ไม่ง่าย เรียนออนไลน์ ผ่านทีวีดิจิทัล หลังเด็กไทยขาดกล่องรับสัญญาณ 1.5 ล้าน

15 พ.ค. 2563 | 12:59 น.

18 พ.ค.เตรียมทดลองการเรียน-สอน ผ่านออนไลน์ แต่พบปัญหาไม่มีกล่องรับสัญญาณให้เด็กไทย 1.5 ล้านราย

ศธ.เตรียมทดลองการเรียนการสอนทางไกล-ออนไลน์ทั่วประเทศ 18 พ.ค.-30 มิย. ตั้งแต่ระดับอนุบาล-มัธยมศึกษาตอนปลาย ผ่านทีวีดิจิทัล 17 ช่อง ช่อง 37-53 พร้อมรับการสนับสนุนกล่องรับสัญญาณ 1.5 ล้าน รวมทั้งตารางเรียนระดับม.ปลายสพฐ.จัดทำยังไม่เรียบร้อย

ว่ากันว่ารูปแบบการเรียนการสอน ตารางเรียน อุปกรณ์ สื่อต่างๆในระดับอนุบาล 1 -มัธยมศึกษาปีที่ 3 จะใช้ของมูลนิธิการศึกษาทางไกลที่มีศักยภาพในการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมมากว่า 25 ปี และมีการจัดทำสื่อต่างๆ ไว้อยู่แล้ว โดยจะเป็นเทปบันทึกภาพที่จัดการเรียนการสอนโดยครูโรงเรียนวังไกลกังวล และสพฐ.จะจัดตารางเรียน สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมเพิ่มเติม

ขณะที่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สพฐ.จะเป็นผู้จัดทำสื่อการเรียนการสอน และจัดตารางเรียน ผ่านคัดเลือกสรรครูผู้สอนจากโรงเรียนดังมา“ณัฎฐพล ทีปสุวรรณ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมว.ศธ.) กล่าวว่าวันที่ 18 พ.ค. จะการประชุมผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนท์ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด 9 จังหวัดในฐานะประธานคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) เพื่อหารือถึงประเด็นการเตรียมความพร้อมการจัดการเรียนการสอนช่วงโควิดนี้ศธ.ต้องการให้เด็กทุกคนทั่วประเทศได้รับการเติมเต็มคุณภาพการศึกษาอย่างเต็มที่

สำหรับตารางเรียนระดับอนุบาล-ม.3 มูลนิธิการศึกษาทางไกล ได้มีการจัดทำไว้หมดแล้ว อาทิ ตารางกิจกรรมประจำวัน เริ่มช่วงออกอากาศเป็นเวลา08.40-11.00 น. จะมีการรายงานตัวทางโทรศัพท์ line อื่นๆ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวัด กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ และพัก ก่อนจะมาทำกิจกรรมเล่นตามมุม

ไม่ง่าย เรียนออนไลน์ ผ่านทีวีดิจิทัล หลังเด็กไทยขาดกล่องรับสัญญาณ 1.5 ล้าน

ระดับม.ปลายสพฐ.กำลังจัดทำตารางเรียนอยู่ และได้มีการถ่ายทำเนื้อหาสาระอยู่ โดยช่วงคาบเรียนแรก 20 นาที จะเป็นการเรียนรู้ตามบันทึกเทป และ 20 นาทีหลังจะเป็นการเรียนรู้ระหว่างครูกับเด็ก ผ่านสมาร์ทโฟน แทปเล็ต และคอมพิวเตอร์ หากพื้นที่ไหนไม่มีก็จะให้ครูใช้ห้องเรียนเป็นฐานในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เชื่อมั่นว่าเด็กม.ปลายปรับตัว

ส่วนการเรียนการสอนอาชีวศึกษา จะมีการบันทึกเทปในส่วนของเนื้อหาสาระ แต่ภาคปฏิบัติอาจจะใช้รูปแบบเดียวกับการอบรมผ่านสื่อโทรทัศน์ ให้นักเรียนฝึกปฏิบัติตาม ส่วน กศน. มีเนื้อหาสาระได้ทำการเผยแพร่ผ่าน DLTV อยู่แล้ว ก็จะมีการเพิ่มเติมสื่อ เนื้อหาที่เหมาะสมมากขึ้น

“พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ” องคมนตรี ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมฯ กล่าวว่าเนื้อหาสาระจะเป็นไปตามหลักสูตรแกนกลางของสพฐ. แต่สื่อในการเรียนการสอน ครูจะเป็นลักษณะตามศักยภาพของครู โดยคำนึงถึงการเรียนรู้ของเด็กทางไกลเป็นสำคัญ แม้จะไม่ครบช่วงชั้น แต่ก็มีความพร้อมทั้งครู สื่อ มากที่สุด และเหมาะสมที่สุด ณ ช่วงเวลานี้

 

ทั้งนี้ กสทช.ได้อนุมัติให้ศธ.ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เพื่อทดลองหรือทดสอบเป็นการชั่วคราวด้วยการส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัลเพื่อการศึกษาเป็นการชั่วคราวให้ออกอากาศแบบความคมชัดปกติSDผ่านช่องสัญญาณจำนวน 17 ช่องเริ่มตั้งแต่ช่อง 37 ไปจนถึงช่อง 53 เป็นระยะเวลา 6 เดือน และในวันที่ 15 พ.ค.นี้กสทช. จะหารือร่วมกับผู้ประกอบการเคเบิลทีวีในรูปแบบต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อม และการจัดทำเลขช่องให้เหมาะสม เพื่อให้เด็กทุกคน บ้านทุกบ้านไม่ว่าจะใช้สัญญาณใดก็สามารถเข้าถึงการเรียนรู้ดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม การเรียนออนไลน์ทุกระดับชั้น ซึ่งข้อมูลการเรียนการสอนผ่านการศึกษาทางไกลทั้งหมดจะนำไปเก็บไว้ ที่ https://www.dltv.ac.th/DLTV2 และในเดือนมิ.ย.นี้ จะสามารดูได้ทาง Digital Education Excellence Platform ที่เว็บไซต์ Deep By MOE เพื่อครูผู้สอน นักเรียน สามารถดูย้อนหลังได้ รวมถึงจะมีการออกอากาศทางฟรีทีวี 17 ช่อง โดยแต่ละเคเบิล แต่ละกล่องทีวีดิจิตอลของกสทช.จะมีการกำหนดช่องที่แตกต่างกัน ขอให้นักเรียนติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิด