หมอธีระวัฒน์ เผยความเป็นไปได้ " ใช้กัญชา-กัญชง " รักษาปอดอักเสบ ผู้ป่วยโควิด-19

06 ม.ค. 2564 | 05:14 น.

ผอ.ศูนย์โรคอุบัติใหม่ จุฬาฯ เผยผลวิจัยต่างประเทศ ไขปม ใช้สารในกัญชา - กัญชง รักษาอาการปอดอักเสบ หนุนใช้เป็นวิธีร่วม กับแพทย์แผนปัจจุบัน รักษาผู้ป่วยเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้

6 ม.ค. 2563 - ศ.นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยเปิดเผย ว่า พบข้อเท็จจริงในการใช้พืช กัญชาและกันชงรวมถึงสารออกฤทธิ์ในกัญชาที่เรียกว่า "เธอปีน" ในการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ 

โดยระบุว่า ข้อมูลดังกล่าว มาจากคณะผู้วิจัยหลายแห่งตั้งเป้าในการลดการอักเสบอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นใน โควิด-19 และเป็นต้นตอให้เกิดปอดเสียหายอย่างรุนแรงและตามมาด้วยการเกิดเยื่อพังผืดและทำให้ปอดเสียหายถาวร แม้ว่าจะกำจัดไวรัสตายหมดแล้ว ซึ่งการศึกษาในหนูที่ติดเชื้อ โควิด-19 รักษาโดยการให้สารที่กระตุ้นการสร้าง interferon หรือให้กัญชง CBD เมื่อเทียบกับไม่ให้อะไรเลย พบว่ากลุ่มที่ให้ CBD มีอาการดีกว่าและปอดถูกทำลาย น้อยกว่า รวมทั้งการอักเสบจะลดลง และดูว่าจะสัมพันธ์กับระดับของ apelin ที่เพิ่มขึ้น

ขณะที่ผู้วิจัยอีกคณะ ได้ทดสอบโดยใช้สารออกฤทธิ์ THC ในรูปแบบการทดลองที่ทำให้เกิดสภาพปอดเสียหายในระดับวิกฤต ARDS จาก การได้รับ Staphylococcal Enterotoxin B Exposure ดังนั้น เนื่องจากพยาธิสภาพ มีลักษณะคล้ายกันกับที่พบใน โควิด-19 ที่มีมรสุมภูมิวิกฤติ cytokine storm ดังนั้นจึงมีทางเป็นไปได้ในการใช้กัญชาในการลดการอักเสบที่จะนำไปสู่ความเสียหายรวมทั้งการเกิดเยื่อพังผืดในเนื้อปอด 

อีกด้าน คณะผู้วิจัยจากอิสราเอลเสนอใช้การรักษาด้วย CBD (กัญชง) ร่วมกับ เธอปีน terpenes ในโควิด-19 เพื่อลดการอักเสบที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง โดยการทดสอบในหลอดทดลองโดยนำเม็ดเลือดขาวของคนปกติและกระตุ้นให้เกิดการอักเสบจากการใส่.Lipopolysaccharides และหลังจากนั้นเปรียบเทียบการใช้กันชงร่วมกับเธอปีนเทียบกับสเตียรอยด์ ใน cytotoxicity assay พบว่าได้ผลในการลดการอักเสบดีกว่าสเตียรอยด์ ทั้งนี้ เป็นการศึกษาในหลอดทดลอง และเนื่องจากการสารออกฤทธิ์ดังกล่าว ไม่มีผลต่อสภาวะทางจิตใจและเป็นการใช้ทางการแพทย์โดยที่กัญชง ไม่ผิดกฎหมาย อีกทั้งสารออกฤทธิ์เธอปีน ไม่มีผลต่อจิตประสาทเช่นเดียวกัน ดังนั้นควรนำมาใช้ร่วมกับการรักษาแผนปัจจุบันในผู้ป่วย โควิด-19 ได้

นายแพทย์ ธีระวัฒน์ ระบุทิ้งท้ายว่า เป็นการใช้กัญชาเป็นยาในทางการแพทย์ ไม่ใช่เป็นการเสพเพื่อความสนุกเฮฮา ซึ่งเรื่องดังกล่าว มีการอบรมมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับผู้ขาดความรู้และความเข้าใจจำเป็นต้องศึกษาทั้งหลักฐานกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และหลักฐานประจักษ์ในผู้ป่วยที่กระทรวงสาธารณสุขได้นำไปใช้ในชุมชนเกือบ 20,000 รายและทำการติดตามเป็นระยะนาน 1 ปี