ป.ป.ช.ชี้มูลสินบนข้ามชาติ กระทบหนัก‘ซิโน-ไทย’

16 พ.ย. 2562 | 04:00 น.

 

หลังจากที่ “คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ” (...) มีมติชี้มูลความผิดเจ้าหน้าที่ของรัฐ 4 รายกรณีร่วมกันเรียกรับเงิน 20 ล้านบาท จากบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นที่รับว่าจ้างก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปี 2556 พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC จำนวน 2 ราย ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าหน้าที่ของรัฐในการกระทำ ความผิดดังกล่าว

 

รายการ NEWSROOM ห้องข่าวเศรษฐกิจ ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 10.30-11.50 . ช่วง ลึกแต่ไม่ลับ กับ บากบั่น บุญเลิศ ทางเนชั่นทีวี ช่อง 22 ได้ขมวดปมของเรื่องราวต่างๆ

 

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบข้อมูล พบว่า บริษัท ซิโน-ไทยฯ นั้น เป็นคู่สัญญาสำคัญของรัฐโดยปี 2562 มีงานก่อสร้างในโครงการขนาดใหญ่ไม่น้อยกว่า 9 โครงการ วงเงินรวม 76,119.2 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล สายสีเขียวเหนือ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต, สายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ- มีนบุรี, สายสีชมพู-สายสีเหลือง, สายสีนํ้าเงิน ช่วงท่าพระ-บางแค รวมถึงโครงการก่อสร้างรถไฟ ทางคู่ ช่วงนครปฐม-หัวหิน, ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร, ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย และการก่อสร้างโครงการมอเตอร์เวย์ สายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา

 

จากกรณีที่เกิดขึ้น นายบากบั่น ตั้งคำถามใหญ่กับบอร์ดซิโน-ไทยไว้ว่า ถ้าไฟกำลังไหม้บ้าน แล้วไม่ดับไฟจะทำอย่างไร การเป็นคู่สัญญากับรัฐ ทำโครงการต่างๆ มูลค่ากว่า 76,000 ล้านบาท เมื่อบริษัทถูกชี้มูลความผิดว่าให้สินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐ โครงการต่างๆ ที่ทำไว้จะทำอย่างไร? รับงานไปแล้วแต่กำลังมีมลทินติดมาจากอดีตจะเป็นปัญหา บอร์ดต้องตัดสินใจหรือไม่

 

การชี้มูลความผิดของ ...ในครั้งนี้ส่งผลถึงซิโน-ไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ชัดเจนมากที่สุด คือ ตระกูลชาญวีรกูล ซึ่งจากข้อมูลในปี 2557 ระบุว่า นายเศรณี ชาญวีรกูล ถือหุ้นมากที่สุด จำนวน 117,043,394 หุ้น นางสาวนัยน์ภัค ชาญวีรกูล จำนวน 117,043,394 หุ้น ขณะที่นายอนุทิน ชาญวีรกูล ถืออยู่ 71,550,128 หุ้น มีสัดส่วนรวมกันที่ 20% ของหุ้นทั้งหมด

 

ป.ป.ช.ชี้มูลสินบนข้ามชาติ  กระทบหนัก‘ซิโน-ไทย’

 

ทั้งยังปรากฏข้อมูลด้วยว่า บริษัท อิควิตี้ พลัส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของชาญวีรกูล ถือหุ้น จำนวน 45,902,841 หุ้น คิดเป็น 3.01% ขณะที่ UBS AG SINGAPORE BRANCH มีหุ้นอยู่ 76,966,500 หุ้น คิดเป็น 5.04% นางพัชรา จิรรัตน์สถิต จำนวน 63,479,596 หุ้น คิดเป็น 4.69% เป็นต้น

 

ขณะที่ข้อมูล วันที่ 20 มีนาคม 2562 ผู้ถือหุ้นใหญ่ 5 อันดับแรก คือ 1. ซี.ที.เวนเจอร์ จำนวน 234.08 ล้านหุ้น 2. ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำนวน 153.06 ล้านหุ้น 3. UBS AG SINGAPORE BRANCH จำนวน 81.64 ล้านหุ้น 4. นายอนุทิน ชาญวีรกูล จำนวน 71.55 ล้านหุ้น 5. นางพัชรา จิรรัตน์สถิต จำนวน 63.47 ล้านหุ้น

 

 

ตอนหนึ่งในรายการนายบากบั่น นำเสนอข้อมูลเชิงลึกของ บริษัท ซี.ที.เวนเจอร์ฯ ซึ่งถือหุ้น ซิโน-ไทย มากที่สุดในปี 2562 โดยอ้างถึงเอกสารรายงานการได้มาซึ่งหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2559 ระบุว่า นายเศรณี และ นางสาวนัยน์ภัค ชาญวีรกูล ได้ขายหุ้นให้กับ บริษัท ซี.ที.เวนเจอร์ฯ ซึ่งตั้งอยู่ที่ตึก ซิโน-ไทย

 

เราได้เห็นความสัมพันธ์ในเรื่องนี้ ผมจึงบอกว่า ชาญวีรกูล สลัดไม่หลุด แต่เสี่ยหนู-อนุทินสลัดเรื่องนี้หลุด โดยเสี่ยหนู ประกาศตัวตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2562 บอกว่า ขายหุ้นหมดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ก่อนจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ... ส่วนอะไรที่ถือเกิน 5% ก็ไปตั้งบริษัทจัดการทรัพย์สินมา และก็ยกทรัพย์สินไปให้เขาจัดการก็ตามรัฐธรรมนูญทุกอย่าง...”

 

ทั้งยังระบุยํ้าถึงความสัมพันธ์กับซิโน-ไทยว่าพอดีถือไม่เกิน 5% แต่ผมก็คิดไปคิดมา คิดแล้วคิดอีกเพราะนี่เป็นสิ่งที่คุณพ่อผม ทำไว้ให้ผม... ซึ่งผมก็รู้ว่า อันนี้เป็นจุดที่คนจะเอามาตีผมอยู่ตลอดเวลาในจุดนี้ ผมก็เลยตัดสินใจขายไป...” และยืนยันว่าเตรียมเอกสารไว้หมดแล้ว แต่ไม่จำเป็นต้องไปให้ใครดู ใครจะมาถาม ให้ผมไปแสดงที่ไหนที่ต้องทำตามกฎหมายผมก็พร้อม

 

ป.ป.ช.ชี้มูลสินบนข้ามชาติ  กระทบหนัก‘ซิโน-ไทย’

 

นายบากบั่นยังตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับท่าทีของ นายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโน-ไทยฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถูกกล่าวหาชี้มูลความผิดจาก ... ที่ได้ทำหนังสือชี้แจงกับตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยยืนยันว่า บริษัทมีนโยบายดำเนินธุรกิจตามหลักธรรมาภิบาล ไม่เคยมีส่วนเกี่ยวข้องหรือสนับสนุนการทุจริตในทุกรูปแบบ และมีมาตรการป้องกันปราบปรามการทุจริตภายในองค์กรอย่างเข้มงวดตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และพร้อมที่จะต่อสู้จนถึงที่สุด ก่อนตบท้ายหนังสือฉบับนี้ว่า  การชี้มูลของ ...ในครั้งนี้เป็นเพียงแค่การสืบสวนความในขั้นต้นเท่านั้น ยังไม่ถือเป็นที่สุด จึงไม่อาจถือได้ว่า บริษัทเป็นผู้มีส่วนสนับสนุนในการกระทำผิดใดๆ ทั้งสิ้น และตราบเท่าที่ยังไม่มีคำพิพากษาของศาลถึงที่สุด บริษัทก็ยังคงมีสถานะเป็นผู้บริสุทธิ์

 

ในขณะที่ปฏิกิริยาของบริษัท Mitsubishi Hitachi Power Systems (Thailand) Ltd. หรือ MHPS ซึ่งมีแถลงการณ์เรื่องนี้นับตั้งแต่มีกระแสข่าวว่า เจ้าหน้าที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการให้สินบนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในครั้งนี้เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2561 ใจความว่า บริษัทได้ ตระหนักถึงความร้ายแรงของข้อกล่าวหานี้และจะดำเนินการทุกวิถีทาง เพื่อสร้างความมั่นใจว่า หลังจากนี้พนักงานและเจ้าหน้าที่ของบริษัท จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือมีพฤติกรรมการทำผิดกฎหมายเช่นนี้อีก เพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นและมั่นใจบริษัทให้กลับมาโดยเร็ว

 

บริษัทได้ดำเนินการสอบ สวนเรื่องนี้ทันที โดยในเดือนเดียวกันนั้นได้จ้างให้สำนักงานกฎหมายไปดำเนินการสอบสวน พร้อมเก็บข้อมูลทั้งหมดที่ได้มา และส่งให้กับสำนักอัยการโตเกียว เพื่อเข้าสู่กระบวนการฟ้องร้องดำเนินคดี

 

พร้อมกันนี้ผู้บริหารบริษัทได้มีมาตรการเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรม อาทิ ประธานกรรมการบริษัท คืนเงินเดือนให้ 30% เป็นเวลา 3 เดือน ขณะที่รองประธานบริษัทรับผิดชอบด้านฝ่ายขายและผู้ดูแลด้านธุรกิจและวางแผนเชิงกลยุทธ์ คืนเงิน 20% เป็นเวลา 3 เดือน และผู้จัดการอาวุโสในแผนกการจัดการและบริหารคืนเงิน 10% เป็นเวลา 3 เดือน เป็นต้น

 

พร้อมกันนี้ได้มีแถลงการแสดงความเสียใจต่อผู้มีส่วนได้เสียออกมาอีกฉบับด้วย ใจความว่า ที่ผ่านมาบริษัทดำเนินกิจการตามกฎหมายและระเบียบ ข้อห้ามต่างๆ อย่างเคร่งครัด ดังนั้น ทางบริษัทจึงรู้สึกเสียใจและต้องขออภัยอย่างสุดซึ้งต่อลูกค้าและผู้ถือหุ้นของบริษัทต่อเหตุการณ์นี้มา ที่นี้

 

นี่คือ สำนึกของญี่ปุ่น และมาตรฐานของญี่ปุ่น มาเทียบกับมาตรฐานของไทยได้หรือไม่?” นายบากบั่น ตั้งคำถามใหญ่ทิ้งท้ายเอาไว้

 

หน้า 14 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,523 วันที่ 17-20 พฤศจิกายน 2562