ระดมฟื้นฟูสุขภาพจิตเหยื่อ"โควิดสมุทรสาคร"

31 ธ.ค. 2563 | 23:05 น.

กรมสุขภาพจิตเร่ง  6 มาตรการดูแลจิตใจผู้ได้รับผลกระทบโควิด-19 ทั้งไทย-ต่างด้าว ระดมทีมประเมิน-เยียวยา หวั่นปะทุเป็นความขัดแย้งชุมชน เอ็นจีโอ.แรงงานชี้แค่น้อยใจ เชื่อไม่ถึงขั้นรุนแรง แต่ต้องติดตามและจัดระบบดูแลช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม

 

กรมสุขภาพจิต-ศูนย์สุขภาพจิตที่ 5 “เต็มสูบ-สมุทรสาคร” เร่งวาง  6 มาตรการดูแลจิตใจผู้ได้รับผลกระทบโควิด-19 ทั้งไทย-ต่างด้าว ระดมทีมประเมิน-เยียวยา อาสาสมัคร  อสม.  อสต. เตรียมความพร้อมรับมือ หวั่นปะทุเป็นความขัดแย้งชุมชน เอ็นจีโอ.แรงงานชี้แค่น้อยใจ เชื่อไม่ถึงขั้นรุนแรง แต่ต้องติดตามและจัดระบบดูแลช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม

ระดมฟื้นฟูสุขภาพจิตเหยื่อ"โควิดสมุทรสาคร"
นางสาวรัชวัลย์ บุญโฉม ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 5 ราชบุรี  เปิดเผย“ฐานเศรษฐกิจ” ว่า  ทางศูนย์ฯ  ทำหน้าที่ดูแลการทำงานด้านสุขภาพจิตในพื้นที่ 8 จังหวัดรวมถึงดูแลจังหวัดสมุทรสาครโดยตรง  และได้ให้ความสำคัญกับปัญหาวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เกิดขึ้น  โดยเฉพาะในเรื่องปัญหาสุขภาพจิตของทั้งคนไทยและคนต่างด้าวที่อาศัยอยู่ร่วมกัน  ที่มีความกังวลกันว่า อาจมีเรื่องการกระทบกระทั่ง  ความขัดแย้ง  ความไม่พอใจ  ความกังวล  ความหวาดระแวงหวาดกลัว  การกล่าวโทษ  เหยียดหยาม  กีดกัน  ด่าว่า  ขับไล่  เลยไปถึงการเกิดความรุนแรงขึ้น  ตามที่มีผู้ตั้งข้อสังเกตและสอบถามมานั้น  

ทางกรมสุขภาพจิต  โดยศูนย์สุขภาพจิตที่ 5  มีแนวทางในการรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นเอาไว้แล้ว  โดยเริ่มดำเนินการประเมิน  มีทีมประเมินเข้าทำแบบประเมินเพื่อดูความเครียด และสภาพจิตใจของคนทั้ง 2  กลุ่มที่อาศัยอยู่ร่วมกัน  หากคนเข้มแข็งทางจิตใจ  ก็จะลดปัญหาเรื่องต่าง ๆ ในใจได้  

ส่วนเรื่องความขัดแย้งนั้นจะเกิดจากความไม่พอใจและความโกรธ  หากมีขึ้นก็จะต้องมีกระบวนการเจรจาให้เข้าใจกัน  โดยจะมีทีมเยียวยาจิตใจ หรือ  MCATT  เข้ามารับมือเพื่อลดความขัดแย้ง  ซึ่งจะมีทีมเจรจาต่อรองและมีทีมสุขภาพจิตเป็นคนกลาง  เจรจาร่วมกับตัวแทนแต่ละฝ่าย  คือแกนนำของคนต่างด้าวที่อยู่ในชุมชนนั้น ๆ  กับตัวแทนฝ่ายคนไทย ซึ่งมีทั้งแกนนำคนไทย-เจ้าหน้าที่ราชการ-อสม.  เพื่อให้เข้าใจความรู้สึกของแต่ละคน  และเพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น  

ขอบคุณภาพจากhttps://www.facebook.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A3-330792914089771/photos/1030991470736575

ระดมฟื้นฟูสุขภาพจิตเหยื่อ"โควิดสมุทรสาคร"

นางสาวรัชวัลย์  กล่าวต่อว่า  แผนดำเนินงานดูแลจิตใจของประชาชน  ในเขตสุขภาพจิตที่ 5  ซึ่งได้ดำเนินการอย่างเข้มข้นขณะนี้  คือ

1.มีทีมประเมินสุขภาพจิต  ประเมินแบบ  active  screening  ด้วยโปรแกรม  mental health check  in  โดยใช้วิธีสแกน  QR-code  หรือ  link เข้าประเมินสุขภาพจิต  แบบทราบผลทันที่  หากผู้ที่พบว่าตัวเองมีความเสี่ยง    ก็ให้กรอกเบอร์โทรฯ มือถือทิ้งไว้  จากนั้นจะมีทีมสุขภาพจิต  โทรฯเข้าไปดูแลจิตใจ  (active couselling) 
 

