เปิด TOR ทางคู่ "อีสาน"บ้านไผ่-นครพนมล็อกสเปคหรือไม่ 

03 มิ.ย. 2564 | 12:23 น.

เปิดTOR  รถไฟทางคู่”อีสาน”บ้านไผ่-นครพนม”5.5หมื่นล้านบาท ล็อกสเปคใช่หรือไม่ 

 

 การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เผยผลการประมูลวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)ครงการก่อสร้าง2รถไฟทางคู่ ใหม่ สายเหนือ –อีสาน มูลค่า1.28แสนล้านบาท ประกอบด้วย สายเหนือช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง323 กิโลเมตร  3สัญญา วงเงิน7.29หมื่นล้านบาท  และ สายอีสาน ช่วงบ้านไผ่-นครพนม ระยะทาง355กิโลเมตร 2สัญญา วงเงิน 5.5หมื่นล้านบาทปรากฎว่าทั้ง5สัญญา  มีผู้เสนอราคาต่ำสุด ใกล้เคียงราคากลางค่อนข้างมาก หรือห่างจากราคากลางคิดเป็น 0.08-0.09%   สะท้อนว่า ไม่เกิดการแข่งขันหรือส่อไปในทางสมยอมหรือฮั้ว  อีกทั้ง รัฐมีการตั้งสเปค ทีโออาร์ ที่สูงทั้งมูลค่างานและ ผลงานที่ผ่านมา ทำให้มีผู้รับเหมานำผลงานผ่านเข้าประมูลได้ 5ราย จากผู้ที่ซื้อซอง สัญญาละราย 17-18ราย  ซ้ำร้ายกว่านั้นเอกชนทั้ง 5ราย  สามารถได้งาน ครบ ทั้ง5สัญญาดัง ที่มีการทำนายจากผู้รับเหมารายกลางออกมาก่อนหน้าที่จะประกวดราคาดังนี้
  1.โครงการก่อสร้างทางคู่สายเหนือ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ 323กม.มูลค่า 7.29หมื่นล้านบาท 3สัญญาสัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว   103 กม. ราคากลาง 26,599 ล้านบาท กิจการร่วมค้า ITD-NWRเสนอราคาต่ำสุด 26,568 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 31 ล้านบาท สัญญาที่2 ช่วงงาว-เชียงราย  135 กม. ราคากลาง 26,913 ล้านบาทกิจการร่วมค้า CKST JOINT VENTURE เสนอราคาต่ำสุด  26,900 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 13 ล้านบาท สัญญาที่ 3 ช่วง ช่วงเชียงราย-เชียงของ  84 กิโลเมตร ราคากลาง 19,406 ล้านบาท กิจการร่วมค้า CKST JOINT VENTURE เสนอราคาต่ำสุด 19,390 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 16 ล้านบาท

2.โครงการรถไฟทางคู่สายอีสาน ช่วงบ้านไผ่-นครพนม 355กม.มูลค่า5.5หมื่นล้านบาท 2สัญญาสัญญาที่ 1 ช่วงบ้านไผ่-หนองพอก  177.50 กม. ราคากลาง 27,123 ล้านบาท  เอ.เอส. JVรับเหมาท้องถิ่น เสนอราคาต่ำสุด 27,100 ล้านบาท  ต่ำกว่าราคากลาง23ล้านบาท สัญญาที่2 ช่วงหนองพอก-สะพานมิตรภาพ 3  177.2 กม. ราคากลาง 28,333 ล้านบาทยูนิค ฯJVรับเหมาท้องถิ่น เสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 28,310 ล้านบาท  ต่ำกว่าราคากลาง 23ล้านบาท

ทั้งนี้ประเด็นสำคัญที่นักวิชาการมองคือ ราคาประมูลต่อสัญญาที่สูงเกินไป เฉลี่ย 20,000ล้านบาท หากเทียบกับ เส้นทางสายใต้ บางเส้นทาง มีมูลค่าต่อสัญญาเฉลี่ยเพียง5,000 ล้านบาท การตั้งวงเงินต่อสัญญาที่สูงทำให้ ผู้รับเหมารายกลาง ไม่สามารถเข้าแข่งขันประมูลได้ สำหรับ หลักเกณฑ์การประมูล หรือเงื่อนไข TOR   ที่ ถูกจับตามองในวงกว้างว่าอาจมีการล็อกสเปคหรือไม่ ขอยกตัวอย่างการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) การจ้างก่อสร้าง

โครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายบ้านไผ่-มหาสารคราม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม  สัญญาที่ 1 ช่วงบ้านไผ่-หนองพอก ตามประกาศ การรถไฟแห่งประเทศไทย ลงวันที่ มีนาคม 2564ข้อ 2.10 ผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีผลงานก่อสร้างประเภทเดียวกันกับงานที่ประกวดราคาจ้างก่อสร้าง ทางรถไฟ(ก)ในวงเงินไม่น้อยกว่า 4,068,000,000.00 บาท (สี่พันหกสิบแปดล้านบาทถ้วน) และเป็นผลงานที่ เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานเอกชนที่การรถไฟแห่งประเทศไทยเชื่อถือ 2.11 ผู้ยื่นข้อเสนอที่เสนอราคาในรูปแบบของกิจการร่วมค้า ต้องเป็นกิจการที่มีข้อตกลงระหว่างผู้เข้าร่วมค้าเป็นลายลักษณ์อักษรว่าจะดำเนินการร่วมกันเป็นทางการค้าหรือหากำไร ระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือระหว่างบริษัทและ/หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับนิติบุคคลอื่น หรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ โดยข้อตกลงนั้นอาจ กำหนดให้มีผู้เข้าร่วมค้าหลักก็ได้ นอกจากนี้ ข้อ2.12 ยังระบุว่า ผู้ยื่นข้อเสนอต้องลงทะเบียนในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Government Procurement : e - GP) ของกรมบัญชีกลาง 2.13 ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องมีนโยบายและแนวทางการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง 2.14 ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องลงนามในข้อตกลงคุณธรรม กรณีโครงการที่ได้รับการคัดเลือกจาก คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต (คณะกรรมการ ค.ป.ท.) ให้จัดทำข้อตกลงคุณธรรม2.15 ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ 2.1 ถึง2.14  และมีคุณสมบัติ 
เพิ่มเติมดังนี้ 

(1)ผู้ยื่นข้อเสนอที่เป็นนิติบุคคลรายเดียว ต้องเป็นนิติบุคคลไทยที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทย ต้องมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟ(ก) ที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 4,068,000,000.00 บาท (สี่พัน 
หกสิบแปดล้านบาทถ้วน) ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ทั้งนี้ ผู้ยื่นข้อเสนอที่เป็นกิจการร่วมค้า ต้องมีนิติบุคคลไทยที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทยเป็น ผู้เข้าร่วมค้าหลัก (Lead Firm) โดยสมาชิกทุกรายที่รวมตัวกันเป็นกิจการร่วมค้านั้นต้องเป็นนิติบุคคล และต้องมี สัดส่วนนิติบุคคลไทยรายเดียวหรือมากกว่าหนึ่งรายรวมกันในการร่วมค้ามากกว่าร้อยละ 50 (50%) โดย ผู้เข้าร่วมค้าหลัก (Lead Firm) จะต้องมีสัดส่วนการร่วมค้ามากที่สุดและสัดส่วนนี้จะต้องไม่เปลี่ยนแปลงตลอด ระยะเวลาโครงการ ซึ่งในวันยื่นเอกสารประกวดราคา จะต้องยื่นเอกสารข้อตกลงสำหรับการร่วมกันเป็นกิจการ 
ร่วมค้า

สำหรับโครงการก่อสร้างงานสัญญาที่ 1 ช่วงบ้านไผ่-หนองพอก ซึ่งต้องชี้ชัดถึงสัดส่วนของการร่วมค้าของแต่ละนิติบุคคลในกลุ่ม และต้องระบุข้อความไว้ด้วยว่า สมาชิกทุกรายของกิจการร่วมค้ายินยอมผูกพันตน ในการที่จะรับผิดชอบร่วมกันและแทนกันในหน้าที่ความรับผิดชอบและหนี้ทั้งปวงต่อการรถไฟแห่งประเทศไทยใน ทุกกรณี (Shall be jointly and severally responsible for all cases) มิฉะนั้นแล้วการรถไฟแห่งประเทศไทยจะไม่ รับพิจารณาข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอรายนั้น กิจการร่วมค้าต้องมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟ(ก)

ที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า  4,068,000,000บาท (สี่พันหกสิบแปดล้านบาทถ้วน) ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว  โดยสามารถนำผลงานก่อสร้างของผู้เข้าร่วมค้าหลัก (Lead Firm) เป็นผลงานของกิจการร่วมค้า ได้และผู้เข้าร่วมค้ารายอื่นๆ ของกิจการร่วมค้าทุกรายต้องมีผลงานอย่างน้อยอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้  ผลงานก่อสร้างทางรถไฟ(ก) ที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 900,000,000บาท (เก้าร้อยล้านบาทถ้วน) ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว  ข) ผลงานก่อสร้างงานโยธา(ข) ที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 900,000,000บาท (เก้าร้อยล้านบาทถ้วน) ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว การประมูลรถไฟทางคู่สายนี้ ส่อไปทางฮั้วหรือล็อกสเปคหรือไม่...ใครรู้ช่วยบอกที
 

  • อ่านทีโออาร์แนบท้าย 

https://medias.thansettakij.com/media/pdf/2021/1622722443.pdf