ไฮสปีดเชื่อม3สนามบิน ปฐมบทรอบใหม่ ชิง‘เมืองการบินอู่ตะเภา’

26 ต.ค. 2562 | 04:00 น.

 

24 ตุลาคม 2562 มีการเซ็นสัญญาลงนามในโครงการรถไฟความ เร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน มูลค่ากว่า 200,000 ล้านบาท ระหว่าง กลุ่มซีพี (กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัดและพันธมิตร) กับ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยมี พล.. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ร่วมเป็นสักขีพยานด้วย ที่ทำเนียบ รัฐบาล นับเป็นครั้งแรกของหน้าประวัติศาสตร์ไทยที่ต้องบันทึกไว้

รายการห้องข่าวเศรษฐกิจ NEWSROOM ช่วง ลึก แต่ไม่ลับ กับ บากบั่น บุญเลิศ ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 10.30-11.50 . ตอน มาตามสัญญารถไฟฟ้า 3 สนามบินเปิดทำเนียบเซ็นสัญญากับกลุ่มซีพี ดำเนินรายการโดย บากบั่น บุญเลิศ และ วิลาสินี แวน ฮาเรน เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ที่ผ่านมา พาเจาะลึกผลของการเซ็นสัญญาที่เกิดขึ้นหลังจากนี้

เงื่อนไขของการลงนามเซ็นสัญญารถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระบุไว้อย่างชัดเจนซึ่งปรากฏอยู่ในร่างหนังสือสัญญาและในเงื่อนไขการประมูลครั้งนี้กำหนดว่า ผู้ที่จะเซ็นสัญญาจะต้องตั้ง SPV ด้วยทุนจดทะเบียน 4,000 ล้านบาท ต้องวางหลักประกันในสัญญา 4,500 ล้านบาท รวมถึงมีหนังสือรับประกันค่าธรรมเนียมการลงนาม จำนวน 80 ล้านบาท เพื่อให้กับ รฟท.และสำนักงานอีอีซี ในฐานะเจ้าของโครงการ และหลังจากที่เซ็นสัญญาเรียบร้อยแล้ว กำหนดให้ต้องเพิ่มทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 25,000 ล้านบาทหลังจากที่มีการเดินรถแล้วและเคลมเงินจากรัฐบาลได้ รวมถึงต้องรักษาหนี้สินต่อสัดส่วนของบริษัทไว้ที่ 4 ต่อ 1 เพื่อเป็นเครื่องคํ้าประกันว่า โครงการนี้จะไม่ล้ม และสามารถที่จะเรียกร้องจากบริษัทดังกล่าวได้นายบากบั่น ระบุ

 

ไฮสปีดเชื่อม3สนามบิน  ปฐมบทรอบใหม่  ชิง‘เมืองการบินอู่ตะเภา’

 

บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัดจดทะเบียนเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2562 มีทุนจดทะเบียน SPV อยู่ที่ 40 ล้านหุ้น ประกอบด้วย 1. เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด 70% 2. บริษัท ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรั๊คชั่นฯ 10% 3. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ 10% 4. บริษัท อิตาเลียนไทยฯ 5% และ 5. บริษัท .การช่างฯ5%       

 

มีกรรมการบริษัท ประกอบด้วย 1. นายศุภชัย เจียรวนนท์ นั่งเป็น ประธานกรรมการบริหาร 2. นายนพปฎล เดชอุดม 3. .. สุภสิทธิ์ ชุมพล และ 4. นายอติรุฒม์ โตทวีแสนสุข อีก 4 ราย คือ นายเปรมชัย กรรณสูต จากอิตาเลียนไทย, นายพงษ์สฤษดิ์ ตันติสุวณิชย์กุล และนายชาติวุฒิ ตันจันทร์พงศ์ จาก บริษัท . การช่างฯ และนายโป หง และนายเหล่ย จั๋ว ตัวแทนจากบริษัทไชน่าเรลเวย์ฯ โดยกรรมการที่มีอำนาจเซ็นสัญญาลงนามผูกพันกับ รฟท.และผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการอีอีซี ในครั้งนี้ คือ 1. นายศุภชัย เจียรวนนท์ 2. นายนพปฎล เดชอุดม 3. ..สุภสิทธิ์ ชุมพล และ 4. นายโป หง

 

ไฮสปีดเชื่อม3สนามบิน  ปฐมบทรอบใหม่  ชิง‘เมืองการบินอู่ตะเภา’

 

ช่วงหนึ่งในรายการ นายบากบั่น พาย้อนเวลากลับไปดูคำให้สัมภาษณ์หลายครั้งของเจ้าสัวธนินท์หลังจากมีความพยายามจากภาครัฐที่จะขับเคลื่อนโครงการนี้ให้เกิดขึ้นให้ได้ โดยเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2562 เจ้าสัวธนินท์ บอกกับสังคมว่าซีพี ทำธุรกิจในประเทศไทย บนแผ่นดินของพระมหากษัตริย์ จึงมีหน้าที่ต้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน ดังนั้นต้องทำโครงการนี้ให้สำเร็จ ไม่ใช่ไปรับมาแล้วทำไม่สำเร็จก็จะกลายเป็นภาระของประเทศ

เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2562 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประกาศกร้าวว่า

ถ้าไม่ลงนามจะถูกขึ้นบัญชีดำ ปิดกั้นการประมูลงานในอนาคตเพราะเป็นผู้ทิ้งงานและจะริบเงินประกันซองราคา 2,000 ล้านบาททันที

ต่อมาในวันที่ 3 ตุลาคม 2562 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ ออกมาเรียกร้องเรื่องนี้ว่า ... “กลุ่มซีพีก็ชนะการประมูลมาจะครบปีแล้ว จำเป็นต้องเดินหน้ากันเสียที

กระทั่งในวันที่ 6 ตุลาคม 2562 เจ้าสัวธนินท์ ออกมาบอกว่าถามว่า เสี่ยงไหม เสี่ยง ถามว่ามีโอกาสสำเร็จไหม มี ถ้ารัฐบาลเข้าใจ...รัฐบาลต้องมาร่วมรับผิดชอบด้วยกันกับเอกชน ถ้าเสี่ยง คู่ชีวิตก็เสี่ยงด้วยกัน ถ้าจะล่มก็ต้องล่มด้วยกัน ไม่ใช่เอกชนเสี่ยง รัฐบาลไม่เสี่ยง

 3-4 วันถัดมา นายอนุทิน รองนายกฯ ประกาศยํ้ากับกลุ่มซีพีอีกครั้งว่าเอาปากกามาด้ามเดียวแล้วเซ็นสัญญา กล้าๆ หน่อยพร้อมสนับสนุนทุกอย่างให้ทำงานโดยสะดวก ราบรื่น ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ไม่พูดเยอะ เจ็บลิ้นไก่นี่เป็นเพียงฉากแรกของการต่อสู้กว่าจะได้มาซึ่งการเซ็นสัญญาโครงการประวัติศาสตร์มูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท ในวันที่ 24 ตุลาคมนี้เท่านั้น

ฉากต่อไปที่ต้องจับตา คือ การส่งมอบพื้นที่ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ช่วงพญาไท-สุวรรณภูมิ และลาดกระบัง-อู่ตะเภา ระยะทาง 170 กิโลเมตร โดยพร้อมส่งมอบพื้นที่ทั้งหมดภายใน 1 ปี 3 เดือน หรือไม่เกิน 2 ปี หลังลงนามเซ็นสัญญาร่วมทุน และช่วงพญาไท-ดอนเมือง ภายใน 2 ปี 3 เดือน หรือไม่เกิน 4 ปี

