สรุปมติศบค. "พื้นที่สีแดงเข้ม-แดง-ส้ม" มาตรการยกระดับมีอะไรบ้าง เช็กได้ที่นี่ 

29 เม.ย. 2564 | 10:04 น.

สรุปมติที่ประชุมศบค.ล่าสุด 29 เม.ย.64 มาตรการยกระดับ 6 จังหวัด เป็น "พื้นที่สีแดงเข้ม ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด" และพื้นที่ควบคุมสูงสุด สีแดง และพื้นที่ควบคุม สีส้ม

วันที่ 29 เม.ย. 64 เวลา 16.00 . นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศบค. แถลงมติศบค. ว่าที่ประชุมศบค.มีมติในการยกระดับ การปรับพื้นที่โซนสีใหม่ ดังนี้ 

พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 6 จังหวัด (สีแดงเข้ม) ได้แก่

  • กทม. ชลบุรี นนทบุรี เชียงใหม่ สมุทรปราการ ปทุมธานี 

มาตรการยกระดับสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด มีดังนี 

  • ให้สวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า เมื่อออกนอกเคหะสถาน/อยู่ในที่สาธารณะ
  • ห้ามการจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจํานวนรวมกันมากกว่า 20 คน
  • ร้านจําหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มให้จําหน่ายอาหารและเครื่องดื่มในลักษณะ ของการนํากลับไปบริโภคที่อื่นได้เท่านั้น โดยงดการบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม สุราและเครื่องดื่มที่มี แอลกอฮอล์ในร้าน และเปิดให้บริการได้จนถึงเวลา 21.00 นาฬิกา
  • สนามกีฬา สถานที่เพื่อการออกกําลังกาย ยิม ฟิตเนส ให้ปิดให้บริการ ยกเว้น สถานที่ใช้เป็นเอกเทศตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ ส่วนสนามกีฬาหรือสถานที่เพื่อการออกกําลังกาย ประเภทกลางแจ้งหรือที่ตั้งอยู่ในพื้นที่โล่งแจ้ง สามารถเปิดให้บริการได้ไม่เกินเวลา 21.00 น. และสามารถจัดการแข่งขันกีฬาได้โดยไม่มีผู้ชมในสนาม สําหรับการแข่งขันกีฬาที่เคยได้รับอนุญาต จากนายกรัฐมนตรีให้จัดการแข่งขันได้ เมื่อได้มีการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการ กําหนดแล้วให้สามารถจัดการแข่งขันได้ต่อไป
  • ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการอื่นที่มี ลักษณะคล้ายกัน ให้เปิดดําเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้นๆ จนถึงเวลา 21.00 น, โดยให้จํากัดจํานวนผู้ใช้บริการและงดเว้นการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ยกเว้นส่วนที่เป็น ตู้เกม เครื่องเล่น ร้านเกม และสวนสนุก ที่งดการให้บริการ
  • ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เกต ตลาดนัดกลางคืน ตลาดโต้รุ่ง ถนนคนเดิน ให้เปิดดําเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้นๆ แต่ไม่เกินเวลา 23.00 น.  สําหรับ ร้านหรือสถานที่ซึ่งตามปกติเปิดให้บริการตลอด 24 สี่ชั่วโมง ให้เริ่มเปิดดําเนินการได้ใน เวลา 04.00 นาฬิกา
  • การงดการเดินทางออกนอกพื้นที่ ให้ประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวดงดการเดินทางออกนอกพื้นที่โดยไม่มีเหตุจําเป็นเพื่อลดการเดินทางที่อาจเสี่ยง ต่อการติดโรค

สรุปมติศบค. "พื้นที่สีแดงเข้ม-แดง-ส้ม" มาตรการยกระดับมีอะไรบ้าง เช็กได้ที่นี่ 

พื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) 45 จังหวัด (จากเดิม 18 จังหวัด) ได้แก่

