แก้แล้ง !กรมเจ้าท่า พัฒนาแหล่งน้ำ ปลูกป่า 7 เดือน 7,777 ต้น ให้เขียวทั่วอีสาน

03 เม.ย. 2564 | 00:00 น.

  กรมเจ้าท่า พัฒนาแหล่งน้ำสร้างสิ่งแวดล้อม พร้อมใจปลูกป่า 7 เดือน 7,777 ต้น ให้เขียวขจีทั่วอีสานแก้ภัยแล้ง

   กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม เปิดโครงการ "จภ.7 ร่วมพัฒนาแหล่งน้ำ สร้างสิ่งแวดล้อม พร้อมใจปลูกต้นไม้ 7 เดือน 7,777 ต้น" เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำ เพิ่มพื้นที่สีเขียว สร้างความชุ่มชื้น สร้างอาขีพ สร้างรายได้ให้กับชุมชน ณ ตำบลแวง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ในวันที่ 2 เมษายน 2564 โดยมีนายวิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า เป็นประธาน นายเธียรชัย พุทธรังษี รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวต้อนรับ นายวิเชียร เปมานุกรรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 7 กล่าวรายงาน พร้อมด้วยผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ผู้นำท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่ ให้การต้อนรับ

 นายวิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า เปิดเผยภายหลังพิธีเปิดโครงการฯ ว่า "ตนมีแนวนโยบายให้กรมเจ้าท่า เป็นมากกว่ากรมเจ้าท่า ซึ่งนอกจากปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจหลักแล้ว ได้ส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับชุมชน เพื่อสร้างความสามัคคีและมิตรภาพที่ดีระหว่างองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคชุมชน ให้เกิดความเข้มแข็ง โดยได้มอบนโยบายให้กับหน่วยงานในสังกัด ดำเนินการจัดกิจกรรมที่ เป็นประโยชน์ต่อสังคม อาทิกิจกรรมปล่อยพันธุ์ปลาท้องถิ่นคืนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ การปลูกต้นไม้เศรษฐกิจ เพื่อฟื้นฟูสภาพดินภายในบริเวณพื้นที่สาธารณะริมแม่น้ำให้มีความสมบูรณ์ ทำให้พื้นที่เกิดความชุ่มชื้นและเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ

ของประชาชน จึงได้มอบนโยบายผ่านโครงการ "กรมเจ้าท่าร่วมพัฒนาแหล่งน้ำ สร้างสิ่งแวดล้อม พร้อมใจปลูกป่า 7เดือน 7,777 ต้น" เป็นการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน โดยสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 7 ประกอบด้วยสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขา จำนวน 5 สาขา ได้แก่ สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาหนองคายอุบลราชธานี นครราชสีมา นครพนม และขอนแก่น ซึ่งเป็นสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้จัดโครงการฯ ดังกล่าว

 

  แก้แล้ง !กรมเจ้าท่า พัฒนาแหล่งน้ำ ปลูกป่า 7 เดือน 7,777 ต้น ให้เขียวทั่วอีสาน

โดยปลูกต้นไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ จำนวน 7,777 ต้น อาทิ ต้นชิงชัน พะยูง พะยอม ยางนา อินทนิล ต้นไม้ป่า และต้นไม้ประจำถิ่นในพื้นที่สาธารณะประโยชน์หรือพื้นที่ ตำบลแวงอำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็นพื้นที่นำร่องโครงการฯ  นอกจากนี้ ได้สั่งการให้สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือปลูกต้นไม้มีค่า พร้อมทั้งปล่อยปลาตามริมแม่น้ำ ในเวลา 7 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและความชุ่มชื้นของพื้นดินในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน รวมถึงกิจกรรมต่อเนื่องด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง"

   หลังจากนั้น อธิบดีกรมเจ้าท่า และคณะฯ ได้ลงพื้นที่บริเวณแม่น้ำยัง ตำบลวังสามัคคี อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ที่ดำเนินการตามโครงการขุดลอกต่างตอบแทน โดยมีนายมงคล จูฑามาตย์ ผู้ประกอบการ หจก.มงคลทรายทอง  ให้การต้อนรับและให้ข้อมูลการดำเนินการฯ  และเดินทางเข้าตรวจพื้นที่ตลิ่งแม่น้ำยัง บริเวณทางหลวงหมายเลข 36 โดยมีนางพรสวรรค์ กิ่งแก้ว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังสามัคคี ให้การต้อนรับและให้ข้อมูลในพื้นที่

พร้อมขอการสนับสนุนการขุดลอกและเขื่อนป้องกันตลิ่ง เพื่อบรรเทาปัญหาการกัดเซาะริมตลิ่งบริเวณตอม่อสะพานให้กับประชาชนในพื้นที่ และก่อนเดินทางกลับ ได้เรียกประชุมผู้บริหารในพื้นที่ เพื่อมอบโยบายการดูแลความปลอดภัยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ให้เข้มงวดกวดขัน  เกี่ยวกับเรือโดยสาร และแพโดยสารที่ให้บริการนักท่องเที่ยว ต้องมีความปลอดภัย อุปกรณ์ช่วยชีวิตต้องครบถ้วน ทั้งนี้ ต้องประชาสัมพันธ์ พร้อมทั้งแก้ไขปรับปรุงให้เรียบร้อยก่อนเทศกาลฯ ในส่วนจุดอำนวยความสะดวกต้องให้ประชาชนได้เห็นอย่างเด่นชัด ท่าเรือต้องมีความสวยงาม ห้องน้ำต้องสะอาด และให้บริการ พร้อมดูแลความปลอดภัยให้กับประชาชนอย่างเต็มที่

 

         แก้แล้ง !กรมเจ้าท่า พัฒนาแหล่งน้ำ ปลูกป่า 7 เดือน 7,777 ต้น ให้เขียวทั่วอีสาน

 

 

 

นอกจากนี้ กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ยังได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่เกิดขึ้นโดยมนุษย์จากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ออกสู่บรรยากาศโลกในช่วงเวลากว่า 150 ปีที่ผ่านมา ซึ่งในส่วนของกรมเจ้าท่าได้ขับเคลื่อนภารกิจตามนโยบายรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม ในการร่วมมือกับหน่วยงาน ภาคเอกชน พัฒนาเรือโดยสารทุกรูปแบบให้หันมาใช้พลังงานไฟฟ้าทดแทนเพื่อลดสภาวะโลกร้อนและฝุ่น PM 2.5

อีกทั้งการจัดกิจกรรม CSR ต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง อาทิ การปลูกหญ้าแฝกบริเวณริมแม่น้ำ การปล่อยพันธุ์ปลาท้องถิ่นลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ และการปลูกป่าชื่งเป็นแนวทางการพัฒนาเพื่อให้ชุมชนอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน ตามแนวทางพระราชดำริให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้ โดยการพึ่งพาของคนและป่าอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง