"ฉีดวัคซีนสลับยี่ห้อ" ไม่ใช่คำนึงแค่การลดตายต้องดูผลกระทบระบบสาธารณสุข

14 ก.ค. 2564 | 01:34 น.
อัพเดตล่าสุด :14 ก.ค. 2564 | 15:51 น.

หมอธีระวัฒน์เผยการฉีดวัคซีนสลับยี่ห้อไม่ใช่คิดถึงแต่ลดการตายอย่างเดียวแต่ต้องคิดถึงผลกระทบในวงกว้างต่อเพื่อนร่วมงานในระบบบริการสาธารณสุขและที่แพร่เชื้อโควิด-19 ไปยังผู้ป่วย

รายงานข่าวระบุว่า ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha)โดยมีข้อความว่า 
วัคซีน หรรษา ตอน 2
ที่หอผู้ป่วยแห่งหนึ่ง แผนกผ่าตัดของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ไม่บอกชื่อนะ มีการติดในหอผู้ป่วยไปยังผู้ป่วยหลายรายที่นอนอยู่นานแล้ว และยิ่งไปกว่านั้นผู้ป่วยที่กลับบ้านไปแล้วมีอาการของโควิด-19 (Covid-19) แล้วกลับมาใหม่
การคำนึงถึงสูตรวัคซีนไม่ใช่คิดถึงแต่ลดการตายอย่างเดียวแต่ต้องคิดถึงผลกระทบในวงกว้างต่อเพื่อนร่วมงานในระบบบริการสาธารณสุขและที่แพร่ไปยังผู้ป่วย
การใช้สูตรซิโนแวค (Sinovac) เชื้อตายซึ่งออกแบบให้การฉีดในระยะแรกเป็นสองเข็มแล้วจะทำให้เกิดผลในการป้องกันการติดและลดอาการหนักหรือเสียชีวิต แต่ประสิทธิภาพจะเริ่มลดลงในเดือนที่สองแล้วจากฉีดเข็มที่สอง แต่เมื่อมีการปรับเปลี่ยนเป็นซิโนแวค หนึ่งเข็มตามด้วยวัคซีนอื่น เป็นเรื่องที่ยังไม่ชัดเจนนัก เมื่อเปรียบเทียบกับวัคซีนอื่นเช่น แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) หรือไฟเซอร์ (Pfizer) โมเดอร์นา (Moderna) ที่มีข้อมูลแม้หลังจากหนึ่งเข็มก็ตาม จะสามารถมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อและอาการหนักได้ระดับหนึ่ง

ดังนั้นการใช้ซิโนแวคเข็มแรกตามด้วยแอสตร้าเข็มที่สองจึงมีข้อกังวลว่าทำไมไม่ใช้แอสตร้า สองเข็มไปเลย หรือแอสตร้าหนึ่งเข็ม ตามด้วยไฟเซอร์หรือโมเดอร์นา ที่มีการใช้แล้วและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น จากการศึกษาในหลายประเทศ
และข้อมูลในวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 ก็แสดงว่าแอสตร้าสองเข็ม หรือไฟเซอร์โมเดอร์นาสองเข็ม แม้ว่าประสิทธิภาพต่อเดลตาจะลดลงบ้างแต่ยังพอไหว ถ้ามีปัญหาเกี่ยวข้องกับจำนวนของวัคซีนแต่ละยี่ห้อที่จะหามาได้ และไม่สามารถทำได้ อาจจะต้องอธิบายตามข้อจำกัดดังกล่าวมากกว่า ซึ่งประชาชนจะได้เข้าใจถึงความจำเป็นดังกล่าว

อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้ "หมอธีระวัฒน์ได้เคยนำเสนอบทความเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนสลับยี่ห้อ และ "ฐานเศราบกิจ" ได้นำเสนออกไป โดยระบุถึงที่มาที่ไป และความจำเป็นที่จะต้องดำนเนินการ หรือเรียกว่าเป็น "วัคซีนหรรษา" ตอนที่ 1 ซึ่งข้อความส่วนหนึ่งระบุว่า

แท้ที่จริงแล้วเนื้อหาเบื้องลึกเบื้องหลังการไขว้ ไปมาดังกล่าวมีที่มาที่ไปในช่วงตั้งแต่สามถึงสี่เดือนที่แล้วด้วยซ้ำทั้งนี้เป็นการถกกันในระดับเวทีองค์การอนามัยโลกและในระดับสาธารณสุขของประเทศต่างๆและไม่เว้นกระทั่งในประเทศจีนเองที่เป็นเจ้าของตำรับวัคซีนเชื้อตายชิโนแวค ชิโนโนฟาร์ม ตั้งแต่ 13 เมษายน 2564