พรุ่งนี้ รอชมปรากฏการณ์ "ดาวเสาร์ใกล้โลก" ที่สุดในรอบปี

20 ก.ค. 2563 | 13:31 น.

พรุ่งนี้ 21 ก.ค. ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี NARIT เตรียมตั้งกล้องฯ จัดส่องวงแหวนดาวเสาร์ 4 จุดสังเกตการณ์

21 กรกฎาคม 2563 ดาวเสาร์ใกล้โลก ในรอบปี โดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือ National Astronomical Research Institute of Thailand (NARIT)  ดาวเสาร์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์  โดยจะมีดวงอาทิตย์ โลก ดาวเสาร์ เรียงกันในแนวเส้นตรง ส่งผลให้ ดาวเสาร์ใกล้โลก มีระยะใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี (Saturn Opposition) ห่างประมาณ 1,346 ล้านกิโลเมตร ในวันดังกล่าวเมื่อดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้า จะมองเห็นดาวเสาร์ปรากฏอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และจะสังเกตได้ยาวนานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า ดูผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 4 นิ้ว หรือมีกำลังขยายตั้งแต่ 50 เท่าขึ้นไป จะเห็นวงแหวน A และวงแหวน B แยกกันอย่างชัดเจนโดยมีช่องแบ่งแคสสินีอยู่ตรงกลางระหว่างวงแหวนทั้งสอง

คืนดังกล่าวยังคงมีดาวพฤหัสบดีสว่างปรากฏใกล้กับ ดาวเสาร์ อีกด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

ดาวหาง นีโอไวส์ (NEOWISE) ใกล้โลก ครั้งเดียวในรอบกว่า 6000 ปี

 

รู้จัก "ดาวหาง นีโอไวส์ (NEOWISE)" ก่อนโคจรใกล้โลกที่สุด 23 ก.ค.นี้

 

"ดาวหางนีโอไวส์" ดูอย่างไร -เวลาใด เห็นชัดสุด เช็กได้ที่นี่ ​​​​​​​

 

NARIT เตรียมจัดกิจกรรมสังเกตการณ์ ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี ส่องวงแหวนดาวเสาร์แบบเต็มตาผ่านกล่องโทรทรรศน์  ในวันอังคารที่ 21 กรกฎาคม 2563 ที่จะถึงนี้ ณ จุดสังเกตการณ์หลัก 4 แห่ง ที่อุทยานดาราศาสตต์สิรินธร จ.เชียงใหม่ หอดูดาวภูมิภาคโคราช ฉะเชิงเทรา และสงขลา ในรูปแบบ New Normal ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย  ตั้งแต่เวลา 18:00 - 22:00 น.

เปิดให้เข้าชมนิทรรศการดาราศาสตร์และท้องฟ้าจำลองรอบพิเศษ  3 รอบ

รอบ่แรกช่วงเวลา 18:00 - 19:00 น.

รอบที่สอง  19:30 - 20:30 น.

รอบที่สาม  21:00 - 22:00 น.

ค่าเข้าชม : เด็ก นักเรียน  นักศึกษา 30 บาท

ผู้ใหญ่ 50 บาท

 

 

สำรองที่นั่งท้องฟ้าจำลองล่วงหน้าได้ที่

- อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

โทร. 084-0882261 หรือ

ไลน์แอด @narit.astropark

- หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา

โทร. 086-4291489 / 044-216254

- หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ ฉะเชิงเทรา

โทร. 084-0882264 / 038-589395

- หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา

โทร. 074-300868 / 095-1450411

พรุ่งนี้ รอชมปรากฏการณ์ "ดาวเสาร์ใกล้โลก" ที่สุดในรอบปี