“เอกชน”-“อุดมศึกษา”-“สถานศึกษา”สร้างอาชีวะรุ่นใหม่ป้อนอุตสาหกรรม4.0

22 ธ.ค. 2563 | 13:50 น.

“เอกชน”-“อุดมศึกษา”-“สถานศึกษา”ผนึกกำลังสร้างอาชีวะรุ่นใหม่ป้อนตลาดอุตสาหกรรม4.0

นายอธิชาต ทองอยู่ ประธานคณะทำงานประสารงานด้านการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC-HDC) เปิดเผยว่า ภาคอุตสาหกรรม สถาบันการอุดมศึกษา และสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาได้ดำเนินการร่วมมือกันช่วยผลักดันในการพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้ามากขึ้น พร้อมทั้งในส่วนอาชีวะก็จะร่วมมือกับกระทรวงศึกษาปรับโครงสร้างคุณภาพอาชีวะใหม่

ทั้งนี้  ด้วยการทำให้แต่ละอาชีวะที่เป็นเป้าหมาย มีความพร้อมด้านบุคคลากร ทรัพยากร และความก้าวหน้าทางการศึกษา ซึ่งคาดว่าจะเริ่มได้ในปีนี้ประมาณ  6 – 7 แห่งในพื้นที่ EEC และ ภายนอก EEC โดยเป็นไปตามเป้าหมาย EEC และ HDC ที่ได้กำหนดไว้ให้เกิดความร่วมมือ ทั้ง 3 ฝ่าย ซึ่งจะมีภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC เป็นผู้นำในการที่จะช่วยผลักดัน
              ทั้งนี้  การปรับโครงสร้างการศึกษาซึ่งจะยกระดับการศึกษาแบบเดิม ๆ  มาสู่การศึกษาแบบก้าวหน้า และผลิตบุคคลากรได้มากขึ้น อย่างน้อย 2 เท่า จากเดิมที่ผลิตได้ ซึ่งจะช่วยตอบโจทย์ EEC ในแบบก้าวหน้า เพราะว่าบุคคลากรกลุ่มอาชีวะที่เราต้องการ เป็นอัตราส่วน 54 % ของบุคคลากรใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย อีกทั้งขณะนี้รัฐนตรีกระทรวงศึกษาธิการ ได้เห็นชอบในหลักการเบื้องต้น ซึ่งเรากำลังเร่งทุกอย่าง เพื่อให้เข้าสู่โหมดเทคโนโลยี 4.0 ที่จะยกระดับการศึกษาให้สามารถทำงานได้ ซึ่งจะเป็นตัวเร่งให้การศึกษาอาชีวะไม่หลงทาง และมีทิศทางที่ชัดเจน

“เอกชน”-“อุดมศึกษา”-“สถานศึกษา”สร้างอาชีวะรุ่นใหม่ป้อนอุตสาหกรรม4.0

“การทำงานร่วมกันในอุตสาหกรรมระหว่างแรงงานคน กับเครื่องจักร ในประประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลกมีมานาน แต่ประเทศไทยเพิ่มจะเริ่มต้นอย่างจริงจัง ซึ่งในฐานะที่ได้รับผิดชอบเรื่องการพัฒนาบุคลลากร และการศึกษา จึงคิดว่าการทำให้สถาบันการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมจึงมีความจำเป็น เพราะจะช่วยในเรื่องการประหยัดต้นทุน และ ประหยัดเวลามากที่สุด เพราะอุตสาหกรรมเป็นแหล่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีตามมาตรฐานต่าง ๆ และเป็นแหล่งงานสำหรับของผู้ที่จบการศึกษา รวมทั้งเป็นแหล่งที่มีผู้เชี่ยวชาญ และเงินทุน ที่สามารถจะร่วมกับสถานศึกษาได้ ทำให้สถานศึกษามีการพัฒนาได้เร็วยิ่งขึ้น”
 

