5G มาถึงรอบบ้านเราแล้ว!!!

15 ต.ค. 2562 | 03:18 น.

บทความพิเศษ โดยพันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ อดีตรองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. และ ในฐานะส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคภูมิใจไทย

   คลื่นความถี่ในย่าน 3.5 GHz หรือ C-band กำลังเป็นที่รู้จักในฐานะคลื่นความถี่หลักสำหรับ 5G ในปี 2020 ซึ่งในหลายๆ ประเทศได้มีการวางแผนจัดสรรคลื่นความถี่ในย่าน 3.5 GHz สำหรับ 5G อีกทั้งอุปกรณ์ต่างๆ ก็รองรับคลื่นความถี่ในย่านนี้ 

   อย่างเช่นในประเทศมาเลเซีย ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจแห่งชาติ 5G ที่ประกอบด้วยภาคเอกชนและภาครัฐ เพื่อศึกษายุทธศาสตร์ของประเทศในการนำเทคโนโลยี 5G มาใช้ในลักษณะองค์รวม ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายของการจัดทำรายงานเพื่อนำเสนอต่อรัฐบาล โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในไตรมาสที่สี่ของปี 2019 นี้  

5G มาถึงรอบบ้านเราแล้ว!!!

   หน่วยงานกำกับดูแลแห่งประเทศมาเลเซีย (MCMC) ได้ทำการศึกษารายงานก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้บริการ 5G ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งคณะทำงานเฉพาะกิจแห่งชาติ 5G ได้สรุปแผนการที่ครอบคลุมในการพัฒนา 5G ในประเทศมาเลเซียผ่านคณะทำงานสี่กลุ่ม ได้แก่ การทำงานในด้านธุรกิจ การบริหารและการจัดสรรคลื่นความถี่ โครงสร้างพื้นฐาน และกฎระเบียบข้อบังคับ 

 

   โดยได้มีการปรึกษาหารือร่วมกัน ทั้งกระทรวงและหน่วยงานต่างๆ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากภาคเอกชน และบริษัท SME เพื่อระบุความต้องการและความท้าทายในการใช้เทคโนโลยีและระบบนิเวศ 5G  

 

   ซึ่งกระทรวง Communications and Multimedia ได้มีการประกาศโครงการทดสอบเทคโนโลยี 5G (5GDP) เมื่อวันที่ 30 กันยายน โดยจะดำเนินการเป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2019 ถึงมีนาคม 2020 โดยความร่วมมือจากบริษัท 8 แห่ง ในการพัฒนาการใช้งาน 5G จำนวน 55 กรณีศึกษา ใน 6 รัฐ ได้แก่ Kedah, Perak, Penang, Selangor, Terengganu และ Kuala Lumpur โครงการทดลอง 5G ดังกล่าว เป็นการทดสอบความพร้อมของประเทศในการนำเทคโนโลยี 5G มาใช้

 

   บริษัท Celcom Axiata Bhd ได้ชื่นชมการตัดสินใจของรัฐบาลในการขยายโครงสร้างพื้นฐานของเครือข่ายและการให้บริการครอบคลุมพื้นที่ในชนบทของมาเลเซีย โดยเฉพาะในเขต Sabah และ Sarawak โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในอาคารสาธารณะ รวมถึงการสนับสนุนการพัฒนาระบบนิเวศ 5G ของประเทศ

 

   ส่วนบริษัท Celcom พวกเขารู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลได้ให้ incentivec และเสนอแนวทางแก่บริษัทในท้องถิ่น เพื่อร่วมลงทุนในการพัฒนาเทคโนโลยี 5G ซึ่งเป็นการสร้างสรรค์นวัตกรรมและกระตุ้นความต้องการใช้งาน โดย Celcom ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนา 5G เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย 2G, 3G และ 4G LTE+ ที่แข็งแกร่งจะสามารถยกระดับการพัฒนา 5G ได้

    นอกจากนี้ ยังมีบริษัททางด้านโทรคมนาคมอีกหลายแห่งที่ตั้งตารอที่จะร่วมมือกับรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อมอบบริการและการเชื่อมต่อที่ดีที่สุดทั่วประเทศมาเลเซีย โดยงบประมาณของรัฐบาลมาเลเซียส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นในด้านความยั่งยืน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในระยะยาว ทำให้ทั้งรัฐบาล ประชาชน และผู้ให้บริการได้รับผลประโยชน์ในเวลาเดียวกัน ซึ่งจะเป็นการปูทางให้ผู้ประกอบการดำเนินการขยายและยกระดับสู่ประเทศดิจิทัล

    สำหรับแผนการในการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับให้บริการ 5G นั้น ประเทศในภูมิภาค ASEAN มุ่งเน้นไปที่ความถี่ในช่วง 3.3 - 3.8 GHz ดังนี้

    ปัจจุบันฟิลิปปินส์ได้จัดสรรคลื่นความถี่เพื่อให้บริการ 5G แล้ว 

   ส่วนประเทศเมียนมาร์และลาวก็กำลังเตรียมคลื่นความถี่ 3.5 GHz บางส่วนว่างอยู่เพื่อนำมาจัดสรร ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการได้ภายในไตรมาศสองของปี 2020 

   ภายในไตรมาสที่สี่ของปี 2020 ประเทศกัมพูชาจะทำการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับ IMT แต่ต้องทำการเรียกคืนคลื่นความถี่เพื่อนำมาจัดสรรใหม่ (Refarmed) 

    ภายในปี 2022 สิงคโปร์และบรูไน จะทำการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ 

 

5G มาถึงรอบบ้านเราแล้ว!!!

  ภายในปี 2023 ประเทศมาเลเซียและเวียดนาม จะทำการศึกษา 5G อย่างต่อเนื่อง และการทดลอง สำหรับการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อ IMT โดยปราศจากปราศจากการรบกวนซึ่งกันและกัน (Interference)  

  ภายในปี 2024 การใช้งาน C-band สำหรับกิจการประจำที่ผ่านดาวเทียม (FSS) ที่กว้างขวางในประเทศไทยและอินโดนีเซีย จำเป็นจะต้องยกเลิกและทำการจัดสรรใหม่ 

    คลื่นย่าน 3.5GHz อีกหนึ่งวิบากกรรม 5G ประเทศไทย โดยจากรายงานพิเศษจาก GSMA เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เกี่ยวกับเรื่องคลื่นความถี่ย่าน 3.5GHz ในประเทศแถบอาเซียนเป็นการเฉพาะ ถึงแม้ว่า 5G จะสามารถใช้ได้หลายย่านคลื่นความถี่ แต่ความถี่ที่จะเป็นยุทธศาสตร์ตัวนำสำหรับ 5G เนื่องจาก 3.5GHz เป็นคลื่นความถี่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกในการทำ 5G มีอุปกรณ์รองรับเป็นจำนวนมาก เมื่อนำเอาการเตรียมพร้อมการจัดสรรความถี่ 3.5GHz มาวิเคราะห์ได้ว่าประเทศใดจะเป็นผู้นำ 5G ในภูมิภาคนี้ (การเอาคลื่นย่าน 3.5GHz มาเป็นหลักเพราะเป็นคลื่นที่ชี้ได้ว่าจะทำให้เกิดธุรกิจบน 5G จริงๆ  ส่วนการนำความถี่อื่นมาทำ 5G ก็ยากที่จะทำให้เกิดธุรกิจบน 5G จริงๆได้ในช่วงเวลาระยะอันใกล้นี้ แต่ถ้าจะหวังผลเป็นเรื่องแค่ผลการตลาด และโฆษณา ก็อาจะป็นไปได้) จากผลวิเคราะห์จากรายงานฉบับนี้  ไทยน่าจะเป็นประเทศล้าหลัง (อันดับสุดท้ายร่วมกับอินโดนีเซีย ช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านทั้งหมด พม่า, กัมพูชา, ลาว, เวียดนาม และมาเลเซีย)ในความสามารถที่จะใช้งาน คลื่น 3.5GHz ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการทำ 5G เชิงธุรกิจจริงๆ ได้ในขณะนี้

    แม้ว่าคลื่นความถี่ย่าน 3.5 GHz จะเป็นคลื่นที่เหมาะสำหรับเทคโนโลยี 5G เพราะหลายๆ ประเทศใช้คลื่นความถี่ในย่านนี้ และมีอุปกรณ์ที่รองรับ แต่คลื่นความถี่ในย่าน 3.5 GHz นี้ในประเทศไทย ถูกนำไปใช้ในกิจการดาวเทียมไทยคม จากแผนการดำเนินงานข้างต้น จะเห็นว่าการดำเนินงานในเรื่องคลื่นความถี่ของประเทศไทยยังรั้งท้ายประเทศอื่นๆ ใน ASEAN อยู่ ซึ่งแน่นอนว่าหากประเทศไทยต้องการพัฒนาสู่ 5G สิ่งแรกที่ต้องดำเนินการคือต้องทำเรื่องคลื่นความถี่ให้มีความชัดเจน