"คณิศ" ยันไม่ล้มประมูลท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3

15 ก.พ. 2562 | 07:20 น.
"คณิศ" ยันไม่ล้มประมูลท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 แค่ สั่งยืดเวลายื่นซองแก้ปัญหา อาจกระทบความเชื่อมั่นนักลงทุน บ้าง

วันนี้ (15 ก.พ.) ที่ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้า คสช. เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี  โดยมีเรื่องที่ต้องพิจารณา เช่น การเวนคืนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ ของ การรถไฟแห่งประเทศไทย แนวทางการดำเนินนโยบายต่อแผนการลงทุนของเอกชนในอีอีซี การจัดตั้งเขตส่งเสริมพิเศษเพิ่มเติม โดยเฉพาะการพิจารณาเรื่องที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแผนสิ่งแวดล้อมฯ ในพื้นที่อีอีซี   รวมถึงความเคลื่อนไหวถึงความคืบหน้าของการลงทุนขนาดใหญ่4 โครงการที่กำลังถูกจับตาถึงความคืบหน้า

00000033

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ อีอีซี กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการลงทุนในอีอีซี 4 โครงการ อาจเลื่อนออกไปเล็กน้อย ได้แก่ โครงการสนามบินอู่ตะเภา เลื่อนออกไป20วัน เพราะผู้ที่จะยื่นประมูลแจ้งว่าทำเอกสารไม่ทัน โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจใหญ่ที่แจ้งว่าการเสนอแผนเข้าบอร์ดอนุมัตินั้น จะเสนอแผนคร่าวไม่ได้ ต้องมีรายละเอียดชัดเจน หากยังใช้แผนเดิมอาจทำให้ผู้เข้าร่วมประมูลน้อยลง 1-2 ราย คาดว่าภายในเดือนเมษายนนี้ จะได้รายชื่อผู้ลงทุน

 

ส่วนโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง คณะกรรมการคัดเลือก อยู่ระหว่างการเจรจากับทางซีพี เพื่อเลือกผลประโยชน์ตอบแทนรัฐสูงสุด หากทำสัญญาไม่ได้ ก็จะเจรจากับรายที่สองต่อไป ซึ่งขีดเส้นจะต้องได้ข้อสรุปภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้

[caption id="attachment_389721" align="aligncenter" width="503"] คณิศ แสงสุพรรณ คณิศ แสงสุพรรณ[/caption]

 

โครงการท่าเรือมาบตาพุดระยะที่3 จะเปิดยื่นซองวันนี้ และโครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะที่3 เลื่อนออกไป 2เดือน จาก15มกราคม เป็น15 มีนาคมนี้ เนื่องจากผู้ยื่นประมูลแจ้งว่าทำเอกสารไม่ทัน

“โครงการขนาดใหญ่ที่มีอายุสัมปทาน 30-50 ปี การที่ขยายเวลาให้เอกชนจัดทำข้อเสนอตามที่กล่าวมานี้เป็นเรื่องปกติ ยังไม่กระทบต่อแผนการดำเนินการ ซึ่งการขยายเวลาออกไปก็เพื่อให้ได้นักลงทุนเข้ามายื่นข้อเสนอให้มากที่สุด เพื่อให้ประเทศชาติได้ประโยชน์สูงสุด หากเร่งรับเกิดไปได้เอกชนเข้ามายื่นข้อเสนอน้อยตัวเลือกก็จะน้อยลง”

อย่างไรก็ตามโครงการลงทุนในอีอีซี เลื่อนออกไปเล็กน้อยเท่านั้น มีโครงการแหลมฉบังเลื่อนมากสุด2เดือน ส่วนโครงการอื่นยังเป็นไปตามแผน  โดยโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-อู่ตะเภา) วงเงินลงทุน 2.2 แสนล้านบาท ท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 และ โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก มูลค่า 2.7 แสนล้านบาท ซึ่งอาจจะกระทบความเชื่อมั่นนักลงทุนบ้าง

นอกจากนี้เรื่องที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแผนสิ่งแวดล้อมฯ ในพื้นที่อีอีซี รับทราบหลักการแผนสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 – 2564 ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำเสนอ รวม 86 โครงการ วงเงินรวมทั้งสิ้น 13,572 ล้านบาท (งบประมาณ 9,299 ล้านบาท และการร่วมลงทุนรัฐและเอกชน  หรือ PPP 4,274 ล้านบาท) แยกเป็น 4 กลุ่ม คือ1.จัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี    27 โครงการ 2.ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเมือง และชุมชนอย่างน่าอยู่               14 โครงการ3.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม      8 โครงการ 4.บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ อย่างมีประสิทธิภาพ 37 โครงการเพื่อให้การดำเนินการทันที ที่ประชุมจึงให้ความสำคัญกับโครงการเร่งด่วน (Flagship Project) 14 โครงการ  งบประมาณ 4,342 ล้านบาท และรัฐร่วมทุนเอกชน PPP 4,273 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน เร่งการจัดการมลพิษที่เป็นปัญหาสะสมในพื้นที่ ทั้งขยะและน้ำเสีย โดยเน้นจัดหาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบ ให้มีศักยภาพในการรองรับมากขึ้น

กลุ่มที่ 2 เตรียมการรองรับสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม และการฟื้นคืนทรัพยากรธรรมชาติในอนาคต โดยเร่งการศึกษาประเมินผลคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล เพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่อส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการฟื้นฟูการท่องเที่ยว เพื่อเป็นฐานการพัฒนาประเทศต่อไป

ทั้งนี้การขับเคลื่อนแผนสิ่งแวดล้อมฯ จะปรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ควบคู่ไปกับการสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Creative and Green Economy) ที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ สามารถเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างเท่าเทียมกัน

ติดตามฐาน