  1. จังหวัดกาญจนบุรี
  2. จังหวัดกําแพงเพชร
  3. จังหวัดขอนแก่น
  4. จังหวัดจันทบุรี
  5. จังหวัดฉะเชิงเทรา
  6. จังหวัดชัยภูมิ
  7. จังหวัดเชียงราย
  8. จังหวัดตาก
  9. จังหวัดตรัง
  10. จังหวัดนครปฐม
  11. จังหวัดนครราชสีมา
  12. จังหวัดนครศรีธรรมราช
  13. จังหวัดนครสวรรค์
  14. จังหวัดนราธิวาส
  15. จังหวัดน่าน
  16. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  17. จังหวัดปราจีนบุรี
  18. จังหวัดปัตตานี
  19. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  20. จังหวัดพัทลุง
  21. จังหวัดพิจิตร
  22. จังหวัดพิษณุโลก
  23. จังหวัดเพชรบุรี
  24. จังหวัดเพชรบูรณ์
  25. จังหวัดภูเก็ต
  26. จังหวัดมหาสารคาม
  27. จังหวัดยะลา
  28. จังหวัดร้อยเอ็ด
  29. จังหวัดระนอง
  30. จังหวัดระยอง
  31. จังหวัดราชบุรี
  32. จังหวัดลพบุรี
  33. จังหวัดลําปาง
  34. จังหวัดลําพูน
  35. จังหวัดศรีสะเกษ
  36. จังหวัดสระแก้ว
  37. จังหวัดสงขลา
  38. จังหวัดสมุทรสาคร
  39. จังหวัดสระบุรี
  40. จังหวัดสุโขทัย
  41. จังหวัดสุพรรณบุรี
  42. จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  43. จังหวัดอ่างทอง
  44. จังหวัดอุดรธานี
  45. จังหวัดอุบลราชธานี 

มาตรการยกระดับ สำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุด  มีดังนี้ 

  • ให้สวมหน้ากาก อนามัย/หน้ากาก ผ้า เมื่อออกนอก เคหะสถาน หรือ อยู่ในที่สาธารณะ
  • ห้ามจัดกิจกรรม รวมคนมากกว่า 50 คน
  • ร้านอาหาร บริโภคในร้านได้ ไม่เกิน 21.00 น.สั่งกลับบ้าน ไม่เกิน 23.00 น. (งดการจําหน่าย และดื่มสุราในร้าน)
  • ร้านสะดวกซื้อ ตลาดโต้รุ่ง เปิดบริการ 04.00-23.00 น.
  • ปิด สถานบริการ สถานบันเทิง ผับบาร์ คาราโอเกะ
  • ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า เปิดบริการตามปกติ ไม่เกิน 21.00 น. (จํากัดจํานวนคนงดจัดกิจกรรม ส่งเสริมการขาย)
  • ห้ามใช้อาคาร สถานศึกษาทุกระดับ สถานบันกวดวิชา
  • สถานที่เสี่ยงหรือสถานที่ที่มีกิจกรรมเสี่ยง เปิดบริการตามข้อกําหนด สถานที่เล่นกีฬาเปิดได้ไม่เกิน 21.00 น.แข่งขัน ได้โดยจํากัดผู้ชม/ผู้เล่น

พื้นที่ควบคุม(สีส้ม) 26 จังหวัด (เดิม 59 จังหวัด) ได้แก่

  1. จังหวัดกระบี่
  2. จังหวัดกาฬสินธุ์
  3. จังหวัดชัยนาท
  4. จังหวัดชุมพร
  5. จังหวัดตราด
  6. จังหวัดนครนายก
  7. จังหวัดนครพนม
  8. จังหวัดหนองคาย
  9. จังหวัดบึงกาฬ
  10. จังหวัดบุรีรัมย์
  11. จังหวัดพังงา
  12. จังหวัดพะเยา
  13. จังหวัดแพร่
  14. จังหวัดมุกดาหาร
  15. จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  16. จังหวัดยโสธร
  17. จังหวัดเลย
  18. จังหวัดสกลนคร
  19. จังหวัดสตูล
  20. จังหวัดสมุทรสงคราม
  21. จังหวัดสิงห์บุรี
  22. จังหวัดสุรินทร์
  23. จังหวัดหนองบัวลําภู
  24. จังหวัดอุตรดิตถ์
  25. จังหวัดอุทัยธานี
  26. จังหวัดอํานาจเจริญ

มาตรการยกระดับ สำหรับพื้นที่ควบคุม(สีส้ม) มีดังนี้ 

  • ให้สวมหน้ากาก อนามัย/หน้ากาก ผ้า เมื่อออกนอก เคหะสถาน หรือ อยู่ในที่สาธารณะ
  • ห้ามจัดกิจกรรม รวมคนมากกว่า 50 คน
  • ร้านอาหารบริโภคในร้านได้ ไม่เกิน 23.00 น. (งดการจําหน่าย และงดดื่มสุรา)
  • ร้านสะดวกซื้อ ตลาดโต้รุ่ง เปิดบริการตามปกติ (ตามมาตรการที่กําหนด)
  • ปิด สถานบริการ สถานบันเทิง ผับบาร์ คาราโอเกะ
  • ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า เปิดบริการตามปกติ ไม่เกิน 21.00 น. (จํากัดจํานวนคนงดจัดกิจกรรม ส่งเสริมการขาย)
  • ห้ามใช้อาคาร สถานศึกษาทุกระดับ สถานบันกวดวิชา
  • สถานที่เสี่ยงหรือสถานที่ที่มีกิจกรรมเสี่ยง เปิดบริการตามข้อกําหนด สถานที่เล่นกีฬาเปิดได้ไม่เกิน 21.00 น.แข่งขัน ได้โดยจํากัดผู้ชม/ผู้เล่น

สรุปมติศบค. "พื้นที่สีแดงเข้ม-แดง-ส้ม" มาตรการยกระดับมีอะไรบ้าง เช็กได้ที่นี่ 

สรุปมติศบค. "พื้นที่สีแดงเข้ม-แดง-ส้ม" มาตรการยกระดับมีอะไรบ้าง เช็กได้ที่นี่ 

สรุปมติศบค. "พื้นที่สีแดงเข้ม-แดง-ส้ม" มาตรการยกระดับมีอะไรบ้าง เช็กได้ที่นี่ 

นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. แถลงผลการประชุมศบค. ถึงการยกระดับมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อโควิด-19  โดยปรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดจาก 0 เป็น 6 จังหวัด พื้นที่ควบคุมสูงสุดจาก 18 เป็น 45 จังหวัดและพื้นที่ควบคุมจาก 59 เป็น 26 จังหวัด (สีส้ม) รวมทั้งให้ขยายระยะเวลากักตัวเป็น 14 วันทุกประเภท ให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ เจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการภาคเอกชน พิจารณาการ Work from Home มาตรการขั้นสูงสุด อย่าน้อย 14 วัน 

สำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 6 จังหวัด (สีแดงเข้ม) ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี เชียงใหม่ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ  งดการบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม สุราและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน และเปิดให้บริการได้จนถึงเวลา 21.00 น.  ห้ามจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มกันมากกว่า 20 คน ปิดสนามกีฬา สถานที่เพื่อการออกกำลังกาย ยิม ฟิตเนส  

สรุปมติศบค. "พื้นที่สีแดงเข้ม-แดง-ส้ม" มาตรการยกระดับมีอะไรบ้าง เช็กได้ที่นี่ 

ส่วนสนามกีฬาหรือสถานที่เพื่อการออกกำลังกายประเภทกลางแจ้งหรือที่ตั้งอยู่ในพื้นที่โล่งแจ้ง ยังเปิดให้บริการได้แต่ไม่เกินเวลา 21.00 น.   ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ให้เปิดบริการได้ถึง 21.00 น. ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เกต ตลาดนัดกลางคืน ตลาดโต้รุ่ง ถนนคนเดิน เปิดบริการได้ไม่เกินเวลา 23.00 น. รวมทั้งขอความร่วมมืองดการเดินทางออกนอกพื้นที่โดยไม่มีเหตุจำเป็น

สำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) และ จังหวัดและพื้นที่ควบคุม (สีส้ม) ยังสามารถจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มและบริโภคในร้านได้จนถึงเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ การสวมใส่หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า เมื่อออกนอกเคหะสถานหรืออยู่ในพื้นที่สาธารณะยังถือเป็นมาตรการขั้นสูงสุดเพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19

โฆษก ศบค. ยังรายงานถึงแผนการฉีดวัคซีนให้ครบทุกกลุ่มให้ได้ตามเป้าหมาย 100 ล้านโดส ครอบคลุมของวัคซีนร้อยละ 70 ภายในปี 2564  คิดเป็น 50 ล้านคน ซึ่งต้องใช้วัคซีนจำนวน 100 ล้านโดส ขณะนี้ประเทศไทยมีการจัดหาวัคซีนแล้ว 63 ล้านโดส ต้องจัดหาจัดซื้อวัคซีนเพิ่มเติมอีก 37 ล้านโดส โดยกระทรวงสาธารณสุขได้เสนอหลักการจัดหาจัดซื้อวัคซีน โควิด-19 ให้วัคซีนที่มีความหลากหลายทางชนิดและราคา ได้แก่ วัคซีน Pfizer Binotech จำนวน 5-20 ล้านโดส  sputnik V จำนวน 5-10 ล้านโดส  Johnson & Johnson จำนวน 5-10 ล้านโดส และ Sinovac จำนวน 5-10 ล้านโดส หรือวัคซีนอื่น เช่น Moderna หรือ Sinopharm หรือ Bharat หรือวัคซีนอื่นที่จะมีการขึ้นทะเบียนในอนาคต   

สรุปมติศบค. "พื้นที่สีแดงเข้ม-แดง-ส้ม" มาตรการยกระดับมีอะไรบ้าง เช็กได้ที่นี่ 

สำหรับการให้บริการวัคซีน โควิด-19 ทั่วประเทศนั้น  จะมีจุดบริการทั้งในและนอกโรงพยาบาลจำนวน 1,000 แห่งแห่งละ 50 - 1,000 โดสต่อวัน จะฉีดครบ 100 ล้านโดส ภายในระยะเวลา 4-7 เดือน (กันยายน-ธันวาคม 2564)  ในส่วนกรุงเทพมหานครได้เร่งรัดการฉีดวัคซีนโดยเพิ่มจุดให้บริการนอกโรงพยาบาล เช่น สนามกีฬา มหาวิทยาลัย ศูนย์การประชุม ฯลฯ จุดบริการทั้งในและนอกโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวน 100 แห่ง แห่งละ 1,000 โดสต่อวัน รวม 100,000 โดสต่อวัน เป็นระยะเวลา 30 วัน = 3 ล้านโดสต่อเดือน จะได้รับเข็มที่ 1 ครบภายในระยะเวลาสามเดือน คือ มิถุนายน-สิงหาคม นี้  

สรุปมติศบค. "พื้นที่สีแดงเข้ม-แดง-ส้ม" มาตรการยกระดับมีอะไรบ้าง เช็กได้ที่นี่ 

ในช่วงท้าย โฆษก ศบค. ได้ขอความร่วมมือประชาชน ลดการเดินทาง ลดการพบปะ และ work from home ให้มาก จะเป็นการลดสาเหตุการติดเชื้อได้ ขอให้ประชาชนให้ความร่วมมือและปฏิบัติ หาก 14 วันหลังจากนี้ ตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลง การผ่อนคลายจะเกิดขึ้น ขอให้ร่วมด้วยช่วยกันในระยะเวลา 2 สัปดาห์นี้
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :