“กัญชง” พืชเศรษฐกิจตัวใหม่ สร้างมูลค่าเพิ่มอาหารไทยสู่ครัวโลก

18 มี.ค. 2564 | 11:27 น.

“กัญชง”พืชเศรษฐกิจตัวใหม่ ชูการใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนของต้นจนถึงราก สร้างมูลค่าเพิ่มอาหารไทยสู่ครัวโลก ภาคธุรกิจ เกษตรกร มหาวิทยาลัยจับมือร่วมกันวิจัยพัฒนาต่อยอดผลิตสินค้ามากมาย

ปฏิเสธไม่ได้ว่า “กัญชา - กัญชง” กำลังเป็นกระแสฟีเวอร์มาแรงแซงโค้งพืชทุกชนิด จุดพลุความสนใจของคนไทยในทุกภาคส่วนเป็นวงกว้าง หลังจากที่กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการผลักดันพืชชนิดนี้มาอย่างต่อเนื่องตลอดช่วง 2-3 ปี

ล่าสุดภาครัฐ ยังมุ่งผลักดัน “กัญชง” ให้เป็น “พืชเศรษฐกิจตัวใหม่” ชูการใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนของต้นจนถึงราก อีกทั้งมีมูลค่าในตลาดโลกในปี 2562 สูงถึง 4,600 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.4 แสนล้านบาท ยิ่งสร้างความตื่นตัวให้ทุกภาคส่วน ทั้งภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เกษตรกร ตลอดจนมหาวิทยาลัยที่ลุกขึ้นมาจับมือร่วมกันวิจัยพัฒนาต่อยอดนำเป็นสินค้ากันอย่างมากมาย

“กัญชง” พืชเศรษฐกิจตัวใหม่ สร้างมูลค่าเพิ่มอาหารไทยสู่ครัวโลก

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการผลักดันเชิงพาณิชย์เริ่มมีความชัดเจนคาดการณ์กันว่าจะมีการทยอยออกกฎหมายมาอนุญาตให้ใช้ในการผลิตเครื่องดื่ม อาหาร อาหารเสริม รวมไปถึง เครื่องสำอาง จึงไม่น่าแปลกใจที่เห็นความเคลื่อนไหวของบริษัทไทยน้อยใหญ่ออกมากางโปรเจ็กต์นำ “กัญชง” เข้ามาในไลน์ธุรกิจใหม่กันอย่างคึกคัก ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม อาหาร ซอสปรุงรส เครื่องสำอาง ต่างกระโดดเข้าร่วมวงแบบไม่ยอมตกขบวนรถแห่งโอกาสในการสร้างการเติบโตของผลประกอบการในอนาคต

อีกความเคลื่อนไหวเป็นที่จับตามองของทุกคน เมื่อ เครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ผู้นำธุรกิจเกษตรและอาหารแบบครบวงจร ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สถาบันชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญด้านการเกษตร และมีความพร้อมในองค์ความรู้ด้านการผลิตพืชกัญชงในวิถีอินทรีย์มาอยู่แล้ว

เมื่อมาผนวกผนวกกับความเข้มแข็งในด้านการวิจัยสายพันธุ์พืช ของเครือซีพี รวมทั้ง Know how และเทคโนโลยีด้านการผลิตอาหารแบบครบวงจร ของ ซีพีเอฟ ที่จะมาช่วยต่อยอดสู่การแปรรูป สร้างสรรค์นวัตกรรมจากกัญชงตอบโจทย์สุขภาพและความต้องการของผู้บริโภค จนถึงการจำหน่าย ซึ่งจะช่วยให้การใช้ประโยชน์จากกัญชงครบทั้ง Value Chain

สิ่งที่น่าสนใจอีกเรื่อง การผนึกพลังความรู้ความเชี่ยวชาญของสถาบันการศึกษาและภาคเอกชนในครั้งนี้ เป็นความร่วมที่ร่วมพัฒนา “พืชเศรษฐกิจ” แบบครบวงจร โดยมหาวิทยาลัยรับผิดชอบด้านต้นน้ำ (Upstream) ดูแลสายพันธุ์ จนถึงการเพาะปลูก ขณะที่ ซีพีเอฟ เน้นด้านปลายน้ำ (Downstream) พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด นับเป็นการพลิกโฉมเข้ามาสร้างมูลค่าให้กับภาคอุตสาหกรรมเกษตรอาหารของไทย

