สมาคมสันนิบาตฯอ้างโควิดร้องกกต.เลื่อน“เลือกตั้งเทศบาล”ไม่มีกำหนด

18 มกราคม 2564

สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย อ้างการแพร่ระบาดโควิด-19 ชงกกต.ให้เลื่อน “เลือกตั้งเทศบาล” จากที่กำหนดไว้ 28 มี.ค.64 ออกไปจนกว่าโควิดจะคลี่คลาย หรือประชาชนได้รับวัคซีนแล้วอย่างทั่วถึง

บ่ายวันนี้(18 ม.ค.64) นางสาวสมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต นายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย ได้มอบหมายให้ นายศุภสัณห์ หนูสวัสดิ์ เลขาธิการสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย เป็นผู้แทนในนามสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย เข้ายื่นหนังสือต่อ พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง(เลขาฯ กกต.)  เพื่อขอให้ทบทวนการกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรี


โดยหนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือ “ด่วนที่สุด” ทำถึง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง และเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง เนื้อหาระบุว่า


เรื่อง ขอให้ทบทวนการกําหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรี เรียน ประธานกรรมการการเลือกตั้ง อ้างถึง ข่าวสํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง แผนการจัดการเลือกตั้งและประกาศกําหนดให้มีการ เลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรี เผยแพร่ ณ วันที่ 14 มกราคม 2564

                                                                                          ร้อง กกต.เลื่อนเลือกตั้งเทศบาล


ตามที่ สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง กําหนดแผนการจัดการเลือกตั้งและประกาศกําหนด ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรีตามที่อ้างถึง คณะกรรมการการเลือกตั้งจะประกาศ กําหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 มีผลทําให้สมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรีต้องพ้นจากตําแหน่งในวันดังกล่าว และกําหนดวันเลือกตั้งในวันที่ 28 มีนาคม 2564 นั้น


สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย ขอเรียนว่า ในนามผู้แทนเทศบาลทั่วประเทศรู้สึก เป็นกังวลที่คณะรัฐมนตรีและคณะกรรมการการเลือกตั้งจะจัดให้มีการเลือกตั้งภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ระลอกใหม่ในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันยังมีผู้ติดเชื้อรายวันกว่า 200 คนอย่างต่อเนื่อง และกระจายไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศและมีจังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นรวมกว่า 60 จังหวัดแล้ว นั่นแสดงให้เห็นว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดยังไม่มีแนวโน้มที่จะดีขึ้น สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่ง ประเทศไทยเกรงว่า การจัดให้มีการเลือกตั้งภายใต้สภาวการณ์เช่นนี้เป็นการไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง ด้วยเหตุผล หลายประการ ดังนี้


1. ประชาชนอาจออกไปใช้สิทธิน้อย เนื่องจากกลัวการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และเสี่ยงที่จะทําให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จากหน่วยเลือกตั้งได้ ถึงแม้จะมีการคัดกรองประชาชน ที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 37.5 องศา ก่อนเข้าคูหาเลือกตั้ง เพราะการระบาดรอบใหม่ พบผู้ป่วยจํานวนมากที่ไม่แสดง อาการ


2. แต่ละพื้นที่มีการแพร่ระบาดไม่เท่ากันและมีมาตรการในแต่ละพื้นที่จังหวัดไม่เหมือนกัน หากผู้มีสิทธิจะเดินทางไปใช้สิทธิ แต่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดและต้องโดนกักตัวในจังหวัดพื้นที่โรค ระบาด 14 วัน ไม่ได้ไปใช้สิทธิ เท่ากับจะทําให้ผู้นั้นเสียสิทธิเสรีภาพในการเลือกตั้ง และหากมีการร้องเรียนให้ การเลือกตั้งนั้นเป็นโมฆะ จะก่อให้เกิดปัญหาได้


3. เทศบาลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตเมืองและชุมชน มีความหนาแน่นของ ประชากรในพื้นที่ โดยเฉพาะเทศบาลขนาดใหญ่ จะมีจํานวนประชากรมาก การแพร่ระบาดของโรคจึงสามารถ เกิดได้ง่ายกว่านอกเขตเมืองหรือชนบท และเมื่อมีประชากรมาก ผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็จะมีจํานวนมากตามไป การกําหนดหน่วยเลือกตั้งก็จะมีจํานวนมากตามจํานวนผู้มีสิทธิ และหากยึดการจัดหน่วยเลือกตั้งสมาชิกสภา องค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ผ่านมา ที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง กําหนดให้หน่วยงานเลือกตั้งหนึ่งให้มีผู้มีสิทธิ จํานวน 600 คน เป็นประมาณเนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด-19 ยิ่งทําให้ต้องเพิ่มหน่วยเลือกตั้งอีกร้อยละ 30-40 ก็ทําให้หน่วยงานเลือกตั้งที่มีจํานวนมากอยู่แล้วต้องเพิ่มจํานวนขึ้นไปอีก 


เช่น เทศบาลนครนครราชสีมา เทศบาลนครนนทบุรี เทศบาลนครเชียงใหม่ เมื่อหน่วยเลือกตั้งเพิ่ม คณะกรรมการประจําหน่วยก็ต้องเพิ่มตามไปด้วย ฉะนั้น จะเป็นปัญหาในการจัดประชุมซักซ้อม การทํางานของคณะกรรมการประจําหน่วยหน่วยเลือกตั้ง ทั้งเรื่องสถานที่ประชุม และจํานวนผู้เข้าร่วมประชุม ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรค โดยเฉพาะพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด และพื้นที่ควบคุมสูงสุด

 

4.การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ที่ผ่านมา การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังอยู่ในสถานการณ์ไม่รุนแรง จํากัดเฉพาะพื้นที่บางจังหวัดยังไม่แพร่ระบาดไปทั่วประเทศอย่างเช่นในปัจจุบัน การจัดการเลือกตั้งในสถานการณ์เช่นนี้ จึงจะเป็นการเพิ่มความ เสี่ยงให้เกิดการแพร่ระบาดโดยไม่เหมาะสมกับสถานการณ์อย่างยิ่ง


5.การระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกแรก เทศบาลเป็นผู้มีบทบาทสําคัญในพื้นที่ โดยร่วมมือกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ระดมสรรพกําลังเครือข่ายภาคประชาชน ที่ประกอบด้วยคณะกรรมการชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน ประชาชนจิตอาสา สมาชิกสภาเทศบาลและเจ้าหน้าที่ของเทศบาล ตลอดจน งบประมาณในการตั้งจุดคัดกรอง และตรวจเอ็กซเรย์เชิงรุกในชุมชน จนสามารถฝันฝ่าการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ ในแต่ละพื้นที่มาได้ 


และในการระบาดรอบใหม่นี้ สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยก็มี จดหมาดเปิดผนึกขอความร่วมมือให้เทศบาลทุกแห่งทั่วประเทศ ใช้จุดแข็งดังกล่าว ร่วมแรงร่วมใจทํางานเชิงรุกดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับหน่วยงานด้านสาธารณสุข เพื่อเอาชนะการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ ให้เร็วที่สุด 


การกําหนดให้มีการเลือกตั้งตามกําหนดดังกล่าว จึงจะเป็นการเพิ่มภาระให้กับเทศบาลและประชาชน โดยไม่จําเป็นภายใต้สถานการณ์วิกฤตของโรค และจะทําให้การจัดหาทรัพยากรบุคคลในการดําเนินการภารกิจ สองอย่างให้ลุล่วงยิ่งยากขึ้น และเมื่อผนวกกับหน่วยงานเลือกตั้งที่ต้องเพิ่มขึ้นตามที่กล่าวไปแล้วในข้อ 3 ก็ยิ่งทํา ให้สรรหาคนมาทํางานยากขึ้นเป็นเท่าทวีคูณ


6. เมื่อมีประกาศให้มีการเลือกตั้งในวันใด สมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรีต้องพ้นจาก ตําแหน่งในวันนั้นเช่นกัน ในสถานการการแพร่ระบาดของโควิด-19 เช่นนี้ บางครั้งจําเป็นที่จะต้องใช้อํานาจ การบริหารในการตัดสินใจเชิงนโยบายที่รอบคอบ ฉับพลันให้ทันกับสถานการณ์ แต่ปลัดเทศบาลที่ปฏิบัติหน้าที่ นายกเทศมนตรีถูกจํากัดอํานาจไว้โดยกฎหมาย ประกอบกับไม่มีสภาเทศบาลที่จะช่วยกลั่นกรองและตัดสินใจ ให้รอบคอบในบางเรื่องที่สําคัญ อาจทําให้ปลัดเทศบาลไม่กล้าตัดสินใจภายใต้สถานการณ์วิกฤติได้อย่างทันท่วงที 


ยกตัวอย่าง กรณีที่ปรากฏเป็นข่าวทางสื่อต่าง ๆ ว่าหลายเทศบาลประสงค์จะจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เพื่อฉีดให้กับประชาชนในพื้นที่ โดยใช้งบประมาณของเทศบาลเอง ซึ่งรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขก สนับสนุนกับแนวคิดนี้ และเป็นการแบ่งเบาภาระด้านงบประมาณของรัฐบาล ซึ่งในการดําเนินการดังกล่าวอาจ ต้องใช้งบประมาณจํานวนมาก ซึ่งจําเป็นต้องผ่านความเห็นชอบหรืออนุมัติจากสภาเทศบาลก่อน ก็จะไม่ สามารถดําเนินการได้ ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็จะทําให้ประชาชนในพื้นที่นั้นเสียโอกาสที่จะได้รับวัคซีนโดยเร็ว และหาก มองในภาพรวมประเทศก็ยิ่งทําให้การกระจายวัคซีนให้แก่ประชาชนล่าช้าออกไป และความคาดหวังในการฟื้นฟู เศรษฐกิจประเทศภายหลังที่ประชาชนได้รับวัคซีนก็ยิ่งล่าออกไป

 


7.ปัจจุบันหลายจังหวัด ที่อยู่เขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด และพื้นที่ควบคุมสูงสุด มีการ กําหนดมาตรการห้ามประชาชนเดินทางเข้า - ออกจังหวัด มาตรการนี้จะทําให้เกิดความไม่เสมอภาคและเป็น อุปสรรคในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชน ซึ่งจะเป็นการขัดต่อหลักการประชาธิปไตย ที่มีความจําเป็นต้อง เคารพในทุกเสียง ถึงแม้จะเป็นเสียงส่วนน้อย


8.ในหลักการของการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย ผู้สมัครรับเลือกตั้ง มีความจําเป็นที่จะต้องนําเสนอนโยบายและวิสัยทัศน์ เพื่อให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง เปรียบเทียบและตัดสินใจในการเลือกผู้สมัคร การปราศรัยการเลือกตั้ง ถือเป็นเวทีสาธารณะที่มีความสําคัญยิ่งในการแสดงวิสัยทัศน์ ภาวะผู้นํา ปฏิภาณ ไหวพริบ ของผู้สมัครรับเลือกตั้ง มากกว่าการสื่อสารในช่องทางอื่น ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีสื่อทางโซเชียลมีเดีย แต่ก็ไม่สามารถที่จะทดแทน และครอบคลุมในทุกมิติ ทั้งปริมาณ และคุณภาพ เท่ากับการปราศรัยสด เพราะฉะนั้น ในสถานการการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 การปราศรัยสดก็จะเป็นอีกข้อจํากัด ที่ทําให้ ประชาชนขาดโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลเพื่อการตัดสินใจอย่างครบถ้วน อันจะนําไปสู่การเลือกผู้นําของตนเอง อย่างมีคุณภาพ


สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย จึงขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาทบทวน การกําหนดให้มีการเลือกตั้งดังกล่าว โดยพิจารณาถึงผลดีและผลเสียที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบด้าน โดยอาจเลื่อน การเลือกตั้งออกไปก่อนจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะคลี่คลาย หรือเมื่อประชาชน ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วอย่างทั่วถึงต่อไป

    ร้องกกต.เลื่อนเลือกตั้งเทศบาล                    ร้องกกต.เลื่อนเลือกตั้งเทศบาล                        ร้องกกต.เลื่อนเลือกตั้งเทศบาล