วาระร้อนสภาผู้แทนราษฎร ซักฟอกรัฐบาล ศึกษาแก้รธน.

07 พ.ย. 2562 | 03:45 น.

 

ทันทีที่มีพระราช กฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่ 2 ปี 2562 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎรมีคำสั่งนัดประชุม ..ครั้งที่ 1 (สมัยสามัญประจำปี ครั้งที่ 2 ) ในวันที่ 6 พฤศจิกายนนี้

พรรคร่วมฝ่ายค้านไม่เสียเวลา เปิดเกมยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล บิ๊กตู่-พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทันที ล็อกเป้าไปที่หัวขบวน คือ พล..ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เรื่องการบริหารราชการล้มเหลวโดยเฉพาะเรื่องของเศรษฐกิจ

ตามด้วย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เรื่องการบริหารงานเศรษฐกิจที่ล้มเหลว พล..อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ประเด็นการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าบีทีเอส ออกไปอีก 40 ปี และนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ประเด็นการใช้อำนาจผิดกฎหมาย, กรณีล้วงลูกแต่งตั้งโยกย้ายในระบบราชการและรัฐวิสาหกิจ และแทรกแซงการบริหารงานในรัฐวิสาหกิจต่างๆ

17ญัตติแก้รธน.-ละเมิดสิทธิ

ในขณะที่จากการตรวจสอบระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 6 พฤศจิกายนนี้ มีวาระเรื่องด่วนที่สภาผู้แทนฯ ต้องนำขึ้นมาพิจารณาก่อนมีมากถึง 17 เรื่อง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่

1. กลุ่มญัตติด่วนเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ประกาศและคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) รวม 6 เรื่อง อาทิ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนฯตั้ง กมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2560 โดยนายสุทิน คลังแสง และนายปิยบุตร แสงกนกกุล เป็นผู้เสนอ, เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนฯตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญเพื่อศึกษาผลกระทบจากการกระทำ ประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และการใช้อำนาจของหัวหน้า คสช.ตามม.44 ซึ่งนายปิยบุตรกับคณะ เป็นผู้เสนอ ทั้ง 2 เรื่องนี้เลื่อนมาจากการประชุมสภาผู้แทนฯ สมัยสามัญประจำปีครั้งก่อน

 

วาระร้อนสภาผู้แทนราษฎร  ซักฟอกรัฐบาล ศึกษาแก้รธน.

 

เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนฯ ตั้ง กมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาในเรื่องการดำเนินการกับผู้บริหารท้องถิ่นและผู้มีตำแหน่งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ เสนอ

เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนฯตั้งกมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบและหาแนวทางแก้ไข ผลจากประกาศและคำสั่งคณะปฏิวัติคณะต่างๆ ประกาศและคำสั่งของ คสช. คำสั่งของหัวหน้า คสช.และศึกษาผลกระทบและความเหมาะสม ของกฎหมายที่บัญญัติโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อหาแนวทางปรับแก้ให้สอดคล้องกับรธน.และสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป โดยนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย กับคณะ เป็นผู้เสนอ


 

 

เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนฯตั้ง กมธ.วิสามัญเพื่อศึกษาผล กระทบของนโยบายทวงคืนผืนป่า และผลกระทบของผู้ถูกดำเนินคดีจากคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 64/2557 และ 66/2557 เสนอโดย นายอภิชาติ ศิริสุนทร และคณะ และเรื่องขอให้สภาผู้แทนฯตั้งกมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบจากคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจ เสนอโดย พล...วิศณุ ม่วงแพรสี

2. กลุ่มญัตติด่วนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชน จำนวน 6 เรื่อง อาทิ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนฯ ตั้งกมธ.วิสามัญเพื่อตรวจสอบและศึกษา ติดตามการทำงานของหน่วยงานภาครัฐต่อการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนและถูกประทุษร้ายของประชาชน นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ เป็นผู้เสนอ, เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนฯ แต่งตั้ง กมธ.วิสามัญศึกษาและหาแนวทางแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้มาใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ นายสมมุติ เบ็ญจลักษณ์ เป็นผู้เสนอ

 เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนฯตั้ง กมธ.เพื่อสืบสวนข้อเท็จจริงกรณีการลอบประทุษร้าย นักกิจกรรมทางการเมือง นายปิยบุตรกับคณะเป็นผู้เสนอ, เรื่องขอให้สภาผู้แทนฯตั้ง กมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาข้อเท็จจริงในการดำเนินการของเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกรณีประชาชนที่ถูกทำร้ายและสูญหาย นายอันวาร์ สาเละ เป็นผู้เสนอ

เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนฯ ตั้งกมธ.วิสามัญเพื่อพิจารณาและศึกษาการสูญหาย ตาย บาดเจ็บ เนื่องจากสันนิษฐานว่าเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยนายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ เป็นผู้เสนอ และเรื่องขอให้สภาผู้แทนฯตั้ง กมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการข่มขืนกระทำชำเรา เสนอโดยนางสาวพัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ เป็นผู้เสนอ

 

ตั้งกมธ.ศึกษากัญชา-กัญชง

3. กลุ่มญัตติรองลงมาเป็นเรื่องเกี่ยวกับกัญชา และกัญชง ที่พรรคขั้วรัฐบาลพยายามผลักดันให้เป็น พืชเศรษฐกิจตัวใหม่ของไทย จำนวน 3 เรื่อง คือ 1. เรื่องขอให้สภาผู้แทนฯตั้งกมธ.พิจารณาศึกษาความเป็นไปได้และตรวจสอบผลกระทบของการใช้กัญชาในรูปแบบต่างๆในประเทศไทย โดยนายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร กับคณะ เป็นผู้เสนอ

2. เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนฯตั้งกมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาและตรวจสอบ การนำกัญชากัญชง ไปใช้ในรูปแบบต่างๆ ในประเทศไทย นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ เป็นผู้เสนอ และ 3. เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนฯตั้งกมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องใบกระท่อมอย่างเป็นระบบ นายเทพไท เสนพงศ์ เป็นผู้เสนอ

 และอีก 1 ญัตติเกี่ยวกับการบริหารจัดการนํ้า คือ เรื่องขอ ให้สภาผู้แทนฯ ศึกษาปัญหาการบริหารจัดการนํ้าในแม่นํ้าโขง เสนอโดยนายสุทัศน์ เงินหมื่น และนายอิสสระ สมชัย เป็นผู้เสนอ ซึ่งค้างมาจากการประชุม ..สมัยสามัญก่อน   

ขณะที่มีเรื่องค้างพิจารณาอยู่มากถึง 92 เรื่อง ซึ่งหลายเรื่องมีผลกระทบกับประชาชน อาทิ เรื่องขอให้สภาผู้แทนฯตั้งกมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาหนี้สินในครัวเรือน หนี้สินภาครัฐ รวมทั้งค่าครองชีพสูงจากราคา นํ้ามัน ก๊าซ ไฟฟ้า เสนอโดยนายคมเดช ไชยศิวามงคล กับคณะ, เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนฯตั้งกมธ.พิจารณาศึกษาเรื่องผลกระทบจากการประกาศใช้พ...แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) .. 2562 ประเด็นการทำธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ เสนอโดย นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ

เรื่องขอให้สภาผู้แทนฯ ตั้งกมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาการบังคับใช้ข้อบัญญัติกรุงเทพฯ กรณีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพย์สินที่ประชาชนทั่วไปใช้สอยร่วมกันในพื้นที่ส่วนบุคคล เสนอโดยนางกรณิศ งามสุคนธ์รัตนาและนางสาวฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์

และเรื่อง ขอให้สภาผู้แทนฯ ตั้งกมธ.วิสามัญพิจารณา ศึกษาหามาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของประชาชนอย่างครบถ้วนเป็นระบบ โดยเสนอให้เป็นนโยบายวาระแห่งชาติ ซึ่งนายกนก วงษ์ตระหง่าน เป็นผู้เสนอ เป็นต้น

 

หน้า 14 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,520 วันที่ 7-9 พฤศจิกายน 2562