ตามไปดู ต้นแบบจัดการขยะเมืองระยอง เขาทำแบบไหนถึงได้ผล

23 เม.ย. 2564 | 10:27 น.

ตามไปดูศูนย์บริหารและจัดการขยะรีไซเคิล ชุมชนวัดชากลูกหญ้า ต้นแบบการบริหารจัดการขยะอย่างครบวงจรแห่งแรกของจังหวัดระยอง “ความมุ่งมั่นสรรค์สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง”

นิยามของคำว่า “ชุมชน” นั้น อาจสื่อได้ถึง ความร่วมแรงร่วมใจ ความสมานฉันท์ ที่ผู้อยู่อาศัยร่วมกันในชุมชนนั้น ได้ช่วยกันบริหารจัดการ เพื่อให้ชุมชนนั้น ๆ เป็นชุมชนที่น่าอยู่ ชุมชนที่เราจะพาทุกคนเดินทางไปค้นหาความหมายเพิ่มเติมกันในวันนี้ เป็นชุมชนเล็ก ๆ ในประเทศของเราแต่ยิ่งใหญ่ หรือเรียกว่าเป็นต้นแบบด้านการบริหารจัดการขยะแห่งแรกของจังหวัดระยองก็ว่าได้ ชุมชนนี้ คือ “ชุมชนวัดชากลูกหญ้า” แล้วอะไรที่ทำให้ชุมชนแห่งนี้พร้อมใจกันหันมาสนใจเรื่องนี้และเริ่มต้นบริหารจัดการขยะ เราไปค้นหาคำตอบพร้อม ๆ กันเลย

 “ชุมชนวัดชากลูกหญ้า” ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ชุมชนนี้เป็นชุมชนกึ่งเมือง มีปริมาณขยะมูลฝอย ถึงประมาณ 8.2 ตันต่อวัน พี่เปิ้ล นภาพัฒน์ อู่เจริญ ประธานวิสาหกิจชุมชนธนาคารคัดแยกขยะรีไซเคิล ชุมชนวัดชากลูกหญ้า เล่าให้เราฟังว่า “จุดเริ่มต้นของการบริหารจัดการขยะภายในชุมชนเกิดขึ้นเมื่อ 2-3 ปีก่อน ชาวบ้านที่อยู่อาศัยในชุมชนมาช่วยกันคิดว่า จะนำขยะที่มีอยู่มาทำอะไรให้เป็นประโยชน์ได้บ้าง ทางเทศบาลจึงได้ส่งชาวบ้านให้ไปศึกษาดูงานหลาย ๆ ที่ กลับมาจึงได้แนวคิดและตกผลึกออกมาเป็น โครงการธนาคารคัดแยกขยะรีไซเคิล โดยคณะกรรมการมีกติกาว่า ชาวบ้านที่เป็นสมาชิกของโครงการ จะต้องนำขยะมาฝากตามที่กำหนด เพื่อรักษาความเป็นสมาชิกไว้ ส่วนเงินที่ได้จากการเอาขยะมาฝากไว้ ทุกคนมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เอาไว้ดูแลเรื่องของฌาปณกิจ และจัดสรรในเรื่องของสวัสดิการ ทุนการศึกษา ค่ารักษาพยาบาล โดยขยะที่ได้ทำการคัดแยกจากครัวเรือนมาถึงพี่เปิ้ล มีประมาณ 2.5 ตันต่อเดือน นำเข้าโครงการฯ และจัดการจนทำให้ปริมาณขยะลดลงไป”     

ตามไปดู ต้นแบบจัดการขยะเมืองระยอง เขาทำแบบไหนถึงได้ผล

หลังจากนั้น เมื่อโครงการธนาคารคัดแยกขยะฯ ดำเนินการมาได้ระยะเวลาหนึ่ง ประกอบกับทางบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ได้สร้าง “YOUเทิร์น แพลตฟอร์ม” ซึ่งเป็นระบบจัดการพลาสติกใช้แล้วแบบครบวงจรขึ้น ตั้งแต่การรวบรวมและคัดแยกขยะ การขนส่งขยะพลาสติกเข้าสู่ระบบกระบวนการรีไซเคิล และกระบวนการแปรรูปจนได้กลับมาเป็นสินค้าอัพไซคลิง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มอีกครั้งหนึ่ง ตอบสนองการดำเนินชีวิตของผู้คนและส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการรีไซเคิล รวมถึงสร้างระบบการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืน

GC เล็งเห็นว่าแพลตฟอร์มนี้น่าจะมีประโยชน์กับชุมชนแห่งนี้ จึงได้เข้ามาเป็นพลังเสริม ในการช่วยพัฒนาการบริหารจัดการขยะของชุมชนให้ครบวงจร เช่น การบันทึกข้อมูลขยะขาเข้าจากแหล่งต่าง ๆ การจัดการด้านบัญชีการเงิน ข้อมูลขยะในคลัง จนถึงการจัดการด้านการขายพลาสติก (ประเภท PET และ HDPE) ให้กับโรงงาน ENVICCO ของ GC ซึ่งเป็นโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลระดับ Food Grade มาตรฐานยุโรปแห่งแรกของประเทศไทย ช่วยบริหารจัดการด้านการขนส่ง (Logistics) ด้วยการวางแผนการขนส่งให้มีต้นทุนที่ถูกที่สุดอีกด้วย

ตามไปดู ต้นแบบจัดการขยะเมืองระยอง เขาทำแบบไหนถึงได้ผล

ในที่สุดความร่วมมือระหว่าง วิสาหกิจชุมชนธนาคารคัดแยกขยะรีไซเคิล ชุมชนวัดชากลูกหญ้า GC และ ENVICCO จึงทำให้ ศูนย์บริหารและจัดการขยะรีไซเคิล ชุมชนวัดชากลูกหญ้า เกิดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม ปีที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่าจะช่วยบริหารจัดการขยะของชุมชนได้ถึง 10 ตันต่อเดือน นับว่าศูนย์ฯ นี้เป็นต้นแบบการบริหารจัดการขยะอย่างครบวงจรจากต้นทางถึงปลายทางแห่งแรกในจังหวัดระยอง  

ตามไปดู ต้นแบบจัดการขยะเมืองระยอง เขาทำแบบไหนถึงได้ผล

ศูนย์บริหารและจัดการขยะรีไซเคิล ชุมชนวัดชากลูกหญ้า เป็นศูนย์การเรียนรู้และบริหารจัดการขยะอย่างครบวงจร โดยดึงการมีส่วนร่วมของคนที่อยู่ในชุมชนมาช่วยกัน และสามารถนำรายได้ส่วนหนึ่งกลับมาสนับสนุนชุมชน เป็นการสร้างงานสร้างอาชีพให้คนในชุมชน ในส่วนของชุมชน ก็ช่วยลดปัญหาขยะ ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ขยะถูกจัดการอย่างถูกต้อง นำกลับมาเพิ่มคุณค่าได้ ซึ่งข้อดีมาก ๆ ของการเป็นศูนย์การเรียนรู้อีกข้อหนึ่ง คือ จะทำให้คนที่ได้มาเรียนรู้ สามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับชุมชนของตัวเอง ถือเป็นการขยายผลการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืนที่แท้จริง ซึ่งตรงกับความต้องการของชุมชน

ตามไปดู ต้นแบบจัดการขยะเมืองระยอง เขาทำแบบไหนถึงได้ผล

“พี่อยากให้ศูนย์นี้เป็นศูนย์ที่ให้ชาวบ้านเข้ามาเรียนรู้ เข้ามาเห็นว่า วันนี้ชุมชนกำลังทำอะไรอยู่ เมื่อเห็นแล้วก็อยากจะให้ทุกคนมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะร่วมมือกับสิ่งที่ชุมชนได้สร้างขึ้นมา ชุมชนวัดชากลูกหญ้าก็ขอฝากถึงพี่น้องชาวระยอง ใครที่มีเคมีตรงกับเรา อยากเดินทางร่วมโครงการนี้ไปกับเรา ท่านสามารถเข้ามาร่วมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันได้ มาช่วยกันสานต่อโครงการนี้ให้ยั่งยืนและแข็งแรง เพื่อสิ่งแวดล้อมของชาวระยอง เราก็จะพยายามสร้างศูนย์ฯ แห่งนี้ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ให้กับชุมชน เพื่อน ๆ โดยรอบ นักเรียน เด็กรุ่นใหม่ๆ เพราะว่าอย่างน้อยสิ่งที่ทางผู้ประกอบการ GC , ENVICCO และหน่วยงานต่างๆ ที่เข้ามาร่วมมือมาช่วยกัน ก็ทำให้เรามีพลังที่จะทำให้โครงการนี้ยั่งยืนตลอดไป” พี่เปิ้ลกล่าวทิ้งท้าย

ตามไปดู ต้นแบบจัดการขยะเมืองระยอง เขาทำแบบไหนถึงได้ผล