จับตา มี.ค.นี้ สภาองค์กรผู้บริโภค จ่อชงครม.เคาะค่าโดยสารสายสีเขียว 25 บาท

16 มี.ค. 2564 | 05:38 น.

สภาองค์กรผู้บริโภค เล็งถกบอร์ด 19 มี.ค.นี้ ชงครม.เก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว 25 บาท ยึดเกณฑ์ 10% ของค่าแรงขั้นต่ำ ยันมีรายได้ส่งรัฐ 2.3 หมื่นล้านบาท

นางสาวสารี  อ่องสมหวัง  เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค  เปิดเผยในงานเสวนาบทบาทสื่อกับการคุ้มครองผู้บริโภคกรณีค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่เหมาะสม ว่า ขณะนี้ทางสภาองค์กรของผู้บริโภคได้เสนอทางออกที่สอดคล้องกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคที่ควรชะลอการขึ้นค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวนี้ออกไปก่อน และยืนยันให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) ต้องเปิดเผยข้อมูลและรายละเอียดของสัญญา และค่าโดยสารต้องไม่เกิน 10% ของค่าแรงขั้นต่ำ โดยสภาองค์กรของผู้บริโภค เสนอค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวสามารถลดเหลือเพียง 25  บาทต่อเที่ยวได้ ยังมีกำไรและสามารถนำเงินส่งรัฐได้ไม่มากถึง 23,200 ล้านบาท และหากคิด ค่าบริการ 49.83 บาท ตามตัวเลขของกระทรวงคมนาคมจะสามารถนำเงินส่งรัฐได้ไม่น้อยกว่า 380,200 ล้านบาท  ขณะเดียวกันสภาฯจะมีการประชุมเพื่อหาข้อสรุปเรื่องดังกล่าวอีกครั้งภายในวันที่ 19 มี..นี้ เพื่อนำข้อมูลเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบภายในเดือนมี..นี้

“ล่าสุดจากการให้ข้อมูลของกรุงเทพมหานครระบุว่า กรุงเทพมหานครจะให้ครม.ตัดสินใจในการพิจารณากำหนดอัตราค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เนื่องจากที่ผ่านมากรุงเทพมหานครเป็นผู้เจรจากับบีทีเอส  แต่ยังไม่ลงตัว ทั้งนี้เราเชื่อข้อมูลดังกล่าวจะได้รับการพิจารณาจากครม.ด้วยเช่นกัน”

ขณะเดียวกันจากสถานการณ์ปัญหาราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกรณีปัญหาการต่อสัญญาโครงการไฟฟ้าลายสีเขียว หรือ BTS โดยมีสาระสำคัญในสัญญาสัมปทานออกไปอีก 30 ปี จากเดิมที่จะสิ้นสุดปี 2572 เป็นสิ้นสุดปี 2602 แลกกับเก็บคำโดยสารตลอดสาย (คูคต-หมอชิต-สมุทรปราการ อัตรา 65 บาท และปลดหนี้แสนล้านของ กทม. โดยขณะที่แผนการต่อสัญญายังไม่มีข้อยุติ ต่อมา 15 มกราคม 2564 ผู้ว่าฯ กทม. ออกประกาศอัตราราคาคำโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเชียวตลอดสาย 104บาท และจะเริ่มเก็บทันที 16 กุมภาพันธ์ 2564 พร้อมย้ำ 104 บาท ไม่แพงเกินไปสำหรับผู้บริโภค ทำให้มีเสียงคัดค้านจากทั้งภาครัฐและประชาชนจำนวนมากทั้งนี้แม้ว่าอัตราคำโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสตลอดสาย 104 บาท ที่ กทม. ประกาศ จะน้อยกว่า 158 บาท ที่เคยศึกษาไว้ แต่ยังถือว่าแพงเมื่อเทียบกับรายได้ค่าแรงขั้นต่ำของคนกรุงเทพมหานคร เพราะหากคิดคำเดินทางต่อเที่ยวจะเท่ากับร้อยละ 31.5 หรือหากต้องเดินทางไปกลับจะต้องเสียค่าเดินทางมากถึงร้อยละ 63 ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายประจำวันและคำเดินทางด้วยบริการขนส่งมวลชนประเภทอื่น เช่น รถจักรยานยนต์รับจ้าง รถเมล์ รถสองแถว หรือแม้แต่รถแท็กซี่ และเมื่อเทียบกับต่างประเทศค่าโดยสารรถไฟฟ้าของไทยกลับแพงที่สุด เมื่อเทียบกับรายได้ชั้นต่ำของประชากร พบว่า เมืองใหญ่ของโลก เช่น ปารีส ลอนดอน โตเกียว สิงคโปร์ ฮ่องกง มีค่าใช้จ่ายเพียง 3 - 9% เท่านั้นซึ่งทันทีที่ ผู้ว่าฯ กทม. ออกประกาศคำโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส 104 บาท ทุกองค์กรหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นกระทรวงคมนาคม กรมการขนส่งทางราง นักวิชาการ กรรมาธิการคมนาคม และองค์กรผู้บริโภค ต่างออกมาตั้งคำถามและคัดค้านประเด็นคำโดยสารแพง ไม่โปร่งไสขัดต่อกฎหมาย ไม่มีที่มาของหลักคิดค่าโดยสาร เร่งรีบขยายสัญญาสัมปทานให้เอกชนทั้งที่ระยะเวลายังเหลืออีก 9 ปี และยังเป็นภาระผูกพันต่อรัฐและประชาซนส่วนรวมต่อเนื่องนานอีก 39 ปีโดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและภาคีเครือข่ายได้ร่วมยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564  กทม. เพื่อขอให้ กทม. หยุดเก็บ 104 บาท ชะลอการต่อสัญญาสัมปทาน กทม.ต้องเปิดเผยสัญญาและข้อมูลการต่อสัญญา ค่าโดยสารต้องไม่เกิน 10% ค่าแรงขั้นต่ำ เพราะรถไฟฟ้าต้องเป็นขนส่งมวลชนที่ทุกคนขึ้นได้ ไม่ใช่บริการทางเลือกแบบทุกวันนี้ และต่อมาในคืนวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564 ผู้ว่าฯ กทม. ได้ออกประกาศเลื่อนการจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวออกไปก่อน อ้างได้รับนโยบายจากรัฐบาลให้กลับไปพิจารณาทบทวนใหม่ โดยให้คำนึงถึงภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนและภาระของกรุงเทพมหานครให้เกิดความเหมาะสม

นอกจากนี้ปัญหาราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวได้ถูกหยิบยกนำเข้าเป็นวาระพิจารณาของกรรมาธิการ,การคุ้มครองผู้บริโภคสภาผู้เทนราษฎรถึงสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2564 ผู้แทน กทม. ได้ตอบคำถามประธานคณะกรรมาธิการว่า กทม. ไม่สามารถปิดเผยข้อมูลต้นทุน ผลกำไร และรายละเอียดที่เกี่ยวช้องเพื่อใช้ในการคำนวณหาอัดราคำโดยสารที่หมาสมต่อคณะกรรมาธิการได้ ทำให้คณะกรรมาธิการไม่สามารถพิจารค่าโดยสารที่แท้จริงได้ คณะกรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภคจึงมีมติทำความเห็นถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อยับยั้งการต่อสัญญาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว

 

สำหรับข้อเสนอของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

1. ขอให้นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งชะลอแผนการขยายสัญญาสัมปทานโดยทันที และให้กรุงเทพมหานครหยุดการเรียกเก็บค่าเดินทางในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 ออกไปก่อน

2. ขอให้เปิดเผยข้อมูลรายละเอียดสัญญาสัมปทานต่อสาธารณะ เพื่อรับฟังความเห็นจากองค์กรผู้บริโภคประชาชน และนักวิชาการ ที่ได้ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต สุขภาพ อนามัย จากการดำเนินการของรัฐ ตามมาตรา 58 และมาตรา 61 ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ ศ. 2560 ก่อนที่คณะรัฐมนตรีจะมติให้ความเห็นชอบ

3. ขอให้ทบทวนสัญญาสัมปทานการเดินรถไฟฟ้าทุกสายในปัจจุบัน และสัญญาที่จะทำในอนาคตเพื่อศึกษาผลกระทบ กำหนดแนวทาง และสิทธิประโยชน์ของประชาชนและรัฐให้ไปในทิศทางเดียวกัน โดยเฉพาะการกำหนดอัตราค่าโดยสารที่ผู้บริโภคทุกกลุ่มต้องเข้าถึงได้อย่างเป็นธรรม ยกเว้นค่าแรกเข้ากรณีโดยสารรถไฟฟ้าข้ามสาย พัฒนาระบบตั๋วร่วมและระบบการเชื่อมโยงบริการขนส่งมวลชนทุกประเกท เพื่อความสะดวกปลอดภัยของผู้บริโภคที่ใช้บริการขอให้กำหนดมาตรฐานค่าใช้จ่ายบริการขนส่งมวลชนทุกประเภทรวมแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของค่าแรงขั้นต่ำ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยมาใช้บริการ ซึ่งทั้งรัฐบาลและท้องถิ่นต้องพัฒนาระบบสนับสนุนที่โปร่งใส มีประสิทธิภาพ สะอาด มีคุณภาพในการให้บริการ

5. ขอให้รัฐบาลประกาศเป็นนโยบายสาธารณะให้รถไฟฟ้าเป็นบริการขนสงมวลชนที่ทุกคนควรขึ้นได้ ไม่เป็นเพียงขนส่งทางเลือกสำหรับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

 

จับตา มี.ค.นี้ สภาองค์กรผู้บริโภค จ่อชงครม.เคาะค่าโดยสารสายสีเขียว 25 บาท

ขณะที่ข้อเสนอของสภาองค์กรของผู้บริโภคยังไม่เห็นด้วยราคา 65 บาทต่อสัญญาล่วงหน้าสายสีเขียว ชี้ราคา 25 บาททำได้จริงเอื้อประโยชน์ให้เอกชนมากถึง 380.200 ล้านบาทใช่หรือไม่  โดยสภาองค์กรของผู้บริโภคมีข้อสังเกตและ ข้อเสนอดังนี้ มูลค่าหนี้ที่แท้จริงของกรุงเทพมหานคร ไม่มีความชัดเจน สร้างความสับสนกรุงเทพมหานคร ใช้ตัวเลขหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียวให้เกินจริง โดยผนวกรวมหนี้ใน 8 ปีข้างหน้าที่ยังไม่เกิดรวมเป็นหนี้สินในปัจจุบัน เพื่อเป็นข้ออ้างต่ออายุสัมปทานสายสีเขียวอีก 30 ปี รวม 38 ปีอย่างไมโปร่งใส ไม่มีข้อมูล ไม่มีที่ไปที่มาของคำโดยสารรถไฟฟ้า จากตัวเลขหนี้จำนวน 148.716.2 ล้านบาทที่ กทม. อ้างขึ้นมาเพื่อแลกกับการต่ออายุสัมปทานแล้วคิดค่าโดยสารตลอดสาย 15-65 บาท หรือ130 บาในการเดินทางไปกลับ เป็นการสร้างภาระให้กับผู้บริโภคล่วงหน้าโดยตัวเลขที่กรุงเทพมหานคร ค้างจ่ายจริง ณ ปัจจุบัน มีเพียง 34,837 ด้านบาทเท่านั้น แบ่งเป็น หนี้การลงทุนโครงสร้าง 18, 145 ล้านบาท เงินชดเชยส่วนต่อขยาย 7,090.00 ล้านบาท หนี้ค้างชำระเดินรถ 3 ปี 9 เดือน 9,602  ล้านบาท มูลค่าหนี้ที่แตกต่างกันถึง 113.879.2 ล้านบาท โดยคิดรวม ค่าใช้คืนดอกเบี้ยและค่างานระบบในอนาคตจนถึงปี 2572 ถึงหมดอายุสัมปทานเป็นเงิน 88,904 ล้านบาท และหนี้ค้างเดินรถส่วนต่อขยาย ตั้ง ปี 2562-2572 อีก 21.132 ล้านบาท ฯลฯ ทั้งหมดนี้ได้ถูกนำมาเป็นยอดหนี้รวมปัจจุบันของกทม เพื่อแลกกับการต่ออายุสัมปทานไปอีก 30 ปี

2. ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสีเขียวสามารถลดเหลือเพียง 25 บาทต่อเที่ยวได้ ยังมีกำไรและสามารถนำเงินส่งรัฐได้ไม่มากถึง 23,200 ล้านบาท และหากคิดค่าบริการ 49.83 บาท จะสามารถนำเงินส่งรัฐได้ไม่น้อยกว่า380,200 ล้านบาท

ทั้งนี้สภาองค์กรของผู้บริโภคพบว่า  ข้อมูลที่ถูกนำเสนอในการประชุมกรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภค สภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานครสามารถคืนหนี้สินได้ทั้งหมด แถมยังมีเงินเหลือนำส่งรัฐบาลได้มากถึง 380,200 ล้านบาท ในปี 2602 โดยใช้การคำนวณค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่ผู้บริโภคต้องจ่ายในราคา 49.83 บาท สภาองค์กรของผู้บริโภค จึงเสนอให้กรุงเทพมหานครและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยตัวเลขข้อมูลความจริงที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในการพิจารณาต่อสัญญาสัมปทาน เพื่อไม่สร้างภาระให้กับผู้บริโภคล่วงหน้า 38 ปีเกิดความเสียหายมากถึง 380,200 ล้านบาท

3. สภาขององค์กรผู้บริโภคขอให้ กทม. ยุติการดำเนินการต่อสัญญาสัมปทาน และรอการตัดสินใจจากผู้ว่ากรุงเทพมหานครที่กำลังจะมีการเลือกตั้ง พร้อมเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง อย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้เช่น การคิดค่าจ้างเดินรถใช้อะไรเป็นฐานคิดคำนวณการดำเนินงานต่อสัญญาล่วงหน้าในครั้งนี้ หากไม่มีการดำเนินการใด ๆ อาจจะถือได้ว่าเข้าข่ายการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนและพวกพ้องใช่หรือไม่ สภาองค์กรของผู้บริโภค หวังว่า จะเกิดการเปิดเผยข้อมูล การคิดราคาค่าบริการ การจ้างบริการเดินรถ เพราะเป็นการสร้างภาระให้กับประชาชนยาวนานถึง 38 ปี จนถึงปีพ.ศ. 2602และกรุงเทพมหานครจะให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบสัญญาที่จะสร้างภาระให้ผู้บริโภคราคา 15-65 บาทตลอดสายไปกลับ 130 บาทต่อวัน เป็นค่าใช้จ่ายที่สูงถึง 39.27% จากค่าแรงชั้นต่ำ 331 บาทของประชาชนในกรุงเทพมหานคร และไม่สามารถทำให้รถไฟฟ้าเป็นบริการขนส่งมวลชน เพื่อลดปัญหารถติดในกรุงเทพมหานครได้เลย ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยคาดหวังและชี้แจงในสภา

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง