บอร์ด PPP ตีกลับ 2 โครงการใหญ่

26 ส.ค. 2562 | 06:34 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

ที่ประชุม PPP ไม่อนุมัติ 2 โครงการใหญ่เชิงสังคม ของกรมการแพทย์-กคช.เหตุรายละเอียดไม่ชัดเจน พร้อมสรุปข้อพิพาทเก่า 6 เรื่อง

               นายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน(PPP) ได้พิจารณาโครงการเคหะชุมชนเชียงใหม่ บ้านหนองหอย ของการเคหะแห่งชาติ(กคช.) เนื้อที่ 52 ไร่ วงเงินลงทุนรวม 5,550 ล้านบาท ที่จะก่อสร้างที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ ซึ่งได้ส้ั่งการให้กลับไปพิจารณาในรายละเอียดให้มีความเหมาะสมมากขึ้น ก่อนนำเสนอกลับมาให้ที่ประชุมพิจารณาอีกครั้ง

บอร์ด PPP ตีกลับ 2 โครงการใหญ่

               นายธัชพล กาญจนกูล ผู้ว่าการ กคช.ระบุว่า ที่ประชุมต้องการให้กคช.กลับไปหารายละเอียดเกี่ยวกับ อัตราค่าเช่าที่มองว่าสูงเกินไป โดยกคช.ได้เสนอคิดอัตราค่าเช่าที่เดือนละ 3,000 บาท และมีค่าเซ้งแรกเข้า 1.4 ล้านบาท ระยะเวลาเช่า 30 ปี และสัดส่วนการใช้พื้นที่ให้เหมาะสมมากขึ้น เพราะที่ประชุม PPP ต้องการให้มีพื้นที่เช่าที่อยู่อาศัยมากขึ้นและลดพื้นที่สถานพยาบาลลง จากปัจจุบันที่กคช.แบ่งสัดส่วนที่อยู่อาศัย 60% และสถานพยาบาล 40% ซึ่งหลังจากนี้ กคช.จะหารือกับสคร.เพื่อปรับรายละเอียดต่างๆ ให้เหมาะสมมากขึ้น ก่อนจะเสนอให้ที่ประชุม PPP พิจารณาต่อไปในครั้งหน้า โดยหากได้รับการอนุมัติจากที่ประชุม PPP แล้ว จะสามารถดำเนินการก่อสร้างได้ภายในปีนี้ และจะแล้วเสร็จภายในปี 2564-2565

บอร์ด PPP ตีกลับ 2 โครงการใหญ่

นอกจากนี้ที่ประชุม PPP ยังได้สั่งการให้กรมการแพทย์ ไปศึกษารูปแบบโครงการศูนย์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุขของกรมการแพทย์ มูลค่าวงเงินลงทุนรวม 8,220 ล้านบาท ใหม่ ก่อนนำกลับมาเสนออีกครั้ง เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน โดยให้ศึกษาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีให้กับเอกชนด้วย ซึ่งทั้ง 2 โครงการนี้ นับเป็นโครงการเชิงสังคมโครงการแรกๆ ที่เข้ามาให้ที่ประชุม PPP พิจารณา

ขณะเดียวกัน ที่ประชุมยังมีมติเกี่ยวกับเรื่องข้อพิพาทของโครงการรร่วมลงทุน จำนวน 6 โครงการ ได้แก่ 1 .โครงการท่าเทียบเรือในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้เห็นชอบให้กนอ.ไปเจรจาการร่วมลงทุนตามระเบียบ PPP ได้ทันที 2. โครงการพัฒนาพื้นที่สยามสแควร์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่นับเป็นโครงการที่ต้องให้ที่ประชุม PPP พิจารณา โดยให้จุฬาไปลงทุนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องแทนได้

               3. โครงการพัฒนาที่ราชพัสดุแปลงโรงแรมชายทะเล ของกรมธนารักษ์นั้น เป็นเรื่องที่พิพาทมานาน ที่ค้างเก่าตั้งแต่ปี 2556 ดังนั้นที่ประชุ มจึงมีมติให้พิจารณาตามกฎหมายเดิม แม้จะไม่ตรงกับกฎหมาย PPP ฉบับใหม่ในปี 2562 ก็ตาม 4. กรณีการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ในส่วนของทางด่วนช่วงที่ 2 บางปะอิน-ปากเกร็ด ที่ประชุมเห็นชอบให้กระทรวงคมนาคมและกทพ.สามารถไปเจรจาปรับปรุงสัญญาร่วมกับสัญญาอื่นได้ ส่วนรายละเอียดให้หน่วยงานต้นสังกัดรับผิดชอบได้เอง

               5. การเปิดโครงข่ายเน็ตประชารัฐตามหลักเกณฑ์โครงข่ายแบบเปิด (Open Access Network) ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พิจารณาแล้ว พบว่าไม่เข้าข่าย PPP เนื่องจากไม่มีการแบ่งปันผลประโยชน์กับภาพ และ6. โครงการสรรหาเอกชนเพื่อร่วมลงทุนเป็นผู้ประกอบการสถานีบรรจุและแยกสินค้า (ไอซีดี) ที่ลาดกระบัง ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่ประชุมเห็นว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับมติครม.เดิมที่มีมาก่อนหน้านี้ จึงไม่เข้าข่ายที่ PPP ต้องพิจารณา

บอร์ด PPP ตีกลับ 2 โครงการใหญ่