 “ถ้าสามารถส่งมอบช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ภายในปีนี้ ก่อสร้างเสร็จ ซีพีจะขอบริการและเดินรถ และขอเคลมเงินจากรัฐ จากเดิมที่เคยกำหนดไว้ต้องส่งมอบและเดินรถได้ทั้งเส้นทาง แต่มีการขอตัดเป็นช่วงๆ ดังกล่าว โดยฉากที่ 3 ที่จะสู้กันก็คือ การส่งมอบพื้นที่ไฮสปีดระยะทาง 28 กิโลเมตร ในส่วนของพญาไท-สุวรรณภูมิ (เส้นทางแอร์พอร์ตเรลลิงค์) ซึ่งต้องทำทันที

ฉากที่จะต่อสู้กันอย่างรุนแรงอยู่ที่การส่งมอบพื้นที่แอร์พอร์ตเรลลิงค์นี่เอง ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการเมื่อเซ็นสัญญาเสร็จแล้ว โดยซีพีจะต้องส่งมอบเงินกว่า 10,000 ล้านบาทให้กับ รฟท. และซีพีจะสามารถเดินรถไฟฟ้าในเส้นทางนี้ได้ทันที ซึ่งปัจจุบันสามารถเก็บค่าโดยสารได้ประมาณ 240-1,000 ล้านบาทต่อเดือน กล่าวคือ กลุ่มซีพีสามารถเก็บเบี้ยใต้ถุนร้านได้ทันทีระหว่างรอ รฟท.ส่งมอบพื้นที่ในแต่ละช่วง

 

ไฮสปีดเชื่อม3สนามบิน  ปฐมบทรอบใหม่  ชิง‘เมืองการบินอู่ตะเภา’

 

เชื่อผมเถอะว่า ฉากที่ 4 จะรุนแรงที่สุดเพราะจะมีการตีราคาและค่าเสื่อม รวมถึงการซ่อมบำรุงระบบงาน แอร์พอร์ต เรลลิงค์ เหนื่อยนายบากบั่นระบุ

ฉากที่ 5 จะเกิดขึ้นระหว่างการส่งมอบพื้นที่ ช่วงพญาไท-ดอนเมือง ระยะทาง 22 กิโลเมตร ส่งมอบพื้นที่ภายใน 2 ปี 3 เดือน หรือไม่เกิน 4 ปี

 

เรื่องการส่งมอบพื้นที่ส่วนนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย หากส่งมอบช้าจะต้องขยายระยะเวลาให้กับเอกชนตามเวลาที่ทอดออกไป ปัญหาใหญ่อยู่ตรงนี้ เมื่อขยายเวลาออกไปย่อมหมายถึงต้นทุนของเอกชนที่เพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ดี เรื่องนี้เป็นเพียงปฐมบทของการช่วงชิงกันระหว่าง BTS-กลุ่มซีพี เท่านั้น โดยนายบากบั่น ตั้งข้อสังเกตว่าที่ต้องติดตามต่อคือ กรณีการประมูลโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก มูลค่ากว่า 290,000 ล้านบาท ที่ล่าสุดศาลปกครองสูงสุดสั่งทุเลาการบังคับตามมติของคณะกรรมการคัดเลือกของโครงการฯ กรณีไม่รับซองของกลุ่มซีพีเนื่องจากยื่นซองช้ากว่ากำหนด 9 นาที ให้รับเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคัดเลือกด้านราคาแข่งขันกับกลุ่ม BTS ซึ่งเสนอราคาสูงกว่ากลุ่มแกรนด์เอสเตท ของนายไพโรจน์ เปี่ยมพงษ์สานต์ ร่วม 1 แสนล้านบาท

มหากาพย์ไฮสปีดเทรนครั้งนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของปฐมบทรอบใหม่ที่จะไปจบกันอีกทีที่โครงการพัฒนาเมืองการบินอู่ตะเภานายบากบั่น กล่าวทิ้งท้าย

 

หน้า 14 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับที่ 3,517 วันที่ 27-30 ตุลาคม 2562

ไฮสปีดเชื่อม3สนามบิน  ปฐมบทรอบใหม่  ชิง‘เมืองการบินอู่ตะเภา’