ผู้ประกอบการเหมืองจี้ทบทวนการปรับเพิ่มค่าภาคหลวงแร่ส่งออก

28 พ.ย. 2561 | 07:01 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

ตัวแทนผู้ประกอบการเหมืองแร่ เข้ายื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ทบทวนการปรับเพิ่มค่าภาคหลวงแร่ส่งออกจาก 4% เป็น 7% จนทำให้เพิ่มต้นทุนการผลิต และส่งผลกระทบต่อการส่งออกของธุรกิจ SME เดือดร้อนหนัก

464895 ช่วงเช้าวันที่ 28 พฤศจิกายน 2561 ที่กระทรวงอุตสาหกรรม ตัวแทนผู้ประกอบการเหมืองแร่ 13 บริษัทได้เข้ายื่นหนังสือต่อนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เสนอให้พิจารณาทบทวนการประกาศใช้กฏกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่ พ.ศ.2561 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน2561 เนื่องจากกฎกระทรวงดังกล่าวมุ่งหารายได้เข้ารัฐโดยการปรับปรุงการเรียกเก็บค่าภาคหลวงจากแร่ชนิดต่างๆในอัตรา 4% จนถึง 10 %ตามบัญชีแนบท้าย แต่ที่สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้ประกอบ การเหมืองแร่คือ ค่าภาคหลวงเพื่อการส่งออกนอกราชอาณาจักรที่ปรับเพิ่มจาก 4% เป็น 7% แบบกระ ทันหันและไม่มีการหารือกันล่วงหน้า

นายเพิ่มศักดิ์ สุขพัฒนา ตัวแทนกลุ่มผู้ประกอบการเหมืองแร่ที่เข้ายื่นหนังสือ กล่าวว่า ค่าภาคหลวงแร่เพื่อการส่งออกที่ปรับเพิ่มจาก 4% เป็น 7% เป็นอัตราที่สูงมากและส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ เป็นการเพิ่มต้นทุนที่อาจทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศผู้ส่งออกที่สำคัญ เช่น โอมาน, สหรัฐอาหรับเอมิเรต และเวียดนาม ซึ่งต้นทุนต่ำกว่าไทยมาก ยิ่งในภาวะที่เกิดสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนที่ตลาดค่อนข้างผันผวนและอาจจะยิ่งรุนแรงขึ้นในปีหน้า รัฐบาลควรจะสนับสนุนผู้ส่งออกไทยที่เป็นSME ไม่ใช่มาขึ้นค่าภาค หลวงเกือบเท่าตัวที่เป็นการเพิ่มภาระและลดความสามารถในการแข่งขันเช่นนี้

“กระทรวงอุตสาหกรรมอาจจะมองสั้นๆว่าเพิ่มพิกัดอัตราก็ได้ค่าภาคหลวงเพิ่ม แต่ในทางกลับกันหากผู้ประกอบการส่งออกได้น้อยลงหรือส่งออกไม่ได้รัฐบาลก็จะสูญเสียรายได้จากค่าภาคหลวง ภาษีนิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ประกอบการก็จะหดหายตามไปด้วย นี่ยังไม่รวมถึงผลกระทบต่อพนักงาน การจ้างแรงงานเหมืองและธุรกิจต่อเนื่อง ดังนั้นจึงขอความเห็นใจจากกระทรวงอุตสาหกรรมให้ทบทวนเรื่องนี้ใหม่ โดยควรชะลอการบังคับใช้ไว้ก่อน แล้วจัดให้มีการหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมกับสภาการเหมืองแร่เพื่อ พิจารณาให้รอบด้าน มีการกำหนดพิกัดอัตราค่าภาคหลวงที่เป็นธรรม มีมาตรการช่วยเหลือหรือบรรเทาความเดือดร้อนเมื่อมีผลกระทบ โดยสภาการเหมืองแร่จะมีการประชุมเรื่องนี้ในวันที่ 29 พฤศจิกายน” นายเพิ่มศักดิ์กล่าว
ประเภทของแร่ส่งออกนอกราชอาณาจักรที่ต้องชำระค่าภาคหลวงจากเดิมร้อยละ 4 เป็นร้อยละ 7 ตามราคาตลาดแร่ที่อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่(กพร.)ประกาศกำหนด ได้แก่ แร่โดโลไมต์ แบไรด์ ฟลูออไรต์ เฟลด์สปาร์ แมงกานีส ยิปซัม แอนไฮไดรต์ ดินอุตสาหกรรม และหินอุตสาหกรรม

สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการเหมืองแร่ที่ได้รับผลกระทบและได้ร่วมลงนามในหนังสือถึงนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ประกอบด้วย บริษัทยูนิไมนิ่ง จำกัด, บริษัท ครีเอทีฟมิเนอรัล จำกัด, บริษัท 39 ศิลาทอง จำกัด, บริษัท ยูโสบ อินเตอร์เนชั่นแนล กันตัง พอร์ต จำกัด, บริษัท พารุ่ง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด, หจก. พี.โอ.เอส.ไมนิ่ง, บริษัท อัครพัฒไมนิ่ง จำกัด, บริษัท ศรีมณตรา โลจิสติกส์ จำกัด, บริษัท โชคพนา(2512) จำกัด, บริษัท ไพศาลี พารวยสตีล จำกัด, บริษัท ยิปซัม เทรดดิ้ง 2044(ไทยแลนด์) จำกัด, บริษัท ศาลาชัยสุราษฎร์ จำกัด และบริษัท พูลศักดิ์ศิลาทอง จำกัด

595959859 อนึ่ง กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่(กพร.) ได้มีหนังสือถึงสภาการเหมืองแร่เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2561 เพื่อแจ้งให้ทราบว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้ลงนาม(เมื่อ 1 ตุลาคม 2561) ในกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่ พ.ศ.2561 กำหนดค่าภาคหลวงแร่บางชนิดเพื่อการส่งออกนอกราชอาณาจักรในอัตราร้อยละ 7 ของราคาตลาดแร่ที่อธิบดีกพร.กำหนด โดยกฎกระทรวงดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 9 พฤศจิกายน 2561

ขณะที่นางสาวดวงพร บุญยศ หัวหน้ากลุ่มงานตรวจราชการและรับเรื่องร้องทุกข์ ซึ่งเป็นตัวแทนลงมารับเอกสารหนังสือร้องเรียน ระบุว่า จะเร่งเสนอเรื่องดังกล่าวให้ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พิจารณาให้อย่างเร่งด่วน

ข้อมูลอุตสาหกรรมเหมืองแร่ไทยปี 2560 มูลค่าผลผลิตรวม 72,870 ล้านบาท ลดลง 18% จากปี2559 ที่มีมูลค่า 88,908 ล้านบาท นำเข้า 66,110 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 14.23% จากปี59ที่นำเข้า 57,874 ล้านบาท
ส่งออกมูลค่ารวม 12,860ล้ านบาท ลดลง 36.15% เฉลี่ยลดลงปีละ 3%

รัฐบาลมีรายได้จากค่าภาคหลวงแร่ปีละประมาณ 4,000 ล้านบาท โดยปี 2560 มีรายได้ 3,837 ล้านบาทลดลง 14.8% จากปี59 สาเหตุใหญ่เพราะระงับเหมืองแร่ทองคำและปิดเหมืองในพื้นที่สปก.การผลิตและส่งออกแร่จึงลดลง 090861-1927-9-335x503-335x503