ว่าด้วยรถไฟความเร็วสูง

03 ส.ค. 2560 | 23:20 น.
TP11-3284-3 ประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมามักจะมีแผนการสร้างรถไฟความเร็วสูงมาเสริมแผนการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์และเชื่อมโยงการคมนาคมในระดับภูมิภาค แต่โครงการขนาดใหญ่นั้นเกิดขึ้นในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือพัฒนารถไฟร่วมกับนายกรัฐมนตรี หลี่เค่อเฉียงของจีน

สําหรับคนไทยโครงการรถไฟความเร็วสูงจะเป็นการขยายโอกาสจากกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดต่างๆ โดยแบ่งออกเป็น4 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่,กรุงเทพฯ-หนองคาย, กรุงเทพฯ-ระยอง, กรุงเทพฯ-หัวหินการเชื่อมต่อทางรถไฟเป็นแนวทางที่หลายประเทศเห็นตรงกัน เนื่องจากการขนส่งสินค้าทางรถไฟมีต้นทุนที่ถูกกว่าการขนส่งทางถนน และเป็นพัฒนาการคมนาคมขนส่งให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังเสริมสร้างการเชื่อมโยง ได้แก่ “ระบบขนส่งมวลชนทางราง”:ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล 10 สายทาง“Modal Shift” :เปลี่ยนการขนส่งจากทางถนน สู่ระบบราง

เชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้าน:ภายใต้โครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ พัฒนาประตูการค้า:ท่าเรือ&ท่าอากาศยาน พัฒนาโครงข่ายขนส่งภายในประเทศ (ภูมิภาค):รถไฟ ถนน มอเตอร์เวย์ ลํานํ้าและชายฝั่ง

ในขณะที่คนไทยกำลังเฝ้ารอรถไฟความเร็วสูงนั้นแต่สหรัฐอเมริกาก้าวลํ้าไปถึงขั้นกำลังเตรียมสร้าง“ไฮเปอร์ลูป”ระบบขนส่งใต้ดินความเร็วสูงเชื่อมระหว่างนครนิวยอร์ก และกรุงวอชิงตันดี.ซี.ด้วยแคปซูลที่เดินทางผ่านท่อใช้เวลาเพียง 29 นาทีความลํ้าหน้าและการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ทิ้งห่างไทยหลายสิบก้าว

แต่อย่างน้อยคนไทยก็ยังมีความหวังที่อนาคตอันใกล้นี้คนไทยจะได้ใช้บริการรถไฟความเร็วสูงและการเริ่มต้นที่เส้นทางแรกกรุงเทพฯ-โคราชก้าวแรกที่จะพาประเทศไปสู่สถานะศูนย์กลางระบบรางในภูมิภาคนี้และศูนย์กลางการเชื่อมโยงที่ใช้ระบบขนส่งทางรางเป็นจุดนำร่อง

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,284 วันที่ 3 -5 สิงหาคม พ.ศ. 2560