วัคซีน "AstraZeneca" หมอเฉลิมชัยเสนองัดไม้แข็งคุมส่งออกให้ไทยได้ก่อน

05 ก.ค. 2564 | 12:27 น.
อัพเดตล่าสุด :05 ก.ค. 2564 | 19:26 น.

หมอเฉลิมชัยเสนอทางออกกรณีวัคซีน AstraZeneca ที่ทางบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จะส่งให้เพียงเดือนละ 5 ล้านเข็ม จากที่กำหนดไว้ 10 ล้านเข็ม แนะงัดไม้แข็งคุมส่งออกให้ไทยได้ก่อน

รายงานข่าวระบุว่า น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" โดยมีข้อความว่า
หนึ่งความเห็นสำหรับทางออก กรณีวัคซีน AstraZeneca ที่ทางบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จะส่งให้เพียงเดือนละ 5 ล้านเข็ม จากที่กำหนดไว้ 10 ล้านเข็ม
หมอเฉลิมชัย ระบุว่า ตามที่ปรากฏเป็นข่าวว่า บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า(ประเทศไทย) จะส่งมอบวัคซีนให้กับประเทศไทยนับจากเดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป ประมาณเดือนละ 5 ล้านเข็ม แทนที่จะเป็น 10 ล้านเข็ม ตามที่เป็นข่าวมาโดยตลอดนั้น ไม่ว่าข้อตกลงในสัญญา จะมีช่องว่างหรือมีรายละเอียดที่ไม่ครบถ้วนอย่างไรก็ตาม แต่ถ้ามองในฐานะประชาชนคนไทย ตามแผนที่กำหนดไว้ เพื่อให้สิ้นปีนี้( ธันวาคม  2564) ไทยจะมีวัคซีน 100 ล้านเข็ม ฉีดให้กับคนไทย 50 ล้านคน เพื่อเกิดภูมิคุ้มกันหมู่แล้วก็จำเป็นจะต้องมีวัคซีนของ AstraZeneca ภายในสิ้นปีนี้ ให้ครบ ถ้วน 61 ล้านเข็ม
โดยวัคซีน 100 ล้านเข็ม จะมาจากวัคซีน Sinovac 24 ล้านเข็ม 
วัคซีน Pfizer 20 ล้านเข็ม
วัคซีน Astra  61 ล้านเข็ม
โดยวัคซีน Astra ในช่วงก.ค.-พ.ย. กำหนดส่ง 10 ล้านเข็มต่อเดือน

ลองมาดูรายละเอียดศักยภาพการผลิตของวัคซีน Astra ในประเทศไทย (ซึ่งผลิตโดยบริษัทสยามไบโอซายน์)

ทางออก AstraZeneca จะส่งให้เพียงเดือนละ 5 ล้าน
1.จะพบว่าหนึ่งปีหรือ 12 เดือน จะผลิตได้ 180 ล้านเข็ม เฉลี่ยเดือนละ 15 ล้านเข็ม ตามข่าวที่แถลงออกมาเดือนละ 16 ล้านเข็ม ต้องถือว่าตรงตามแผนที่กำหนดไว้
2.ในวัคซีน 180 ล้านเข็มนี้ 61 ล้านเข็ม จะส่งให้ประเทศไทย คิดเป็นหนึ่งในสาม ส่วน 120 ล้านเข็มที่เหลือ จะส่งไปให้กับอีกหลากหลายประเทศในอาเซียน คิดเป็นสองในสาม
3.ถ้าต้องส่งเป็นสัดส่วนดังกล่าวคือ ไทยต่ออาเซียนเป็น 1:2 ไทยก็จะได้รับวัคซีนเพียงเดือนละ 5 ล้านเข็ม
แต่ตามที่ตกลงกันว่า เมื่อฐานการผลิตของ AstraZeneca อยู่ในประเทศไทย ก็น่าจะได้รับข้อเสนอเป็นพิเศษ ว่าแต่ละเดือนที่ผลิตได้ 16 ล้านเข็มนั้น ในช่วงเฉพาะหกเดือนแรก ให้ส่งมอบให้กับประเทศไทย 10 ล้านเข็ม และที่เหลืออีก 6 ล้านเข็มส่งให้กับประเทศในอาเซียน
ส่วนในหกเดือนหลัง ตั้งแต่มกราคมเป็นต้นไปก็ส่งให้กับประเทศในอาเซียนเดือนละ 16 ล้านข็ม
มีข่าวบอกว่า ทางบริษัท AstraZeneca (ประเทศไทย) เป็นเจ้าของวัคซีน จะส่งให้ไทยมากน้อยอย่างไรก็เป็นไปตามที่จะตกลงกัน และทางบริษัท AstraZeneca (ประเทศไทย)ก็ไม่เคยออกมาโต้แย้งหรือคัดค้านเรื่องวัคซีนเดือนละ 10 ล้านเข็มของไทย
สองแนวทางที่จะเจรจากับบริษัทคือ
1.ไม้นวม เจรจาทำความเข้าใจ ขอความเห็นใจ เพราะประเทศไทย กำลังมีการระบาดระลอกสาม ที่มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจำนวนมาก เราใช้วัคซีน AstraZeneca เป็นหลักอยู่ ประกอบกับโรงงานผลิตตั้งอยู่ในประเทศไทยด้วย ก็น่าจะให้ความเป็นพิเศษหรือเห็นใจประเทศไทยด้วย
2.ไม้แข็ง เรามีกฎหมายอยู่สองสามฉบับ ไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติวัคซีนแห่งชาติ หรือโรคติดต่อ ที่จะมีบางมาตรา สามารถให้รัฐบาลกำหนดให้วัคซีนเป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีความสำคัญและควบคุมการส่งออกนอกประเทศได้ หมายความว่า วัคซีนยังเป็นของบริษัท AstraZeneca (ประเทศไทย) แต่การจะส่งออกนอกประเทศในภาวะที่ประเทศเราขาดแคลน มีความจำเป็นเร่งด่วน เราสามารถควบคุมการส่งออกนอกประเทศได้

ซึ่งประเทศในยุโรป ก็เคยดำเนินการเกี่ยวกับวัคซีนของ AstraZeneca จนทำให้วัคซีนต้นปีไม่มาตามกำหนดที่จะส่งให้ไทยมาแล้ว จะต้องมีการพูดคุยกัน และเจรจาเป็นกรณีพิเศษ การเจรจาด้วยแนวทางที่หนึ่ง เป็นสิ่งที่พึงกระทำเป็นอันดับแรก และอาจประสบความสำเร็จได้ แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้แนวทางที่สองเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชนคนไทยทุกคน คงจะต้องรวมใจกันเป็นหนึ่งเดียว เป็นประเทศไทย (ไม่ใช่เป็นรัฐบาล) ในการที่จะช่วยกันสนับสนุนการเจรจาต่อรอง กับบริษัท AstraZeneca (ประเทศไทย) ให้จัดสรรวัคซีนให้ไทยเดือนละ 10 ล้านเข็ม ส่วนอีก 6 ล้านเข็มก็จัดสรรให้กับประเทศในอาเซียน
โดยกระทรวงต่างประเทศจะต้องทำงานหนัก ในการเจรจาทวิภาคีกับประเทศในอาเซียน ที่จะได้รับวัคซีน AstraZeneca ด้วยเช่นกัน หรือทางบริษัท AstraZeneca อาจจัดหาวัคซีนจากฐานการผลิตในประเทศอื่น ส่งเพิ่มให้กับประเทศอาเซียนก็ได้ 
หมอเฉลิมชัย ปิดท้ายด้วยว่า นี่เป็นข้อเสนอแนะ เป็นความคิดเห็นส่วนตัว ด้วยความเป็นกังวลใจเรื่องจำนวนวัคซีนในประเทศไทย 
สำหรับประเด็นดังกล่าวนั้น เกิดจากนพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวตอนหนึ่งในการเสวนา "วัคซีนโควิด ไทยจะเดินต่อไปอย่างไร" ว่า ในส่วนของวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งเป็นวัคซีนหลักของเรา มีการทำสัญญาส่งมอบ 61 ล้านโดสในปี 2564 แต่ไม่ได้ระบุในสัญญาว่าต้องส่งมอบเดือนละเท่าไหร่ ซึ่งเมื่อดูกำลังการผลิตของแอสตร้าฯ โดยบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ อยู่ที่ประมาณ 180 ล้านโดสต่อปี เฉลี่ยเดือนละ 15 ล้าน ต้องแบ่งส่วนหนึ่งให้กับต่างประเทศด้วย ซึ่งเราเองพยายามขอให้จัดส่งให้ไทยเดือนละ 10 ล้านโดส อย่างไรก็ตามตามที่ได้รับจดหมายมาจากรองประธานบริษัทแอสตร้าฯ บอกว่าจะส่งมอบให้ไทยได้ 5-6 ล้านโดสต่อเดือน ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปตามแผนและความสามารถในการฉีดวัคซีนของไทยเดือนละ 10 ล้านโดส