2.ดูแลจิตใจ  active couselling  ในประชาชนทั่วไป  และบุคลากรสาธารณสุข  ทางโทรศัพท์

3.จัดรถโมบายคลายเครียดออกให้บริการโดยนักจิตวิทยา  ดูแลในพื้นที่ 8  จังหวัด  เป็นเวลา 2  เดือน    โดยเน้นที่จังหวัดสมุทรสาคร  เป็นลำดับแรก  

4.สื่อสารความรู้สุขภาพจิตในรูปแบบต่าง ๆ หลากหลายช่องทาง

ระดมฟื้นฟูสุขภาพจิตเหยื่อ"โควิดสมุทรสาคร"

5.สร้างวัคซีนชุมชนในพื้นที่ต่าง ๆ  เพื่อให้ชุมชนมี  4  สร้าง  และ  2  ใช้  คือ  สร้างความปลอดภัย - ความสงบ - ความหวัง - ลดการตีตรา  กับ  2 ใช้ - ใช้สัมพันธภาพของชุมชน -ใช้ศักยภาพของชุมชน

6.บริการรักษา  ส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิต  โดยทีมจิตแพทย์  และพยาบาล  นักจิตวิทยา  คอยให้บริการที่โรงพยาบาลสนามในสมุทรสาคร  ทั้งรักษาผู้ป่วยจิตเวชที่ติดเชื้อ  และให้บริการปรึกษาทางออนไลน์   สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง-ประชาชนทั่วไป
    

“ในส่วนของคนไทยได้มีการดูแลผู้ติดเชื้อ-ญาติ-คนใกล้ชิด  และผู้ถูกกักตัว  โดยทีมเยียวยาจิตใจ  หรือ  MCATT  สำหรับคนต่างด้าวจะมีเจ้าหน้าที่อาสาสมัครชาวต่างด้าว  (อสต.) ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  นำแบบประเมินไปทำการประเมิน   ร่วมกับแรงงานพม่าที่เป็นจิตอาสาประมาณ  100-200  คน  ซึ่งอยู่ในตลาดกลางกุ้งฯ  จัดให้มีกิจกรรมเพื่อคลายความเครียดสำหรับผู้ที่ถูกกักตัวและครอบครัว  รวมถึงเด็ก ๆ อีกประมาณ  200 คน  ทั้งส่งเจ้าหน้าที่ของศูนย์สุขภาพจิตที่ 5  ไปประจำอยู่ที่โรงพยาบาลสนามในตลาดกลางกุ้งฯ ด้วย”  
   

 “นอกจากนั้นทางกรมสุขภาพจิตยังได้ร่วมมือกับสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย  มหาวิทยาลัยมหิดล  เพื่อให้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาร่วมเป็นล่าม  สำหรับการให้คำปรึกษาทางออนไลน์-ทางโทรศัพท์  และทำการประเมินทางออนไลน์  เพื่อสร้างวัคซีนชุมชนในกลุ่มชุมชนชาวพม่า”  นางสาวรัชวัลย์  กล่าว
ระดมฟื้นฟูสุขภาพจิตเหยื่อ"โควิดสมุทรสาคร"     

ขอบคุณภาพจากเฟซบุก สำนักงานประชาสัมพันธ์ จังหวัดสมุทรสาคร  

ด้านนายสมพงค์  สระแก้ว  ผู้อำนวยการมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน  (LPN)  ได้เปิดเผยว่า  ความขัดแย้งในกลุ่มคนไทยและคนต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาครยังไม่น่าเป็นห่วง  เท่าที่ได้รับรายงานมีเพียงความน้อยใจในกลุ่มแรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่  กรณีถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้นำเชื้อฯมาเผยแพร่  ซึ่งที่จริงควรมีการพิสูจน์ทางระบาดวิทยาให้ชัดเจนว่า  เหตุที่เกิดขึ้นมีการติดเชื้อจากลูกจ้างสู่นายจ้าง  หรือจากนายจ้างสู่ลูกจ้าง  ทั้งพื้นที่เสี่ยง  7  จุดของสมุทรสาครและกลุ่มเสี่ยงทั่วไป  เมื่อตรวจคัดกรองแล้วก็พบผู้ติดเชื้อไม่มาก         
    “สำหรับแรงงานต่างด้าวที่ถูกกักตัวอยู่ในตลาดกลางกุ้งฯ นั้น  พวกที่ร่างกายแข็งแรงก็อาจจะให้ธรรมชาติเยียวยาหรือหายได้เอง  ส่วนพวกที่เจ็บป่วยก็ต้องให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และช่วยลดปัญหาด้านจิตใจ   ทั้งจะต้องประเมินผลกระทบที่มีต่อชุมชนรอบข้างกันอีกครั้ง  ในส่วนคนต่างด้าวที่ไม่มีอาการและอยู่นอกพื้นที่ตลาดกลางกุ้ง  ก็ต้องมาพิจารณาว่าจะสร้างระบบดูแลกันอย่างไร    ตั้งแต่การให้รอผลย้อนกลับจากการตรวจ  และการให้กักตัวเอง  ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับใคร  ลดการเดินทาง”  นายสมพงค์  กล่าว