ไทยฉีดวัคซีนโควิด ทะลุ 10 ล้านโดส 6 กลุ่มเป้าหมายรับวัคซีนแล้วเท่าไหร่

02 ก.ค. 2564 | 19:30 น.

ประเทศไทยฉีดวัคซีนโควิด-19 สะสมทะลุ 10 ล้านโดส จังหวัดไหนฉีดวัคซีนโควิดสะสมสูงสุด 6 กลุ่มเป้าหมาย รับวัคซีนแล้วจำนวนเท่าไหร่ คิดเป็นกี่% พบผู้มีอาการไม่พึงประสงค์กี่ราย

นับจากไทยเริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มแรก ตั้งแต่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 จนถึงวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เวลา 18.00 น. มีจำนวนการได้รับวัคซีนโควิดสะสม (28 ก.พ. - 1 ก.ค.64) รวม 10,227,183 โดส ใน 77 จังหวัด แยกเป็นจำนวนผู้ฉีดวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 7,364,585 ราย จำนวนผู้ฉีดวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 2,862,598 ราย 

ไทยฉีดวัคซีนโควิด ทะลุ 10 ล้านโดส 6 กลุ่มเป้าหมายรับวัคซีนแล้วเท่าไหร่

หากนับจากวันที่ 7 มิถุนายน 2564 วันแรกฉีดวัคซีนเป็นวาระแห่งชาติ มียอดฉีดวัคซีนแล้วรวม 6,126,662 โดส แยกเป็น จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 4,594,338 ราย จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 1,530,324 ราย 

เปิดยอดฉีดวัคซีนโควิด-19 "กทม.-5 จังหวัดปริมณฑล"

  • กรุงเทพมหานคร มีประชากร 7,699,174 ราย  ได้รับวัคซีนโควิด-19 เข็มที่ 1 แล้ว 2,491,499 ราย ครอบคลุม 32.36%  เข็มที่ 2 จำนวน 825,865 ราย ครอบคลุม 10.73%
  • สมุทรสาคร มีประชากร 953,167 ราย ได้รับวัคซีนโควิด-19 เข็มที่ 1 แล้ว 185,133 ราย ครอบคลุม 19.42%  เข็มที่ 2 จำนวน 113,264 ราย ครอบคลุม 11.88%
  • นนทบุรี มีประชากร 1,609,191 ราย  ได้รับวัคซีนโควิด-19 เข็มที่ 1 แล้ว 301,581 ราย ครอบคลุม 18.74% เข็มที่ 2 จำนวน 120,682 ราย ครอบคลุม 7.50%
  • สมุทรปราการ มีประชากร 1,931,781 ราย ได้รับวัคซีนโควิด-19 เข็มที่ 1 แล้ว 318,761 ราย ครอบคลุม  16.50%  เข็มที่ 2 จำนวน 77,669 คน ครอบคลุม 4.02%
  • ปทุมธานี มีประชากร 1,533,871 ราย ได้รับวัคซีนโควิด-19 ได้รับเข็มที่ 1 แล้ว 157,249 ราย ครอบคลุม 10.25% เข็มที่ 2 จำนวน 54,466 ราย ครอบคลุม 3.55%
  • นครปฐม มีประชากร 1,125,349 ราย ได้รับวัคซีนโควิด-19 ได้รับเข็มที่ 1 แล้ว 66,496 ราย ครอบคลุม 5.91% เข็มที่ 2 จำนวน 22,784 ราย ครอบคลุม 2.02%

ไทยฉีดวัคซีนโควิด ทะลุ 10 ล้านโดส 6 กลุ่มเป้าหมายรับวัคซีนแล้วเท่าไหร่ จังหวัดอื่นๆ(รวม 71 จังหวัด)  มีประชากร 55,262,208 ราย ได้รับวัคซีนโควิด-19 ได้รับเข็มที่ 1 แล้ว 3,246,993 ราย ครอบคลุม 5.88% เข็มที่ 2 จำนวน 1,255,185 ราย ครอบคลุม 2.27%

รวมทั้งประเทศ มีประชากร 72,034,775 ราย ได้รับเข็มที่ 1 แล้ว 7,364,585 ราย ครอบคลุม 10.22% เข็มที่ 2 จำนวน 2,862,598ราย ครอบคลุม 3.97%

จำนวนการรับวัคซีนโควิด-19 แยกตามกลุ่มเป้าหมาย

จำนวนการรับวัคซีนโควิด-19 ของประเทศไทย แยกตามกลุ่มเป้าหมาย สะสมตั้งแต่ 1 ก.พ.-1 ก.ค.64 แยกได้ดังนี้