นายชิต เหล่าพัฒนา รองประธานคณะทำงาน EEC-HDC และผู้ก่อตั้งสถาบันวิทยาการหุ้นยนต์ภาคสนาม กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าอุตสาหกรรม 4.0 เรื่องหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการอุตสาหกรรมประเภทนี้ โดยพบใน EEC 10 S CURVE ต่างมีลักษณะการใช้เทคโนโลยีอย่างเต็มที่ การที่อาชีวะมีความสนใจมาก ที่เข้ามาช่วยในเรื่องนี้ เป็นที่สำคัญ เพราะว่าผู้ชำนาญการในระบบยังขาดแคลนจำนวนมาก 

ซึ่ง EEC ได้มีการหารือกับกระทรวงศึกษา และกรมอาชีวะ ว่า ขณะที่มีการพัฒนากระบวนการการผลิตเกี่ยวกับอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งเราอยากมีความร่วมมือกับทางอาชีวะ เพื่อที่จะผลิตกำลังคนเข้าไปช่วยอุตสาหกรรมในการพัฒนาผู้เชียวชาญหุ่นยนต์ ทั้งนี้ปัจจัยมีเด็กอาชีวะที่มีความรู้ทางด้านอุตสาหกรรม 4.0 เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อุตสาหกรรมเดินต่อได้ ทั้งอุตสาหกรรมปัจจุบันและอุตสาหกรรมที่กำลังเข้ามา

“หุ่นยนต์เป็นผู้ร้ายในสมัย 20 ปีที่แล้ว ที่ตนได้เริ่มพูดเรื่องหุ่นยนต์ในประเทศไทย แต่ปัจจุบันนี้หุ่นยนต์ได้มีบทบาทมากขึ้น เนื่องจากแรงงานในระดับล่างขาดแคลน จึงทำให้มีความสำคัญมากขึ้น เพราะหุ่นยนต์ในปัจจุบันไม่ได้ทำงานอัตโนมัติอย่างเดียว แต่จะต้องมีความสำคัญกับอุตสาหกรรมทางด้านดิจิทัล ซึ่งทางกสทช. กระทรวงดีอี ได้มีการเปิดใช้คลื่น 5G ในความถี่ 700 MHz ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการควบคุมระบบหุ่นยนต์ และระบบอุตสาหกรรม ดังนั้นหุ่นยนต์ในปัจจุบัน จึงไม่ใช้แขนกล หรือขากล ที่ทำงานอย่างอัตโนมัติ ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย แต่จะทำงานอย่างเป็นหมวดหมู่”

อย่างไรก็ดี บริษัท เอส เอ็น ซี ฟอร์เมอร์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทฯในพื้นที EEC ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาบุคคลกรในการสร้างรูปแบบอุตสาหกรรมใหม่ ด้วยการส่งพนักงานระดับอาชีวะเข้าร่วมอบรมศักยภาพด้านหุ่นยนต์ และเปิดโอกาสให้เด็กอาชีวะได้ไปฝึกงานในโรงงาน เพื่อต่อยอดไปสู่การศึกษาในมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งคาดว่าภายใน 2 – 3 ปี โดยเฉพาะในพื้นที่ EEC จะได้เห็นสถานบันอาชีวะกับมหาวิทยาลัยร่วมมือกันมากขึ้น

นายสมชัย ไทยสงวนวรกุล ประธานคณะกรรมการ EEC-Industrial Forum (EIF) กล่าวว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมได้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาควบคุม และช่วยในการพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตที่สูงขึ้นเทียบเท่าระดับสากล EEC จึงได้พัฒนาบุคคลกรให้มีสมรรถนะในสาขาอาชีพ สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมเพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งก่อให้เกิดความร่วมมือ 3 ฝ่าย คือ สถานประกอบการ สถาบันอุดมศึกษา และสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา เพื่อให้เห็นถึงเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพอย่างชัดเจน
              “อนาคตที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งระดับอาชีวะศึกษาจะมุ่งเน้นในการสร้างทักษะ เพื่อเข้าสู่การประกอบอาชีพในสายอุตสาหกรรม ตามหลักสูตรที่กำหนด และเมื่อจบการศึกษาก็สามารถทำงานต่อในสถานประกอบการเดิมได้ และมีรายได้สูงขึ้น ส่วนผู้ประกอบการก็จะได้บุคลากรที่มีคุณภาพ สร้างผลกำไร และเติบโตอย่างยั่นยืน”