กนง.คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี

03 ส.ค. 2559 | 08:00 น.
นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง.ในวันที่ 3 สิงหาคม 2559

คณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี

ในการตัดสินนโยบาย คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจยังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป แม้ในระยะข้างหน้าจะมีความเสี่ยงด้านต่ำเพิ่มขึ้นจากการประชุมครั้งก่อนเนื่องจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มขึ้น ขณะที่เงินเฟ้ออาจกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายช้ากว่าที่เคยประเมินไว้เล็กน้อยเพราะแรงกดดันจากราคาพลังงานที่อาจต่ำกว่าคาด ส่วนภาวะการเงินในปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการฟื้นตัวของ

เศรษฐกิจ คณะกรรมการฯ จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้เศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักจากการใช้จ่ายภาครัฐที่ท่าได้ ต่อเนื่องตามคาดและภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวดีขณะที่การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ตามรายได้และความเชื่อมั่นของครัวเรือนในภาคเกษตรที่ปรับดีขึ้น แต่การลงทุนภาคเอกชนยังอยู่ในระดับต่ำ และการส่งออกสินค้ายังคงหดตัวตามเศรษฐกิจเอเชียที่ชะลอลงมากกว่าคาด ในภาพรวมเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ แต่มีความเสี่ยงด้านต่ำเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการประชุมครั้งก่อน อาทิ ความไม่แน่นอนภายหลังการลงประชามติในสหราชอาณาจักร (Brexit) ปัญหาภาคการเงินในยุโรป และพัฒนาการทางการเมืองในต่างประเทศ ซึ่งอาจกระทบต่อความเชื่อมั่นและแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าในระยะต่อไป ในขณะที่ความเสี่ยงในภาคการเงินจีนยังมีอยู่

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกรกฎาคมชะลอลงเล็กน้อยตามราคาอาหารสดเป็นสำคัญ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัว คณะกรรมการฯ ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังคงมีแนวโน้มกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายแต่ระยะเวลาอาจเลื่อนออกไปบ้างขึ้นอยู่กับทิศทางของราคาน้ำมันโลกเป็นสำคัญ

คณะกรรมการฯ เห็นว่าภาวะการเงินโดยรวมยังอยู่ในระดับที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอยู่ในระดับต่ำ และการระดมทุนโดยรวมของภาคธุรกิจและสินเชื่อครัวเรือนยังขยายตัวได้แม้ธุรกิจบางกลุ่มมีข้อจ่ากัดในการได้รับสินเชื่อ อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทในช่วงที่ผ่านมาโน้มแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักบางสกุล และอาจไม่เป็นผลดีต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้คณะกรรมการฯ เห็นว่ายังคงต้องติดตามความเสี่ยงต่อเสถียรภาพการเงิน รวมทั้งพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (search for yield) จากการที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานาน

คณะกรรมการฯ เห็นว่าการรักษาขีดความสามารถในการด่าเนินนโยบาย (policy space) ยังมีความส่าคัญ เพราะในระยะข้างหน้าเศรษฐกิจไทยยังจะต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังเปราะบาง และความไม่แน่นอนของทิศทางการด่าเนินนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลักที่จะส่งผลให้เงินทุนเคลื่อนย้ายและอัตราแลกเปลี่ยนผันผวนมากขึ้น

ในระยะต่อไป คณะกรรมการฯ เห็นว่านโยบายการเงินควรอยู่ในระดับผ่อนปรนต่อเนื่อง และพร้อมที่จะใช้เครื่องมือเชิงนโยบายที่มีอยู่อย่างเหมาะสม เพื่อให้ภาวะการเงินโดยรวมเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจควบคู่กับการรักษาเสถียรภาพการเงินของประเทศ