  1. บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เป้าหมาย 712,000 คน ได้รับเข็มที่ 1 แล้ว 758,487 คน(106.5%) ได้รับเข็มที่ 2 แล้ว 675,778 คน(94.9%)
  2. เจ้าหน้าที่ด่านหน้า เป้าหมาย 1,900,000 คน ได้รับเข็มที่ 1 แล้ว 635,405 คน(33.4%) ได้รับเข็มที่ 2 แล้ว 404,916(21.3)
  3. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เป้าหมาย 1,000,000 คน ได้รับเข็มที่ 1 แล้ว 300,378 คน(30.0%) ได้รับเข็มที่ 2 แล้ว 165,845 คน(16.6%)
  4. ผู้มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค เป้าหมาย 5,350,000 คน ได้รับเข็มที่ 1 แล้ว 714,236 คน(13.4%) ได้รับเข็มที่ 2 แล้ว 164,695(3.1%)
  5. ประชาชนทั่วไป เป้าหมาย 28,538,000 คน ได้รับเข็มที่ 1 แล้ว 3,555,663(12.5%) ได้รับเข็มที่ 2 แล้ว 1,367,731 คน(4.8%)
  6. ผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เป้าหมาน 12,500,000 คน ได้รับเข็มที่ 1 แล้ว 1,400,416 คน(11.2%) 

รวม เป้าหมาย 50,000,000 คน ได้รับเข็มที่ 1 แล้ว 7,364,585 คน(14.7%X ได้รับเข็มที่ 2 แล้ว 2,862,598 คน(5.7%)

ไทยฉีดวัคซีนโควิด ทะลุ 10 ล้านโดส 6 กลุ่มเป้าหมายรับวัคซีนแล้วเท่าไหร่

ที่มา : ศูนย์ข้อมูล COVID-19

สธ.พบผู้มีอาการไม่พึงประสงค์ 1,148 ราย ยังไม่มีผู้เสียชีวิตจากการฉีดวัคซีนโควิด

นายแพทย์เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กล่าวถึงการติดตามเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังการรับวัคซีนโควิด 19 ว่า ข้อมูลเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2564 มีการฉีดวัคซีนโควิด-19 รวม 9.1 ล้านโดส พบอาการไม่พึงประสงค์รุนแรงหลังฉีดวัคซีนจำนวน 1,148 ราย คณะผู้เชี่ยวชาญพิจารณาแล้วเสร็จ 354 ราย อยู่ระหว่างติดตามข้อมูล 794 ราย 
โดยพบว่า 

1.เป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับวัคซีน 67 ราย ทุกรายรักษาหายแล้ว ไม่มีผู้เสียชีวิต 

2.การมีปฏิกิริยาร่างกายต่อการฉีดวัคซีน (ISRR) 210 ราย ทุกรายหายเป็นปกติ ไม่มีผู้เสียชีวิต 

3.เป็นเหตุการณ์ร่วมที่ไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีน 43 ราย 

4.เหตุการณ์ที่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเกี่ยวข้องกับวัคซีน ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม 7 ราย 
 

ไทยฉีดวัคซีนโควิด ทะลุ 10 ล้านโดส 6 กลุ่มเป้าหมายรับวัคซีนแล้วเท่าไหร่  นายแพทย์เฉวตสรร กล่าวต่อว่า การฉีดวัคซีนโควิดในประเทศต่างๆ อยู่ในภาวะฉุกเฉิน เป็นการฉีดเพื่อป้องกันการป่วยหนักและการเสียชีวิต ซึ่งวัคซีนที่นำมาฉีดนั้นผ่านการประเมินความปลอดภัยของวัคซีน เริ่มตั้งแต่ช่วงที่มีการวิจัยแล้ว มีการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับวัคซีนและผู้ที่ได้รับวัคซีนหลอก ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบผ่านแล้วพบว่า วัคซีนโควิด- 19 ทุกชนิดมีความปลอดภัยสูงมาก อันตรายจากการแพ้ถึงขั้นรุนแรงมีน้อยมาก การเสียชีวิตหลังฉีดวัคซีนมักเป็นเหตุร่วม 

ทั้งนี้จากข้อมูลของประเทศอังกฤษพบว่ามีการฉีดวัคซีนจำนวนมาก ทำให้ผู้เสียชีวิตจากโควิดมีจำนวนต่ำ ผู้ติดเชื้อนอนโรงพยาบาลเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ซึ่งการฉีดวัคซีนร้อยละ 25 จะช่วยลดการเสียชีวิต และถ้าฉีดวัคซีนได้ร้อยละ 50 จะช่วยลดการป่วยและป่วยอาการหนัก 

ดังนั้นขณะนี้ ประเทศไทยจึงเปิดให้ผู้สูงอายุที่ไม่ได้ลงทะเบียนหมอพร้อม on site เข้ามาฉีดวัคซีนได้ตามจุดต่างๆ ที่กำหนดให้มากขึ้น

นพ.เฉวตสรร กล่าวถึง ผลการฉีดวัคซีนแล้วทั้งสิ้น 10,227,183 โดส มีผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 7,364,585 ราย วัคซีนเข็มที่ 2 จำนวน 2,862,598 ราย ซึ่งเป็นวัคซีนของซิโนแวก 6,403,172 โดส แอสตร้าเซนเนก้า 3,766,190 โดส และซิโนฟาร์ม 57,830 โดส