เอสเอพีเปิดใช้โซลูชันฟรี หนุนองค์กรรับมือโควิด

03 พ.ค. 2563 | 00:05 น.

เอสเอพี เผยวิกฤติโควิด-19 ส่งผลกระทบธุรกิจวงกว้าง เปิดลูกค้าใช้งานโซลูชันและเทคโนโลยี ช่วยจัดการงานด้านบุคคลและซัพพลายเชน โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย พร้อมแนะองค์กรปรับตัวรับ New Normal

นางสาวเวเรน่า เซียว กรรมการผู้จัดการ เอสเอพี ประจำภูมิภาคอินโดไชน่า เปิดเผยกับ ฐานเศรษฐกิจว่ากลยุทธ์การรับมือสถานการณ์โควิด-19 และการช่วยให้ลูกค้าในประเทศไทยดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นนั้นต้องยอมรับว่าสถานการณ์ปัจจุบันส่งผลกระทบ ต่อลูกค้าและสร้างอุปสรรคให้แก่ภาคธุรกิจขยายวงกว้างไปจนถึงกระบวนการทางธุรกิจ (business process) อันดับแรก เอสเอพี ต้องแน่ใจได้ว่าเทคโนโลยีของเอสเอพีจะสามารถเข้าไปช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานครอบคลุมทุกภาคส่วนตั้งแต่กลุ่มพนักงาน ภาคธุรกิจ ชุมชน รวมถึงภาครัฐให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้อย่างราบรื่น

 

โดยขณะนี้ เอสเอพี ได้เปิดให้ลูกค้าใช้งานโซลูชันและเทคโนโลยี เพื่อช่วยในการจัดการงานด้านบุคคลและซัพพลายเชน โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ประกอบด้วย โซลูชัน Remote Work Pulse by Qualtrics แบบสำรวจความคิดเห็นที่จะช่วยสำรวจความพร้อมขององค์กร ในช่วงที่หลายๆ องค์กรต้อง Work-From-Home โดยจะช่วยให้องค์กรเข้าใจความต้องการของพนักงานว่าพนักงานต้องการการสนับสนุนด้านทรัพยากรและข้อมูลในด้านใดบ้าง เพื่อให้การทำงานของพวกเขาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

 

โซลูชัน SAP Integrated Business Planning for Supply Chain solution บริการด้านการวางแผนซัพพลายเชนแบบบูรณาการเพื่อช่วยเหลือองค์กรต่างๆ ในการประเมินผลกระทบ ที่อาจเกิดขึ้นกับซัพพลายเชน พิจารณาตัวเลือกในการจัดหาสินค้า รวมถึงประเมินผลกระทบ ทางการเงิน โดยองค์กรจะสามารถสร้างแบบจำลองทางธุรกิจในกรณีที่ดีมานด์ของตลาดเปลี่ยนแปลงรวมถึง จำลองผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับระบบการผลิตเพื่อบริหารจัดการซัพพลายเชนให้มีสภาพคล่องและความยืดหยุ่นสูงสุด

 

เอสเอพีเปิดใช้โซลูชันฟรี หนุนองค์กรรับมือโควิด

 

โซลูชัน Supply Continuity Pulse by Qualtrics แบบสำรวจความคิดเห็นที่จะช่วยให้ผู้จัดซื้อเข้าใจถึงสถาน การณ์ของซัพพลายเออร์ และวิเคราะห์ความเสี่ยงที่พึงเกิดจากการหยุดชะงักของซัพพลายเชนได้ล่วงหน้า ข้อมูลจากแบบ สอบถามจะช่วยให้ผู้จัดซื้อสามารถประเมินสถานการณ์ของซัพพลายเออร์ บริหารความต่อเนื่องของธุรกิจของตน วางแผนการรับมือ อีกทั้งให้ความช่วยเหลือแก่ซัพพลายเออร์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

