สภาพัฒน์เสนอครม.รื้อใหญ่โครงสร้างเศรษฐกิจไทย

12 พ.ค. 2563 | 11:06 น.

อ่านบทวิเคราะห์สภาพัฒน์เสนอครม. ภาพประเทศไทยหลังโควิด-19 ทางเลือกในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ-สังคมของมีอยู่อย่างจํากัด ชี้ทางรอดลดพึ่งพาการส่งออก ท่องเที่ยวหันมาสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจภายใน

วันที่ 12 พฤษภาคม 2563 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  หรือสภาพัฒน์ วิเคราะห์ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัวโคโรนา หรือโควิด-19 ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อประกอบการการพิจารณากรอบนโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในด้านต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 มีรายละเอียด โดยสรุปดังนี้

 

สภาพัฒน์เสนอครม.รื้อใหญ่โครงสร้างเศรษฐกิจไทย

 

ตามที่ได้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย อยู่ในสถานการณ์ที่ไม่แตกต่างจากประเทศอื่น ๆ  ผลกระทบจากการแพร่ระบาดได้เริ่มส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจไทยตั้งแต่ช่วงเดือน มกราคม 2563 โดยสาขาการท่องเที่ยวและบริการได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากจํานวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง

 

ผลกระทบด้านเศรษฐกิจได้เริ่มกระจายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นมา เมื่อการระบาดเริ่มแพร่กระจายไปยังทวีปยุโรป และสหรัฐอเมริกา

 

จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนมกราคม - มีนาคม 2563 ประกอบกับแนวโน้มผลกระทบทางเศรษฐกิจในปี 2563 ดังกล่าว รัฐบาลจึงได้ดําเนินมาตรการให้ความช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการที่ ได้รับผลกระทบในช่วงเดือนมีนาคม 2563 ไปแล้วระดับหนึ่ง

 

แต่เนื่องจากวิกฤตที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างทั้งในด้านการประกอบธุรกิจ และวิถีชีวิตของประชาชนในประเทศ และมีแนวโน้มที่ผลกระทบดังกล่าวจะมีความต่อเนื่องยาวนาน เนื่องจากปัจจัยสําคัญที่จะหยุดยั้งการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 คือการค้นพบวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ

 

สําหรับประเทศไทยภายหลังจากรัฐบาลเริ่มบังคับใช้มาตรการต่าง ๆ ทําให้สถานการณ์การระบาดในช่วงเดือนเมษายน แนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยเริ่มพบผู้ติดเชื้อลดลงอย่างต่อเนื่อง และรัฐบาลมีแนวโน้มที่จะผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศสามารถขับเคลื่อนได้เป็นลําดับ

 

สภาพัฒน์เสนอครม.รื้อใหญ่โครงสร้างเศรษฐกิจไทย

 

ปัจจัยสําคัญที่ยังคงส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยปี 2563 สรุปได้ดังนี้

ความไม่แน่นอนของการสิ้นสุดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : ขณะนี้ ยังคงมีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างต่อเนื่อง และหลายประเทศที่เคยควบคุมการระบาดได้ ในระดับหนึ่งแล้ว และเริ่มผ่อนคลายมาตรการควบคุมเพื่อหวังผลให้เศรษฐกิจในประเทศเริ่มขับเคลื่อนได้ กลับประสบปัญหาการระบาดซ้ำ เช่น ประเทศสิงค์โปร์ และญี่ปุ่น เป็นต้น

 

ในขณะที่บางประเทศที่ยังคงมีการระบาดอยู่ อย่างต่อเนื่องเริ่มได้รับแรงกดดันจากทั้งประชาชนภายในประเทศและภาคธุรกิจให้เริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการ ต่างๆ เพื่อให้เศรษฐกิจเคลื่อนตัวได้ หลังจากหยุดนิ่งในช่วงเดือนมีนาคม 2563 ซึ่งปัจจัยที่จะยุติการระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในขณะนี้มีเพียงปัจจัยเดียว คือ การค้นพบวัคซีนที่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ดังนั้น การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศต่าง ๆ และในประเทศไทยมี แนวโน้มที่จะคงอยู่ต่อไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลต่อการกําหนดนโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในช่วงต่อไป โดยเฉพาะในสาขาการท่องเที่ยวที่เป็นหนึ่งในภาคบริการหลักของประเทศในช่วงที ผ่านมา

แนวโน้มการหดตัวของเศรษฐกิจโลก จากการประมาณการอัตราการเจริญเติบโตของ เศรษฐกิจโลกจากหน่วยงานระหว่างประเทศ ณ เดือนเมษายน 2563 พบว่า เศรษฐกิจโลกในปี 2563 มีแนวโน้มหดตัวในระดับประมาณร้อยละ 2 - 3 ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจสําคัญของไทยไม่ว่าจะเป็น การท่องเที่ยว การลงทุนและการบริโภคของภาคเอกชนภายในประเทศ การผลิตในภาคอุตสาหกรรม และนโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในด้านต่างๆโครลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ

 

สภาพัฒน์เสนอครม.รื้อใหญ่โครงสร้างเศรษฐกิจไทย

 

แม้ว่าการส่งออกของไทยในเดือนมีนาคม 2563 จะขยายตัวในระดับร้อยละ 4.17 แต่ภาคการท่องเที่ยวของไทยจะยังคงได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากมาตรการที่ประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศ ไทยจํากัดการเดินทางระหว่างประเทศ ทําให้จํานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศลดลงประมาณร้อยละ 70

 

การใช้กําลังการผลิตในอุตสาหกรรมสําคัญของประเทศในเดือนมีนาคม 2563 อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ และ เอตสาหกรรมอาหารเครื่องดื่ม ปรับตัวลดลงประมาณร้อยละ 20 เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

 

อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 ในขณะที่การลงทุนและการบริโภคของภาคเอกชนในปี 2563 มีแนวโน้มลดลง

 

สภาพัฒน์เสนอครม.รื้อใหญ่โครงสร้างเศรษฐกิจไทย

 

จากแนวโน้มการหดตัวของเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลต่อเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจของไทยข้างต้น พบว่า ทางเลือกในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะถัดไปมีอยู่อย่างจํากัด

 

การฟื้นฟูเศรษฐกิจแล สังคมในช่วงปี 2563 จําเป็นต้องมุ่งเน้นในสาขาเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มขยายตัวได้ในระยะถัดไป และสามารถกระตุ้น ให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในท้องถิ่นเพื่อลดผลกระทบจากการหดตัวของภาคเศรษฐกิจสําคัญ โดยการดําเนินการดังกล่าวจําเป็นต้องใช้ทรัพยากรของภาครัฐในการลงทุนเพื่อพยุงเศรษฐกิจและ เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นหลัก

 

สภาพัฒน์เสนอครม.รื้อใหญ่โครงสร้างเศรษฐกิจไทย

 

การจ้างงานภายในประเทศ ในช่วงแรกของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลโดยตรงต่อการจ้างงานในสาขาการท่องเที่ยว และกิจการเกี่ยวเนื่องอื่น ๆ ที่มีแรงงานกว่า 4 ล้านตําแหน่ง ซึ่งเมื่อการระบาดขยายตัวไปในภูมิภาคต่าง ๆ และภาครัฐจําเป็นต้องดําเนินมาตรการเพื่อป้องกันและจํากัด การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายนที่ผ่านมา เริ่มส่งผลกระทบต่อการจ้าง งานในภาคการผลิตของประเทศ

 

ในขณะนี้มีแรงงานในระบบที่ได้รับผลกระทบไปลงทะเบียนเพื่อขอรับเงิน ประกันสังคมประมาณ 1.18 ล้านคน และผู้มีอาชีพอิสระที่ลงทะเบียนขอรับเงินเยียวยาจากภาครัฐ ประมาณ 23 ล้านคน ซึ่งในกรณีที่ประเทศไทยสามารถควบคุมการระบาดภายในประเทศให้อยู่ในวงจํากัด

 

แต่ประเทศอื่นๆ ยังไม่สามารถควบคุมการระบาดได้ ผลกระทบต่อการจ้างงานภายในประเทศจะยังคงอยู่ต่อไปอีกระยะหนึ่งและ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าผลกระทบต่อการจ้างงานในประเทศจะขยายตัวจากภาคบริการไปสู่ภาคอุตสาหกรรม บางสาขา อาทิ อุตสาหกรรมรถยนต์ เนื่องจากการลดลงของความต้องการ (Demand) ภายในประเทศและ ต่างประเทศ

 

สภาพัฒน์เสนอครม.รื้อใหญ่โครงสร้างเศรษฐกิจไทย

 

แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ใน 212 ประเทศและเขตการปกครอง นอกจากจะ ส่งผลกระทบต่อชีวิตของประชาชนในประเทศต่าง ๆ และการหดตัวของเศรษฐกิจโลกแล้ว ยังส่งผลกระทบใน ด้านอื่น ๆ เช่น การหยุดชะงักของห่วงโซ่การผลิตในระดับโลก (Global Supply Chain Disruption) ซึ่งส่งผลต่อ การผลิตสินค้าขั้นสุดท้าย การขาดแคลนสินค้าจําเป็น (เวชภัณฑ์ ยา อาหาร) การเดินทางระหว่างประเทศ และ วิถีชีวิตของประชาชน เป็นต้น

 

ทําให้ประเทศต่าง ๆ เริ่มตระหนักถึงการกลับมาสร้างความมั่นคงและ เพิ่มขีดความสามารถในการรองรับวิกฤติของประเทศ ซึ่งจากวิกฤตการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คาดว่า ในเบื้องต้นจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่จะนําไปสู่ความปกติใหม่ (New Normal) ดังนี้

 

สภาพัฒน์เสนอครม.รื้อใหญ่โครงสร้างเศรษฐกิจไทย

 

การเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่การผลิต จากเดิมที่ภาคอุตสาหกรรมกระจายฐานการผลิตไปใน ประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตเป็นจํานวนมาก และใช้ประโยชน์จากมาตรการภาษีและข้อตกลงทางการค้า เพื่อลดต้นทุนของสินค้าขั้นสุดท้าย

 

คาดว่าจะมีการกระจายหรือย้ายฐานการผลิตไปในประเทศอื่น ๆ ที่มีศักยภาพในการผลิตใกล้เคียงกัน เพื่อลดความเสี่ยงของการหยุดชะงักของห่วงโซ่การผลิต และอุตสาหกรรมบางประเภทที่เป็น ความมั่นคงของประเทศ อาทิ ยา เวชภัณฑ์ มีแนวโน้มที่จะกลับไปผลิตภายในประเทศเพื่อลดความเสี่ยงของการขาดแคลนในช่วงวิกฤติ

 

นอกจากนี้อาจมีการกําหนดมาตรการห้ามส่งออกสินค้าบางประเภทที่จะส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ ซึ่งอาจทําให้กระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization) ที่เกิดขึ้นในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เปลี่ยนแปลงไปสู่ การปกป้องผลประโยชน์ของประเทศมากขึ้น และสร้างความสามารถในการพึ่งพาตัวเองและความยืดหยุ่นในระบบ เศรษฐกิจเพื่อให้สามารถรองรับผลกระทบในกรณีที่เกิดวิกฤตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

สภาพัฒน์เสนอครม.รื้อใหญ่โครงสร้างเศรษฐกิจไทย

 

การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลจะเร่งตัวขึ้น และมีบทบาทมากขึ้นทั้งในด้าน การดําเนินธุรกิจ การค้า การบริการ และวิถีชีวิตของประชาชนที่จะใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในชีวิตประจําวันมากขึ้น ทั้งในด้านการซื้อขายสินค้า บริการ นันทนาการ การศึกษา และแม้กระทั่งรูปแบบการจ้างงานและวิธีการทํางาน ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งจําเป็นต้องเร่งสร้างความรู้ให้แก่ประชาชนให้สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใน การหาความรู้และสร้างรายได้

 

สภาพัฒน์เสนอครม.รื้อใหญ่โครงสร้างเศรษฐกิจไทย

 

การเดินทางระหว่างประเทศภายหลังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเบื้องต้น คาดว่า การเดินทางระหว่างประเทศจะไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วภายหลังสิ้นสุดการระบาด เนื่องจากความเชื่อมั่นของประชาชน

 

ประกอบกับประเทศต่าง ๆ มีแนวโน้มที่จะกําหนดมาตรการด้านสุขภาพของ ผู้ที่จะเดินทางระหว่างประเทศ ทั้งในส่วนของประเทศต้นทางและประเทศปลายทาง เพื่อป้องกันการระบาดซ้ํา ซึ่งแม้ว่าจะสามารถค้นพบวัคซีนที่สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แต่ประเทศต่าง ๆ อาจไม่สามารถ จัดหาวัคซีนให้เพียงพอกับประชากรภายในประเทศได้ในระยะเวลาอันสั้น

สภาพัฒน์เสนอครม.รื้อใหญ่โครงสร้างเศรษฐกิจไทย

 

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย

ผลกระทบจากการระบาดที่ยังมีความไม่แน่นอนและแนวโน้มการหดตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจของไทยทั้งในภาคการผลิต ภาคการบริการ และภาคการส่งออก ไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ ทําให้เครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงที่ยังคงมีสถานการณ์การระบาด วโลก เหลือเพียงการใช้ทรัพยากรของภาครัฐและความสามารถในการจัดหาทรัพยากรในการพยุงเศรษฐกิจ

 

วิกฤตที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบเป็นวงกว้างโดยเฉพาะการจ้างงาน การประกอบอาชีพของประชาชน และการดําเนิน ธุรกิจของผู้ประกอบการ ทําให้ในระยะสั้นจําเป็นต้องลดผลกระทบของประชาชนในภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคม และ ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมให้สามารถดําเนินธุรกิจ ต่อไปได้ เพื่อรักษาการจ้างงานในภาพรวมของประเทศ

 

สภาพัฒน์เสนอครม.รื้อใหญ่โครงสร้างเศรษฐกิจไทย

 

นวโน้มความปกติใหม่ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้ประเทศไทยจําเป็นต้องปรับโครงสร้าง เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยวของ นักท่องเที่ยวต่างประเทศในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ มาสู่การสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยประกอบการอย่างมีเหตุผล พอประมาณและมีภูมิคุ้มกันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างความเข้มแข็งของประเทศจากภายในอันจะช่วยให้มีความสามารถในการต้านทานผลกระทบ (Resilient) จากวิกฤติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตด้วย