กยท. ดิ้นหาทางออกถังแตก ส่งเสริม "ยาง"

11 ก.พ. 2562 | 03:00 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

ผงะ! กยท. ถังแตก ส่งซิกถึงชาวสวน สิ้นปี 64 ต้องเข้าคิวรอส่งเสริมปลูกทดแทน เตรียมงัดแผนสำรอง ปรับลดพื้นที่ ส่งเสริม-หั่นจ่ายค่าโค่นยางลงจาก 1.6 หมื่น/ไร่ ขณะคืบหน้าจ่ายตรงชาวสวนชดเชยราคาตกแล้ว 1.4 พันล้านบาท

1024px-LOGO_


การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)
กำเนิดขึ้นภายใต้ พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 โดยควบรวม 3 องค์กรยาง ประกอบด้วย สถาบันวิจัยยาง (สวย.) กรมวิชาการเกษตร สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) และองค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) ปัจจุบันยังมีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นในองค์กรหลายเรื่อง


on-line-ยาง

แหล่งข่าวจาก กยท. เผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ก่อนปี 2558 ที่จะมีการควบรวม 3 องค์กรยาง เป็น กยท. มีการแบ่งเงินเก็บค่าธรรมเนียมการส่งยางออกนอกราชอาณาจักร (เซสส์) มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการส่งเสริม สนับสนุน แก่เกษตรกรชาวสวนยางเพื่อการปลูกยางทดแทน โดยแบ่งให้เกษตรกรจำนวน 85% เป็นงบผูกพัน เดิมเรียกว่า ทุน สกย. แต่พอมาควบรวม เป็นทุน กยท. มีเงินสัดส่วนปรับลดลงมาเหลือแค่ 40% แต่ต้องจ่ายให้เกษตรกรไร่ละ 1.6 หมื่นบาท จำนวนเป้าหมาย 4 แสนไร่ต่อปี เท่ากับว่าจะต้องใช้เงิน 6,400 ล้านบาท


TP8-3348-A

"งบดังกล่าวจะหมดในปี 2564 รวมถึงโครงการผูกพันด้วย ล่าสุด กยท. เก็บเซสส์ได้ก็จริง แต่ก็ไม่เพียงพอ ปี 2561 เก็บได้ประ มาณ 8,000 ล้านบาท จากยอดการส่งออกยางพาราลดลง แม้ว่าจะปรับอัตราเซสส์เก็บคงที่ 2 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ ปีก่อนหน้านี้เก็บเซสส์ได้ 9,389 ล้านบาท ทำให้ กยท. มีเงินไม่พอใช้จ่าย ยังไม่ทราบจะหาวิธีการไหน อาจจะมีการปรับลดพื้นที่การส่งเสริมลง หรือ ปรับลดเงินจาก 1.6 หมื่นบาทต่อไร่ลง ส่วนจะเป็นเท่าใดนั้น ก็ต้องไปหาสูตรคำนวณมาเพื่อให้ชาวสวนพอใจ"


ยาง

นอกจากนี้ อาจมีมาตรการอื่น ๆ อาทิ ไม่ต้องโค่นปลูกแทนถึง 4 แสนไร่ต่อปี อาจปรับลดลงมาเหลือ 2 แสนไร่ต่อปี หรือจะไปปรับแก้ พ.ร.บ.การยางฯ ใหม่ โดยเอาค่าใช้จ่าย (3) โอนไปเพิ่มได้หรือไม่ อย่างไร ขณะนี้ กยท. เริ่มทำแผนแล้วเพื่อเตรียมการรับมือ


S__5685273-503x377

นายสุนันท์ นวลพรหมสกุล รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ด้านบริหาร เผยว่า จากที่รัฐบาลมีมติเห็นชอบให้ดำเนินโครงการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางพื้นที่เปิดกรีดจริง ไร่ละ 1,800 บาท ไม่เกินรายละ 15 ไร่ (เจ้าของสวน 1,100 บาทต่อไร่ คนกรีดยาง 700 บาทต่อไร่) ล่าสุด ณ วันที่ 6 ก.พ. 2562 จ่ายเงินให้เจ้าของสวนยางแล้ว 8.9 หมื่นราย เป็นเงิน  917 ล้านบาท คนกรีดยาง 8.6 หมื่นราย เป็นเงิน  562 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 1.75 แสนราย จ่ายไปแล้ว 1,479 ล้านบาท


090861-1927-9-335x503-8-335x503-13-335x503
หน้า 13 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับ 3,443  วันที่ 10-13 กุมภาพันธ์ 2562

ติดตามฐาน