ค่ายมือถือตีกัน "TOT-CAT" ประมูล 5G

18 ธ.ค. 2562 | 05:05 น.

ค่ายมือถือประสานเสียง ชี้รัฐไม่ควรให้ “ทีโอที-แคท” ร่วมประมูล 5 G แข่งกับเอกชน เผยคาดความคล่องตัว

วันนี้(18 ธันวาคม 2563 ) ที่โรงแรมแกรนด์ไฮแอท เอราวัณ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ,เดอะเนชั่น,ฐานเศรษฐกิจ,คมชัดลึก และ ข่าวหุ้น ได้จัดงานสัมมนา “งาน 5G The New BEGINNING พลิกโฉมเศรษฐกิจไทย” บรรดาผู้ให้บริการ 3 ค่ายมือถือ ต่างเห็นประโยชน์ที่ประเทศไทยควรให้บริการ 5G เนื่องเกิดจะลดความเหลื่อมล้ำ

นอกจากนี้ยังข้อกังวลหลายเรื่อง เช่น คลื่นความถี่ที่นำออกมาประมูล และ ที่สำคัญกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี ไม่ควรให้หน่วยงานกำกับดูแล คือ ทีโอที และ แคท หรือ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำดัด (มหาชน) เข้าร่วมประมูล เพราะมีข้อจำกัดในหลายเรื่องที่ผ่านมาทั้งสองหน่วยงานรัฐวิสาหกิจไม่ประสบความสำเร็จในด้านการทำตลาด

ค่ายมือถือตีกัน \"TOT-CAT\" ประมูล 5G

5Gสร้างอีโคซิสเต็มส์

 นางอเล็กซานดร้า  ไรซ์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค  กล่าวว่า เชื่อว่าประเทศไทยต้องมี 5G เกิดขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์กับทั้งผู้บริโภคและภาคธุรกิจ  โดยรายงานของเอไอเอสเผยว่าประโยชน์ที่ได้จาการเข้ามาของเทคโนโลยี 5G จะทำให้มูลค่าธุรกิจการสื่อสารเพิ่มขึ้นถึง 90% นอกจากนี้ยังช่วยเข้ามาเพิ่มศักยภาพในธุรกิจด้านสุขภาพ โลจิสติกส์  และอุตสาหกกรรมต่างๆ  ซึ่งคุณสมบัติของ 5G คือ มีความเร็วสูง ความหน่วง (Latency) ต่ำ และมีความเสถียรมาก  5G ทำให้เกิดโอกาสในการเข้าถึงลูกค้า รวมถึงก่อให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เรากำลังพูดถึง 

ขณะที่การอัพโหลดที่มีความเร็วมากขึ้น จจะทำให้อุตสาหกรรมต่างๆ ได้รับประโยชน์ทั้งด้านพลังงาน การขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ด้วยการนำเทคโนโลยีเพื่อมาใช้แทร็กกิ้งการทำงานที่เรียลไทม์มากขึ้น  ทำให้เราใกล้ชิดลูกค้ามากขึ้น สิ่งที่ยากคือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของลูกค้า การติดตามพฤติกรรรมการซื้อของลูกค้าได้แบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถคาดการณ์พฤติกรรมของลูกค้าได้แบบทันท่วงที  5G จะทำให้เกิดเทคโนโลยี AR (Augmented Reality),วีอาร์ (Virtual Reality) ธุรกิจต่างๆ ต้องทุ่มเททรัพยากรในการเปลี่ยนแปลง รวมถึงการเปลี่ยนแนวทางในการทำงาน เพราะแต่ละวันมีดาต้าเกิดขึ้นและเข้ามาแบบเรียลไทม์ การทำงานจึงต้องมีความรวดเร็ว  มีการขยายธุรกิจ การลงทุนด้านเอไอเพื่อให้ใช้ประโยช์จาก 5G ได้อย่างเต็มที่ 

โดยปัจจุบันประเทศไทยยังมีลูกค้าที่อยู่บนโครงข่าย 2G  กว่า 3 ล้านคน ถือเป็นโอกาสดีที่จะให้ลูกค้าทั้งหมดรวมทั้ง 3G 4G ได้เข้ามาร่วมอยู่ในโครงข่าย 5G ไปพร้อมๆ กัน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังซึ่งอุตสาหกรรมต่างๆ ต้องมีการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับการมาของ 5G 

ค่ายมือถือตีกัน \"TOT-CAT\" ประมูล 5G

 “เราลงทุนด้านโครงข่ายไปจำนวนมาก เพื่อให้มีโครงข่ายที่พร้อมใช้งาน รวมถึงการมองหายูสเคสต่างๆ ทั้งด้านการเกษตร , รถยนต์ไร้คนขับ  ซึ่งดีแทคกำลังเตรียมความพร้อมด้วยการตั้งทีมที่มีความคล่องตัว ขณะเดียวกกันก็กระตุ้นพาร์ทเนอร์หลายราย  ทุกคนต้องร่วมทำไปด้วยกันไม่ใช่เพียงแค่หน่วยงานใดหน่วยงานนึง”

 

ผ่าโรดแมพ 5G ของเอไอเอส

นายวีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านธุรกิจสัมพันธ์และองค์กร ของ เอไอเอส กล่าวว่า เอไอเอส สนับสนุนนโยบายของรัฐแต่ เอไอเอส ขอเสนอ 3 เรื่อง 1.คลื่นความถี่(Spectrum) เช่น คลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ จัดสรรแล้วแต่จะใช้ได้ภายในเดือนตุลาคม 2563 และ แนวโน้มใช้ลงทุนได้ภายใน 2 ปี,ส่วนคลื่น 1800 เมกะเฮิรซ์คงไม่เอาเพราะราคาแพงไปเพราะทำอย่างไรไม่คุ้ม และ สุดท้าย คลื่น 2600 เมกะเฮิรตซ์ ถือว่าเป็นคลื่นดีที่สุดในประเศไทย แต่คลื่นที่ ดีที่สุด คือ คลื่น 3500 เมกะเฮิรตซ์

ค่ายมือถือตีกัน \"TOT-CAT\" ประมูล 5G

เอไอเอส ชี้ไม่ควรแข่งเอกชน
 ส่วนเรื่องที่สอง คือ วิธีการประมูล ควรทดสอบการประมึก่อนทำประชาพิจารณ์ และสุดท้าย คือ Pre-Qualification ภาครัฐไม่ควรแข่งกับเอกชน โดยเฉพาะเรื่องไวเรส มีหลายเรื่องที่ควรทำ คือ ลงทุนท่อร้อยสาย,เคเบิ้ลใต้น้ำ และ ดาวเทียม เป็นต้น
 "จริงๆ ไม่ควรแข่งกับเอกชนที่ผ่านมาก็เห็นอยู่” นายวีรวัฒน์ กล่าว

ทรู ชี้คลื่นความถี่คือสิ่งที่ท้าทาย
นายจักรกฤษณ์ อุไรรัตน์ รองผู้อำนวยการด้านธุรกิจสัมพันธ์ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เรื่องคลื่นความถี่เป็นเรื่องสำคัญวันนี้ กสทช.นำคลื่น 2600 เมกะเฮริตซ์ ที่มีขนาดเพียง 190 เมกะเฮิรตซ์ออกมาประมูล แต่วันนี้ 5 จีได้ประโยชน์สูงสุดต้องมีจำนวน 100 เมกะเฮิรตซ์ขึ้นไป ดังนั้นไม่ต้องกังวลปั่นราคา รัฐควรทบทวนราคาตั้งต้นภาครัฐบอก 5G เป็นประโยชน์ของชาติ แต่ให้โอเปอเรเตอร์เสียประโยชน์เยอะๆ
ค่ายมือถือตีกัน \"TOT-CAT\" ประมูล 5G

“คลื่น 2600 เมกะเฮรตซ์ไม่เพียงพอใช้5G ส่วนคลื่น 3500 เมกะเฮิรตซ์เป็นคลื่นที่ ไทยคม ใช้อยู่สัมปทานหมดอายุกันยายนปั2564 แต่ กสทช.ต้องการเปิด5Gโดยเร็ว แม้เอาสองคลื่นมารวมได้เพียง 490 เมกะเฮิรตซ์ มี 5 รายรวมก็ได้คนละ 100 เมกฯแต่มีเพียงรายเดียวได้แค่ 90 เมกฯ น่าจะเพียงพอ”

 นอกจากนี้เรื่องด้านบริการยังไม่รู้จะจัดเก็บอย่างไร เพราะ 5G ไม่ใช่ให้บริการคนกับคน แต่เป็นฮิวแมน กับ อุปกรณ์ หรือ แมชชีน ทู แมชชีน ไม่เพียงเท่านี้ไม่ควรให้ ทีโอที และ แคท ร่วมประมูลอีกด้วย