กทปส. ผนึก นักวิชาการ ชู 3 หลักคิดหนุนคนไทยรู้เท่าทันสื่อ

26 ต.ค. 2563 | 08:00 น.

กทปส. ผนึก นักวิชาการสื่อ ผุด 3 หลักคิดติดอาวุธคนไทยรู้เท่าทันสื่อ “เข้าถึง-เข้าใจ-เข้าร่วม” ผ่านคอร์สฝึกทักษะ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุปราณี วัฒนสิน นักวิชาการสื่อ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุปราณี วัฒนสิน นักวิชาการสื่อ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา หัวหน้าโครงการ ‘ฅนทันสื่อ’ เปิดเผยว่า โครงการ “ส่งเสริมการพัฒนาและเพิ่มความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อ ของประชาชน ‘ฅนทันสื่อ’ ได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการจาก กทปส. ในการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ ภายใต้แนวคิด การสร้างการรู้เท่าทันสื่อ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ใน 3 หลักคิดสำคัญ ดังนี้

1. เข้าถึง การรู้จัก/เข้าถึงสื่อในช่องทางที่หลากหลาย ทั้งสื่อดั้งเดิม (Traditional Media) ที่ครอบคลุมสื่อโทรทัศน์ วิทยุ และสื่อใหม่ (New Media) อย่างสื่อสังคมออนไลน์ รู้จักโครงสร้างสื่อ ภูมิทัศน์สื่อในยุคสื่อหลอมรวม และการกำกับและดูแลสื่อของไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน รวมถึง รู้สิทธิ รู้กฎ และหลักจรรยาบรรณของสื่อมวลชน

กทปส. ผนึก นักวิชาการ ชู  3 หลักคิดหนุนคนไทยรู้เท่าทันสื่อ

2. เข้าใจ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ (Critical thinking) ได้อย่างมีระบบ ทั้งการคิดเป็น ที่คิดแบบมีวิจารณญาณ หรือคิดเชิงวิพากษ์ การเปิดใจกว้างในการเห็นต่าง มองเห็นเข้าใจ และเคารพความแตกต่างซึ่งกันและกัน การคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสังคม และการเท่าทันสื่อ มีความสามารถในการวิเคราะห์และใช้สื่ออย่างมีประสิทธิภาพ เข้าใจถึงวัตถุประสงค์และประโยชน์ของเนื้อข่าวหรือข้อมูลที่ปรากฏในสื่อรูปแบบต่าง ๆ อย่างแท้จริง ผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ เพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อของข่าวปลอม หรือการกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์

3. เข้าร่วม การมีส่วนร่วมกับสื่อ ในฐานะพลเมืองที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (Active Citizen) ด้วยการไม่เพิกเฉยต่อข้อมูลที่บิดเบือนหรือผิดไปจากความจริง ผ่านรูปแบบกิจกรรมที่เน้นสร้างการเรียนรู้อย่างอิสระ กำหนดประเด็นและทักษะสำคัญ แต่ไม่กำหนดกรอบการคิด การรู้เท่าทันสื่อ เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนมีทักษะในการใช้วิจารณญาณ

  กทปส. ผนึก นักวิชาการ ชู  3 หลักคิดหนุนคนไทยรู้เท่าทันสื่อ   สำหรับกิจกรรม “การพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ” จะแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะในช่วงเวลา 12 เดือน ดังนี้ 

ระยะที่ 1 คัดเลือกแกนนำ การจัดอบรมหรือถ่ายทอดองค์ความรู้แก่สถานศึกษา ระดับมัธยมและอุดมศึกษา จำนวน 36 แห่ง พร้อมคัดเลือกแกนนำ (รุ่นที่ 1) ที่มีความรู้ความเข้าใจ ถึงทักษะสำคัญด้านการรู้เท่าทันสื่อจำนวน 6 คน ผ่านการศึกษากรณีตัวอย่างเพื่อให้เกิดกระบวนการคิดเท่าทันในทุกบริบทสังคม อาทิ ‘เท่าทันบริโภคนิยม’ การไม่หลงเชื่อโฆษณาหลอกลวงเกินจริง ‘เท่าทันการเมือง’  ‘เท่าทันตนเองและสังคม‘ โดยต้องอาศัยทักษะความสามารถในการ "ใช้สื่ออย่างรู้ตัว" และ "ใช้สื่ออย่างตื่นตัว"

ระยะที่ 2 ขยายเครือข่ายเท่าทันสื่อ การขยายผลทักษะความรู้ด้านการเท่าทันสื่อแก่กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ใกล้เคียงสถานศึกษา จำนวน 100 คน ผ่านการลงพื้นที่สำรวจปัญหาของชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียงสถานศึกษา พร้อมจัดทำแผนการสื่อสารให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย โดยตั้งเป้าเกิดเครือข่ายเท่าทันสื่อรวม 3,600 คน จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ทั้งนี้การดำเนินการในระยะดังกล่าว กำหนดจัดขึ้นในเดือน ธันวาคม2563 เป็นต้นไป

ด้าน นายนิพนธ์ จงวิชิต ผู้อำนวยการ   กทปส.   ด้าน นายนิพนธ์ จงวิชิต ผู้อำนวยการ กองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) กล่าวเสริมว่า การเข้าถึงสื่อและสารสนเทศ นับเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในฐานะพลเมืองและสิทธิมนุษยชน ในสังคมประชาธิปไตยที่พลเมืองอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลาย ทั้งด้านความคิด พฤติกรรมและการศึกษา ดังนั้น การเข้าถึง เข้าใจ เท่าทัน และใช้สื่อ สารสนเทศ เทคโนโลยีดิจิทัล จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญของการรู้เท่าทันสื่อประการหนึ่ง ที่สนับสนุนให้ “ประชาชน” ในฐานะ “ผู้รับสาร” มีสิทธิเลือกใช้สื่อได้ตามความเหมาะสม และก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว 

       กทปส. ยังคงมุ่งส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากโครงข่ายอัจฉริยะ พร้อมสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนางานวิจัย  เพื่อยกระดับกิจการกระจายเสียง โทรทัศน์ และโทรคมนาคม  การเข้าถึงสื่อและสารสนเทศ นับเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในฐานะพลเมืองและสิทธิมนุษยชน ในสังคมประชาธิปไตยที่พลเมืองอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลาย   ดังนั้น การเข้าถึงเข้าใจ เท่าทัน และใช้สื่อ จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญของการรู้เท่าทันสื่อประการหนึ่ง ที่สนับสนุนให้ “ประชาชน” ในฐานะ “ผู้รับสาร” มีสิทธิเลือกใช้สื่อได้ตามความเหมาะสม