สสว. หนุน SME รุกอุตฯสร้างสรรค์ตามยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศไทย

21 สิงหาคม 2562

สสว.จัดสัมมนา Localize Character x Supply Chain Integrated Cooperation ความร่วมมืออย่างยั่งยืนเพื่อ SMEs สร้างความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และตระหนักถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์  ชี้เป็นหนึ่งในสาขาอุตสาหกรรมสำคัญภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทย Thailand 4.0

สสว. หนุน SME รุกอุตฯสร้างสรรค์ตามยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศไทย
                นายสุวรรณชัย  โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า สสว.ได้ดำเนินการจัดงานสัมมนา Localize Character x Supply Chain Integrated Cooperation ความร่วมมืออย่างยั่งยืนเพื่อ SMEs เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และตระหนักถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry) ซึ่งเป็นหนึ่งในสาขาอุตสาหกรรมสำคัญภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทย Thailand 4.0

                ทั้งนี้  การดำเนินการดังกล่าว สสว. ได้ร่วมมือกับ 6 หน่วยงานพันธมิตร ได้แก่   สมาคมการค้าลิขสิทธิ์และของที่ระลึกจากคาแรคเตอร์ดีไซน์ ของเล่น และผลงานศิลป์ร่วมสมัยไทย (TCAP) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  Line ประเทศไทย Japan Local Character Association (Yuruchara) Kigurumi.biz และ Venation  ในการร่วมกันการวางแนวทางการทำงานเพื่อพัฒนา และส่งเสริมผู้ประกอบการในสาขาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และการบรรยายการสร้างคาแรกเตอร์ท้องถิ่น (Local Character) โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย 

ประเทศไทยมีความพร้อมในการพัฒนาผู้ประกอบการเพื่อให้มีศักยภาพรองรับต่อการแข่งขันในตลาดของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ทั้งสถาบันการศึกษาที่มีความแข็งแกร่งทางด้านวิชาการ นักสร้างสรรค์ในสาขาต่างๆ ที่ครอบคลุม ทั้งการออกแบบ งานศิลป์ การพัฒนาคอนเทนท์ ผู้ผลิตตั้งแต่ระดับครัวเรือน ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ รวมทั้งด้านการตลาด และสถานที่จัดจำหน่ายสินค้า ล้วนเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย เข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อีกทั้งยังเป็นการ สร้างเครือข่าย หรือความร่วมมือระหว่างคลัสเตอร์ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจที่เชื่อมโยงกัน เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ และเตรียมความพร้อมทางการแข่งขันทางการตลาดอย่างเต็มภาคภูมิ”  

สสว. หนุน SME รุกอุตฯสร้างสรรค์ตามยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศไทย

นายสุวรรณชัย กล่าวต่อไปอีกว่า   จากการสำรวจและประเมินทั่วโลกโดย The Licensing International Global Licensing Survey ในปี 2018 พบว่ามูลค่าตลาดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สูงถึง 280,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเกือบ 8.5 ล้านล้านบาท โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย เพิ่มขึ้นปีละ 3 – 4%ต่อเนื่องทุกปี โดยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และภูมิภาคโอเชียเนีย มีอัตราการเติบโตถึง 5.1% โดยมีสัดส่วน 3.5%ของตลาดรวมโลก  โดยประเทศไทยมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นอันดับ 1 ในอาเซียน เป็นลำดับที่ 39 ของโลก มีมูลค่าตลาดประมาณ 595 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 17,850 ล้านบาท

สสว. หนุน SME รุกอุตฯสร้างสรรค์ตามยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศไทย

“ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ นอกจากกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทอลคอนเทนท์ ตัวอย่างความสำเร็จของผลงานสร้างสรรค์คาแรกเตอร์ไทย ซึ่งสามารถสร้างเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าและบริการ ได้แก่  น้องมะม่วงหรือ Mamuang Jung ของนักวาดการ์ตูน วิศุทธิ์ พรนิมิตร ผลงานสร้างสรรค์ในรูปแบบของเล่น Platform Toy CE และแบรนด์สตรีทแวร์ Carnival ที่สามารถทำรายได้รวมจากการจำหน่ายสินค้าทั้งในและต่างประเทศเฉลี่ยรายละกว่า 30 ล้านบาทต่อปี