โดยม.แม่โจ้ไม่เพียงมีความรู้และประสบการณ์ในการจัดการปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ เพื่อการผลิตวัตถุดิบอย่างมีคุณภาพ ปลอดภัยตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ยังมีแผนการวิจัยกัญชงสายพันธุ์ไทยแท้ ไม่ต้องพึ่งพาเข้าพันธุ์จากต่างประเทศที่มีราคาสูง

“กัญชง” พืชเศรษฐกิจตัวใหม่ สร้างมูลค่าเพิ่มอาหารไทยสู่ครัวโลก

ด้าน ซีพีเอฟเอง มีศูนย์วิจัยและพัฒนา อย่าง RD Center สามารถต่อยอดนำสารสกัดมาแปรรูปเป็นอาหาร อาหารเสริม หรือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ รวมทั้งมีเครือข่ายการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ จึงเป็นความเคลื่อนไหวที่สำคัญและน่าติดตามยิ่งนัก

ทั้งนี้ จากการคาดการณ์กันว่ามูลค่าการตลาดโลกของกัญชงมี แนวโน้มเติบโตจะสูงถึง 8 แสนล้านบาทภายในปี 2568  จึงนับเป็นโอกาสที่สำคัญของเศรษฐกิจไทย ที่ใช้จุดแข็งของเป็นประเทศที่มีพื้นที่และอากศที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก บนพื้นฐานของความร่วมมือจากทุกฝ่าย เพื่อสร้างอาชีพที่มั่นคงของพี่น้องเกษตรกรที่เป็นต้นทางของการผลิตกัญชง เพื่อให้การดำเนินการทุกขั้นตอนอยู่ในกรอบของกฎหมายและปลอดภัยต่อผู้บริโภค

 เพราะกัญชงเป็นพืชที่ดูดซับอาหารทุกอย่างในดินได้ดีมากถึง100% ดังนั้นการปลูกวิถีอินทรีย์ของม.แม่โจ้ จะมาช่วยการันตีว่าพี่น้องเกษตรกรสามารถผลิตพืชกัญชงคุณภาพ ปลอดภัย ปราศจากสารปนเปื้อนในปริมาณที่มากเพียงพอสำหรับการผลิตอาหารได้อย่างต่อเนื่อง หากกฎหมายมีความชัดเจนมากขึ้น เราคงได้เห็นผลิตภัณฑ์อาหารเกี่ยวกับกัญชงของซีพีเอฟออกมาวางจำหน่ายในปีนี้

ความร่วมมือด้านกัญชงของสององค์กรในครั้งนี้  ช่วยสร้างประโยชน์อย่างยิ่งต่อห่วงโซ่การผลิตทั้งระบบเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารของประเทศ ตอบโจทย์อาหารสุขภาพ สร้างเป็นโปรดักส์แชมเปี้ยนของประเทศ กลายเป็นจุดแข็งที่จะปูทางช่วยให้ประเทศไทยเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดโลกได้ไม่น้อย และน่าจะเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่จะช่วยให้ประเทศไทยอยู่ใน Top Ten ของการเป็นผู้ส่งออกอาหารโลกได้

นับว่าตรงตามปรัชญา 3 ประโยชน์ที่เครือซีพี-ซีพีเอฟ ยึดเป็นหลักในการดำเนินธุรกิจที่ช่วยสร้างประโยชน์ให้แก่เศรษฐกิจของประเทศชาติ  พี่น้องเกษตรกรมีอาชีพที่เพิ่มขึ้นอย่างมั่นคงในอนาคต ขณะที่ผู้บริโภคมีทางเลือกอาหารเพื่อสุขภาพที่ได้มาตรฐาน ปลอดภัยหลากหลายมากขึ้น และสร้างการเติบโตให้ประเทศ และบริษัทควบคู่ไปด้วยกัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง