ดิจิทัลคอมเมิร์ซแรง “รีเทล” ท้าชิงมาร์เก็ตเพลส  

04 เม.ย. 2564 | 09:04 น.

เผยเทรนด์ตลาดดิจิทัลคอมเมิร์ซ กลุ่ม food & non food โตพรวด 161% ตามด้วยบิวตี้&แฟชั่น 94% เปิดช่องอี-รีเทลเลอร์แจ้งเกิด

นายจักรกฤษณ์ กีรติโชคชัยกุล ผู้อำนวยการใหญ่อาวุโสบริหารสินค้า บริษัท เดอะ มอลล์ กรุ๊ป (TMG) จำกัด เปิดเผยว่า ต้องยอมรับว่าวันนี้พฤติกรรมผู้บริโภคหันมาให้ความสนใจในธุรกิจอี-คอมเมิร์ซมากขึ้น ขณะที่สินค้าหลายกลุ่มก็มีการเติบโตในช่องทางออนไลน์ โดยพบว่า

ในปี 2563 กลุ่มสินค้าในอี-คอมเมิร์ซ ที่มีสัดส่วนยอดขายมากที่สุดได้แก่ กลุ่ม food & non food มีสัดส่วนยอดขายรวม 38% รองลงมา คือ กลุ่มอิเลคทรอนิกส์ 31%, กลุ่ม General Merchandise 20% และ กลุ่ม Beauty & Fashion 11%

ส่วนกลุ่มที่มีการเติบโตมากที่สุดได้แก่ กลุ่ม food & non food มีการเติบโต 161% รองลง คือ กลุ่ม Beauty & Fashion 94%, กลุ่ม General Merchandise 63% และกลุ่มอิเลคทรอนิกส์ 35%

โดยสินค้าที่มียอดขาย 10 อันดับแรกในอี-คอมเมิร์ซ ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ/อิเลกทรอนิกส์ 24.75% รองลงมา คือ เสื้อผ้าแฟชั่น 14.63%, บิวตี้ 11.91%, ไลฟ์สไตล์ 11.51%,  สินค้าสุขภาพ 8.62%, สินค้าตกแต่งบ้าน 6.75%, ของเล่น 5.69%, สินค้าแม่และเด็ก 4.75%, อุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ 3.72% และกีฬา 3.72% ทั้งนี้จะเห็นว่า 4 อันดับแรกมีสัดส่วนยอดขายรวมกันว่า 60% ถือเป็นโอกาสของผู้ประกอบการที่จะเข้ามา

รวมถึงเดอะ มอลล์ กรุ๊ป ที่นำนวัตกรรม AI และ ANALYTICS เข้ามาใช้ในการพัฒนาและให้บริการเว็บไซต์ “MONLINE.COM และ GOURMETMARKET THAILAND.COM” โดยชูจุดเด่นความเป็น Omnichannel retial ผ่านโมเดลธุรกิจ O2O โดยในปีแรกตั้งเป้าหมายที่จะมียอดลูกค้า 20 ล้านเพจวิว มียอดขายรวม 2,000 ล้านบาท และภายใน 3 ปี จะมียอดขายเป็น 15% เมื่อเทียบกับยอดขายโดยรวมจากสาขา และเพิ่มขึ้นเป็น 25% ภายใน 5 ปี เมื่อเทียบกับยอดขายโดยรวมจากสาขาทั้งหมด

ทั้งนี้การก้าวเข้าสู่ดิจิทัลคอมเมิร์ซ จะมีความได้เปรียบและแตกต่างจากมาร์เก็ตเพลส โดยเฉพาะการมีคู่ค้า ซัพพลายเออร์ที่พร้อมนำเสนอสินค้า ซึ่งวันนี้เดอะ มอลล์ กรุ๊ป มีความพร้อมในการตอบโจทย์ให้โดนใจและสร้างความแตกต่าง โดยมีคู่ค้า ซัพพลายเออร์หลัก ทั้งแบรนด์ชั้นนำระดับโลก และแบรนด์ที่ได้รับความน่าเชื่อถือ ที่นำเสนอสินค้าคุณภาพ

จักรกฤษณ์ กีรติโชคชัยกุล

สินค้าที่คัดสรรมาเป็นพิเศษ สินค้าเอ็กซ์คลูซีฟ สินค้าลิมิเต็ดเอ็ดดิชั่นมาวางจำหน่ายผ่านเว็บไซต์ M ONLINE รวมกว่า 1,000 แบรนด์ ครอบคลุมทุกกลุ่มสินค้าหลัก อาทิ BEAUTY HALL, 
WOMEN & MEN FASHION, POWER MALL, SPORTS MALL, THE LIVING, WATCH GALLERIA, BETREND และ GOURMET MARKET เป็นต้น

“การนำเสนอเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ต้องมีความแตกต่าง ไม่ใช่เพียงการกดเข้าไปเพื่อซื้อสินค้า ที่ M ONLINE จึงนำเสนอในรูปแบบ SHOPPER-TAINMENT ที่มีทั้งสินค้าให้เลือกซื้อผ่านคอนเทนต์ต่างๆ ที่ให้ทั้งแรงบันดาลใจ เข้าถึงง่าย ผ่านการนำเสนอจากผู้คนที่หลากหลาย 

ทั้งเซเลบริตี้ ดารา บล็อกเกอร์ด้านต่างๆ สำหรับสินค้าแต่ละประเภท เพื่อให้ลูกค้าเกิดไอเดียในการช้อปปิ้ง และเติมเต็มความเป็น OMNICHANNEL ด้วยกิจกรรมทั้ง OFFLINE และ ONLINE ที่จะเชื่อมโยงกัน”

กลุ่มสินค้าที่มีศักยภาพ เช่น อีเลกทรอนิกส์ จะมีการนำเสนอทั้งเรื่องของ ENTERTAINMENT, MUSIC, SOCIAL, PLAY, TASTE & SENSE และ HEALTH & BEAUTY และตอกย้ำความเป็น THE FIRST, TRENDSETTER, EXCLUSIVITY ซึ่งลูกค้าจะได้รับชม LIVE ผ่าน M ONLINE เป็นการนำเสนอสินค้าที่เปิดตัวที่ POWER MALL ที่แรกในประเทศไทย หรือสินค้าเทคโนโลยี เครื่องใช้ไฟฟ้ารุ่นใหม่ล่าสุด ผ่าน Key Opinion Leader (KOL) หรือ INFLUENCER ที่จะเข้ามาแนะนำสินค้าและโปรโมชั่น เป็นต้น

นายจักรกฤษณ์ กล่าวอีกว่า จากการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคพบว่า ลูกค้าใช้เวลาใน
มาร์เก็ตเพลส เฉลี่ย 7 นาที ดูเพจต่างๆ 7 เพจ ขณะที่ใช้เวลาดูเว็บไซต์ของอี-รีเทลเลอร์ 2 นาที ดู 2-3 เพจ ขณะที่อัตราการเข้าออกเฉลี่ย 40% สาเหตุสำคัญมาจากการที่ไม่มีคอนเทนต์ที่ถูกตา ถูกใจ จึงยังเป็นโอกาสของผู้ประกอบการหากมีการนำเสนอคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์

อย่างไรก็ตาม พบว่า ตลาดอี-คอมเมิร์ซในปี 2562 ที่มีมูลค่า 1.63 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 2.2 แสนล้านบาทในปี 2563 หรือเติบโตกว่า 35% แบ่งเป็น E-Market place 47% , Social Commerce 38% และ E-Retailers/Brands.com 15%

หน้า 21-22 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,667 วันที่ 4 - 7 เมษายน พ.ศ. 2564

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :