นักวิชาการผังเมือง มธ.แนะหามาตรการผังเมือง รับมือปัญหาน้ำในกรุงเทพฯ

07 มิ.ย. 2560 | 08:12 น.
นักวิชาการด้านการผังเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มธ.ชี้ น้ำท่วมขังในกรุงเทพฯ เกิดจากปัญหา 3 ส่วนที่ต้องแก้ไข ขยะอุดตันตามท่อระบายน้ำ ขยะจากการก่อสร้าง และช่องโหว่การบังคับใช้กฎหมายผังเมือง แนะนำหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หามาตรการในการป้องกันน้ำฝน

25-5-60-++¦.¿-íí+-¦++8 +º++T¦++F¦+¦¦--í-+ßíTSó+-¡--¦T+a+Fº+-¦-¦ ¦++a¦¦½.+-¦++T-¦ 100 (6)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิจิตรบุษบา มารมย์ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงปัญหาน้ำท่วมในกรุงเทพม หานครที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากปัจจัยภายในซึ่งมีสาเหตุหลักจากดินที่ทรุดตัวต่อเนื่อง โดยบางพื้นที่สูงถึงปีละ 30 มิลลิเมตร และการขยายตัวของผังเมืองไปสู่พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก ส่งผลให้เมื่อมีปัจจัยภายนอกอย่างฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องในช่ วงนี้จึงเกิดการขังของน้ำและระบ ายไม่ทันประกอบกับการเกิดน้ำ ทะเลหนุนจึงทำให้การระบายเป็นไปอย่างช้าๆ แม้ระบบการระบายน้ำของกรุงเทพมหานครเมื่อเทียบกับเมืองอื่นในประเทศแล้วจะดีกว่าก็ตาม

ทั้งนี้ภาครัฐต้องเร่งแก้ไขปัญห า 3 ส่วนได้แก่ 1. แก้ไขปัญหาขยะที่อุดตันตามท่อระบายน้ำ โดยการเร่งนำขยะออกจากจุดที่เสี่ยงต่อการกีดขวางทางน้ำไหล 2. สำรวจปัญหาที่อาจเกิดจากก่อสร้างตามการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขน าดใหญ่ของประเทศ รวมถึงระบบโครงสร้างพื้นฐานใต้ดิน เช่น ท่อที่อาจจะยังไม่มีการสำรวจข้อมูลล่าสุดให้ชัดเจนว่าท่อพื้นที่ใดมีความสูงหรือต่างกันอย่างไรบ้าง จนทำให้กรมทางหลวงต้องออกมาเตือนให้ประชาชนได้ระมัดระวังและรับ มือโดยมีจำนวน 20 จุดที่เป็นพื้นที่เสียงน้ำท่วมขังซึ่งเรียกว่าเป็นจุดอ่อนไหว ทั้งถนนวิภาวดี งามวงศ์วาน หรือแจ้งวัฒนะ ซึ่งการแก้ปัญหานี้อาจจะไม่ใช้เ รื่องง่ายนักเพราะพื้นที่กรุงเท พฯมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางเพียง 1-2 เมตรเท่านั้น

3. ตรวจสอบช่องโหว่ของกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผังเมือง  จากที่มีข้อถกเถียงว่าสาเหตุของ การเกิดน้ำท่วมขังมาจากการจัดการผังเมืองที่ไม่ถูกและควรจัดการผังเมืองใหม่นั้น ในความเป็นจริงแล้วส่วนของนโยบายผังเมืองก็มีการกำหนดพื้นที่ที่ ไม่ควรมีการตั้งถิ่นฐานหรือสิ่ งปลูกสร้างหนาแน่นอยู่แล้ว แต่ปัญหาจะอยู่ในการบังคับใช้ผังเมือง ที่เกี่ยวข้องกับผู้ปฏิบัติหลายหน่วยงาน และกฎหมายผังเมืองในปัจจุบันก็ไม่อาจจะควบคุมการปลูกสร้างได้ทั้งหมด ทำให้เกิดช่องโหว่และยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรในการบังคับใช้กฎหมายจึงทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา อาทิ การสร้างสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำอานาเขตซึ่งกีดขวางทางระบายน้ำ ส่งผลให้การระบายทำได้ยาก

005

นอกจากนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิจิตรบุษบา ยังกล่าวถึงการก่อสร้างอุโมงค์ยั กษ์ระบายน้ำว่าจะสามารถแก้ไขปั ญหาน้ำท่วมขังในกรุงเทพฯได้ในระ ดับหนึ่งแต่ก็เป็นเพียงกรุงเทพชั้ นในเท่านั้น ซึ่งต้องหามาตรการอื่นมาเพิ่มเติ มเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับกรุงเทพชั้ นนอกและปริมณฑล เพราะปัญหาน้ำท่วมขังจะไม่หยุดเ พียงเท่านี้ แต่จากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอาก าศหรือ Climate Change อาจจะส่งผลให้ฝนตกในปริมาณที่มา กขึ้นและเกินขีดความสามารถของกา รระบายน้ำที่มีอยู่ในปัจจุบั นและอาจเกิดน้ำท่วมซึ่งจะมี ความรุนแรงมากกว่าปี 2554 ด้วยซ้ำ เพราะพื้นที่กรุงเทพไม่ได้รับเพี ยงน้ำฝนอย่างเดียว แต่ยังต้องรับน้ำทะเลหนุนและน้ำ หลากด้วย แม้หน่วยงานที่เกี่ยวขังจะมีการ ออกมาตรการเพื่อป้องกันแล้วขณะนี้ เช่น การขุดลอกคูคลอง การจัดการขยะที่อุดตันตามท่อระบ ายน้ำ แต่มองว่ายังไม่เพียงพอต่อการรั บมือน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นในอนา คต ควรจัดหาให้มีมาตรการทางผังเมือ งที่หลากหลายมากขึ้นเพื่อรับมือ กับน้ำท่วมในอนาคต