไปอีกระยะหนึ่ง แต่ก็มีแนวโน้มของเทคโนโลยีที่ช่วยรับมือความท้าทายระดับวิกฤติเกิดขึ้น 

ผู้บริหารด้านไอทีของภาครัฐฯ สามารถพิจารณาเพื่อกำหนดทิศทางในการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อวางแผนการฟื้นตัวหลังการระบาดของโรค พร้อมกำหนดเงื่อนไข ระยะเวลา และจัดลำดับความสำคัญในการลงทุนด้านเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด โดย 10 แนวโน้มเทคโนโลยีในกิจการภาครัฐในปี 2564 ที่มีศักยภาพเร่งกระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัล

 

ริค ฮาวเวิร์ด

 

 

1.หน่วยงานภาครัฐฯ ต่างๆ ประสบกับข้อจำกัดและความเสี่ยงที่เกิดจากโครงสร้างพื้นฐานและระบบหลักๆ ที่ใช้สืบต่อกันมานับสิบปี การ์ทเนอร์คาดว่าภายใน ปี 2568 หน่วยงานภาครัฐกว่า 50% จะปรับปรุงพัฒนาแอพ พลิเคชันหลักที่สำคัญให้ทันสมัย

2. เทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยที่ปรับตัวได้ตามสภาวะการณ์ การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าภายใน ปี 2568 ซีไอโอภาครัฐฯ 75% จะมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อความปลอดภัยที่อยู่นอกเหนือขอบเขตของเทคโนโลยีสารสนเทศ 

 

3.การให้บริการทุกๆ อย่าง แบบ XaaS ภายใน ปี 2568 การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่า 95% ของการลงทุนใหม่ๆ ไปกับเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานภาครัฐจะถูกกำหนดให้เป็นรูปแบบของโซลูชันการบริการ

4. บริการสำหรับการจัดการเป็นรายกรณี การ์ทเนอร์คาดว่าภายในปี 2567 หน่วยงานภาครัฐต่างๆ ที่มีสถาปัตยกรรมแอพพลิเคชันการจัดการรายกรณีแบบผสมผสานจะนำฟีเจอร์ใหม่ๆ มาใช้ได้เร็วกว่าหน่วยงานที่ไม่มีสถาปัตยกรรมดังกล่าว อย่างน้อย 80%

5. ข้อมูลประจำตัวประชาชนแบบดิจิทัล ภายใน ปี 2567 การ์ทเนอร์คาดการณ์มาตรฐานการระบุอัตลักษณ์อย่างแท้จริงจะเป็นแบบกระจายศูนย์ การเก็บข้อมูลมีความสะดวก เรียกใช้ได้จากทุกที่และเคลื่อนย้ายได้ ทั้งนี้เพื่อจัดการกับกรณีการใช้งานในระดับธุรกิจ บุคคล สังคม และการระบุแบบไร้ตัวตน

6. การผสานรวมขององค์กรภาครัฐภายในปี 2566 การ์ทเนอร์คาด 50% ของบริษัทเทคโนโลยีที่จัดหาผลิตภัณฑ์และบริการให้กับภาครัฐจะเสนอความสามารถทางธุรกิจแบบแพ็กเกจเพื่อรองรับแอพพลิเคชันการผสานรวม

7. สร้างโปรแกรมการแบ่งปันข้อมูลภายในปี 2566 การ์ทเนอร์คาด 50% ขององค์กรภาครัฐจะสร้างโครงสร้างการแบ่งปันข้อมูลที่มีความรับผิดชอบอย่างเป็นทางการรวมถึงมาตรฐานโครงสร้างข้อมูล คุณภาพและความตรงต่อเวลา

 

8. การบริการสาธารณะแบบไฮเปอร์คอนเนค ภายในปี 2567 การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่า 75% ของภาครัฐจะเปิดตัวหรือดำเนินการโครงการริเริ่มหลักการผสานรวมเทคโนโลยี ทั่วทั้งองค์กรอย่างน้อย 3 โครงการ

9. การมีส่วนร่วมของประชาชนในหลากหลายช่องทาง การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่ารัฐบาลกว่า 30% จะใช้มาตรการชี้วัดการมี ส่วนร่วมเพื่อติดตามปริมาณและคุณภาพการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อนำมาใช้ตัดสินใจวางแผนด้านนโยบายและงบประมาณภายในปี 2567

และ 10. การวิเคราะห์เชิงปฏิบัติการ ภายในปี 2567 การ์ทเนอร์คาดการณ์ 60% ของการลงทุนด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและ AI ของภาครัฐมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแรงกระเพื่อมโดยตรงต่อผลลัพท์และการตัดสินใจแบบเรียลไทม์

 

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3,671 หน้า 16 วันที่ 18 - 21 เมษายน 2564