ไม่ต้องลุ้น! 4 ต.ค. คาด.‘บิ๊กตู่’ เดินหน้าประกันรายได้ยางพารา

23 ก.ย. 2562 | 14:25 น.

รักษาการ ผู้ว่า กยท.เผย คิวประชุม กนย.นายกรัฐมนตรีเคาะแล้ววันที่ 4 ต.ค.นี้ เตรียมชงเสนอประกันรายได้ยางพารา 3 ชนิด ตาม สศก.กำหนดชนิดต้นทุนยางพารานำมาคำนวณผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ คิดจำนวนปี แต่รัฐชดเชย 6 เดือน จ่าย 2 เดือน/ครั้ง ย้ำมีหลักในการคำนวณประกันรายได้เป็นธรรม อธิบายได้

ไม่ต้องลุ้น! 4 ต.ค. คาด.‘บิ๊กตู่’ เดินหน้าประกันรายได้ยางพารา

นายสุนันท์ นวลพรหมสกุล รักษาการผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึง โครงการประกันรายได้ยางพารา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ให้คิวมาแล้วในวันที่ 4 ตุลาคมนี้ คาดว่าไม่น่าที่จะมีอะไรติดขัด เพราะวิธีการดำเนินการใกล้เคียงกับโครงการสร้างความเข้มแข็งชาวสวนยาง

ไม่ต้องลุ้น! 4 ต.ค. คาด.‘บิ๊กตู่’ เดินหน้าประกันรายได้ยางพารา

เพียงแต่ว่าลักษณะแบบนี้ใช้ส่วนที่รัฐบาลกำหนดไว้ก็คือราคายางแผ่นดิบ 60 บาท/กิโลกรัม เป็นเกณฑ์ในการคำนวณ หลักการมีสูตรตามคำนวณรายได้ มีหลักเกณฑ์เรียบร้อยหมด แต่ว่าเกษตรกรจะได้รับ 240 กิโลกรัมต่อปี โดยรัฐจะจ่ายชดเชยรายได้ 6 เดือน เมื่อเฉลี่ยเป็นรายเดือน เท่ากับเดือนละ 20 กิโลกรัมต่อไร่ต่อคน ซึ่งผลผลิตมาจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ที่ได้คำนวณไว้แล้ว

ไม่ต้องลุ้น! 4 ต.ค. คาด.‘บิ๊กตู่’ เดินหน้าประกันรายได้ยางพารา

“สำหรับการคิดคำนวณ DRC มาจากน้ำยางก้อนถ้วยที่เกษตรกรขายได้ในตลาดมาคำนวณส่วนต่างให้ เช่น ยางแผ่นดิบถ้าเกษตรกรขายได้ 40 บาท จะมีส่วนต่างราคา 20 บาท/กิโลกรัม จากรัฐที่ประกันราคายางแผ่นที่ 60 บาท/กิโลกรัม ส่วนน้ำยางสด ที่เกษตรกรขายได้ 39 บาท/กิโลกรัม"  

ไม่ต้องลุ้น! 4 ต.ค. คาด.‘บิ๊กตู่’ เดินหน้าประกันรายได้ยางพารา

เช่นเดียวกับน้ำยางก้อนถ้วย หากเกษตรกรขายได้ 17-18 บาทต่อกิโลกรัม ราคาส่วนต่างที่รัฐประกันรายได้ 23 บาทต่อกิโลกรัม รัฐจะชดเชยส่วนต่างเพิ่มให้ 5-6 บาทต่อกิโลกรัม เพราะต้นทุนแต่ละชนิดยางไม่เท่ากัน อาทิ ราคายางแผ่นดิบ ราคาต้นทุนที่ 55 บาท/กิโลกรัม น้ำยางสด ราคา 33 บาท/กิโลกรัม ยางก้อนถ้วยอยู่ที่ ราคา 21 บาทต่อกิโลกรัม เป็นต้น

ไม่ต้องลุ้น! 4 ต.ค. คาด.‘บิ๊กตู่’ เดินหน้าประกันรายได้ยางพารา

นายสุนันท์   กล่าวชี้แจงเหตุที่ราคาน้ำยางก้อนถ้วย ประกันรายได้ 23 บาทต่อกิโลกรัม เพราะมีน้ำเป็นสัดส่วนอยู่ด้วย จะมี 50% 60% และ 70% แล้วแต่ส่วนต่าง ซึ่งเกษตรกรขายได้จะราคาไม่เท่ากัน ส่วนที่ขายได้  DRC 50% ขายได้ 17-18 บาท/กิโลกรัม แต่ถ้าแห้งหน่อยก็อาจจะขายได้ 19 บาท/กิโลกรัม แต่ถ้าแห้งกว่านั้นสูงถึง 70% เกษตรกรก็ขายได้ 20 บาทต่อกิโลกรัม แต่ราคายางก้อนถ้วยที่เป็นต้นทุนจริง ก็คือกว่า 21 บาท/กิโลกรัม มีสูตรการคำนวณอธิบายได้ แต่ กยท.ใช้ราคาที่เกษตรกรขายได้มาเฉลี่ยในราคาประกันแล้วเติมส่วนต่างให้

ไม่ต้องลุ้น! 4 ต.ค. คาด.‘บิ๊กตู่’ เดินหน้าประกันรายได้ยางพารา

“วันนี้ กยท.เดินหน้าตามนโยบายรัฐบาลที่มาขึ้นทะเบียนกับ กยท.ได้ทั้งเจ้าของสวนและคนกรีดยาง ในเรื่องการคำนวณมีหลักวิชาการ การจ่ายเงินมีหลัก ก็คือ เกษตรกรจะมาขึ้นทะเบียนแล้วแจ้งว่าผลิตยางชนิดอะไร ประกอบกับการพิจารณาในพื้นที่นั้นขายเป็นยางชนิดอะไร”

ไม่ต้องลุ้น! 4 ต.ค. คาด.‘บิ๊กตู่’ เดินหน้าประกันรายได้ยางพารา

ยกตัวอย่างทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ส่วนใหญ่ขายเป็นยางก้อนถ้วย ทางภาคใต้จังหวัดสงขลา และสตูลลงมาจะขายน้ำยางสดส่วนใหญ่ ส่วน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ก็อาจจะมีน้ำยางก้อนถ้วยบ้าง ผสมน้ำยางสดบ้าง จะไปส่องพฤติกรรมการขายควบคู่ถึงมีการแต่งตั้งคณะทำงานระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบล เพื่อร่วมพิจารณาคุณสมบัติของเกษตรกรผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการฯ โดยมุ่งเน้นดำเนินการให้เกิดความรวดเร็ว ถูกต้อง เป็นธรรม รัดกุม เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดซึ่งถือเป็นการช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริต เพื่อประโยชน์ของเกษตรกรชาวสวนยางอย่างแท้จริง

ไม่ต้องลุ้น! 4 ต.ค. คาด.‘บิ๊กตู่’ เดินหน้าประกันรายได้ยางพารา