นอกจากนี้ เอสเอพี ยังได้เปิดให้องค์กรทั่วไปสามารถใช้งาน SAP Ariba Discovery โซลูชันอี-คอมเมิร์ซสำหรับ B2B ที่เปิดพื้นที่ให้ผู้จัดซื้อเข้ามาประกาศแสดงความต้องการด้านการจัดซื้อ และซัพพลายเออร์เข้ามาตอบกลับเพื่อปิดดีล โดยตั้งแต่เปิดให้เข้าใช้งานในเดือนมีนาคม 2563 ที่ผ่านมามีข้อมูลการโพสต์ของผู้ซื้อเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% ซึ่งหนึ่งในเคสตัวอย่างสำคัญคือ การจัดหาเตียงโรงพยาบาลสำหรับโรงพยาบาลชั่วคราว โซลูชันนี้สามารถช่วยกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี ของไทยให้รักษาความเชื่อมั่นและความโปร่งใสด้านการจัดการซัพพลายเชนซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด-19

 

ส่วนการปรับตัวขององค์กรในสถานการณ์ปัจจุบัน รวมไปถึงเมื่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 จบลง (New Normal) นั้นขั้นแรกควรจัดตั้งฝ่ายหรือทีมงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบด้านการเตรียมแผนรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินโดยเฉพาะเพื่อกำหนดให้มีแหล่งข้อมูลเดียว (single source) ในการสื่อสารกระจายข้อมูลและตอบคำถามที่พนักงานต้องการทราบ

 

ขั้นต่อไปควรวางกลยุทธ์เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจในระยะยาว โดยวางมาตรการที่ทำให้เกิดความต่อเนื่องของธุรกิจ (Business continuity) ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการงานด้านต่างๆ ได้แก่ ความสามารถขององค์กรในการจัดหาซัพพลายเออร์และการผลิตสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ, การสร้างแบบจำลองทางการเงิน พร้อมกับวิเคราะห์สถานการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งในแง่ดีและเลวร้ายที่สุด, การวิเคราะห์กระแสเงินสดและสภาพคล่อง, การคัดเลือกและกำหนดคุณสมบัติที่จำเป็นของพนักงาน เช่น ผ่านการอบรมทักษะเฉพาะทางและมีใบรับรองความเชี่ยวชาญที่เหมาะสมกับตำแหน่งการทำงาน, การเตรียมความพร้อมด้านเทคโนโลยี และวางแผนงานด้านการสร้างความต่อเนื่องด้านระบบโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรเอสเอพี ในฐานะผู้นำด้านแอพพลิเคชันซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรระดับโลกมีความเชี่ยวชาญในประเด็นที่กล่าวมาทั้งสิ้นและสามารถช่วยสร้างความต่อเนื่องของธุรกิจให้กับองค์กรธุรกิจในประเทศไทยได้

 

สุดท้าย ควรมีการสื่อสารทำความเข้าใจกับลูกค้าและคู่ค้าขององค์กรอย่างตรงไปตรงมา เพื่อชี้ให้เห็นถึงความท้าทายที่เกิดขึ้นและเสนอแนว ทางที่องค์กรสามารถให้บริการที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้าได้ในสถาน การณ์ new normal ที่วิถีชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลงไป

 

แน่นอนว่าขณะนี้บริษัทส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่การประคับ ประคองและการฟื้นตัวของธุรกิจเป็นสำคัญก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล แต่เอสเอพี เห็นแนวโน้มที่อุตสาหกรรมหลายๆ กลุ่ม เช่น อุตสาหกรรมการแพทย์, อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ, อุตสาหกรรมเวชภัณฑ์, อุตสาหกรรมซัพพลายเชนและอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ จะตัดสินใจเพิ่มการลงทุนเพื่อนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในกระบวนการทางธุรกิจในอนาคตอันใกล้นี้ โดยการใช้เทคโนโลยีเพื่อจัดการซัพพลายเชน, การทำระบบการผลิตอัจฉริยะ (smart manufacturing), การขับเคลื่อนองค์กรสู่อุตสาหกรรม 4.0 รวมถึงการจัดการด้านความปลอดภัยและสุขภาพของพนักงาน จะเป็นปัจจัยที่องค์กรธุรกิจในประเทศไทยจะให้ความสำคัญมากขึ้นเพื่อช่วยให้ธุรกิจขับเคลื่อนต่อไปได้

 

หน้า 26 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,570 วันที่ 30 เมษายน-2 พฤษภาคม 2563