ประมูลคลื่น900/1800ส่อยาว ‘บอร์ดกสทช.’รอมติกฤษฎีกา

22 ก.พ. 2561 | 06:21 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

บอร์ด กสทช. เบรกประมูลคลื่น 1,800 และ 900 เมกะเฮิรตซ์ รอมติคณะกรรมการกฤษฎีกา ชี้รักษาการ กสทช. มีอำนาจดำเนินการหรือไม่ คาดรู้ผลภายใน 1-2 เดือน

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า จากมติที่ประชุมบอร์ด กสทช. วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 มีประเด็นที่สำคัญ 2 เรื่องคือ 1. ผลการพิจารณาการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1,800 และย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ และ 2. โครงการเน็ตประชารัฐ หรือ USO net

สำหรับ ประเด็นแรกเรื่องการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1,800 และย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ นั้นที่ประชุมบอร์ด กสทช. มีมติให้รอความเห็นจากคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อน ว่ารักษาการ กสทช. ชุดปัจจุบันมีอำนาจในการพิจารณาเรื่องนี้ต่อไปได้หรือไม่ แต่หากระยะเวลาการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา เวลาล่วงเลยเกิน 1-2 เดือน ไปแล้ว ที่ประชุมของบอร์ด กสทช. ก็จะนำเรื่องนี้มาพิจารณาให้มีความเหมาะสมมากที่สุด เพื่อให้กระบวนการประมูลเดินหน้าต่อไป

[caption id="attachment_260115" align="aligncenter" width="503"] ฐากร ตัณฑสิทธิ์ ฐากร ตัณฑสิทธิ์[/caption]

อย่างไรก็ตามสำหรับหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1,800 เมกะเฮิร์ตซ โดยหากมีผู้เข้าประมูล 1 ราย จะมีการขยายระยะเวลาการประมูลออกไปอีก 30 วัน หากยังคงมีผู้เข้าประมูลเพียง 1 ราย เมื่อครบ 30 วัน การประมูลจะยังคงดำเนินต่อไปได้ แต่จะต้องมีการเคาะราคาประมูลขึ้นไปอีก 1 ครั้ง ถึงจะเป็นผู้ชนะการประมูลในครั้งนั้น ถ้าหากมีผู้เข้าประมูล 2 ราย การประมูลก็ยังคงดำเนินต่อไป โดยจะนำใบอนุญาตมาประมูลเพียง 1 ใบ แต่ถ้ามีผู้เข้าประมูล 3 ราย จะนำใบอนุญาตมาประมูล 2 ใบ และหากมีผู้เข้าประมูล 4 รายขึ้นไป ก็จะนำใบอนุญาตออกมาประมูล 3 ใบ

ทั้งนี้เมื่อมีการนำไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะมาแล้ว มีผู้เสนอว่าใบอนุญาตที่ กสทช. ได้มีการแบ่งเป็น 15 เมกะเฮิรตซ์ 3 ใบนั้นไม่เหมาะสม มติของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองจึงเสนอให้แบ่งเป็นใบละ 5 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 9 ใบ โดยสามารถประมูลรวมกันได้สูงสุด 4 ใบ

ขณะที่ในส่วนของคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิร์ตซนั้น ยังคงต้องรอความเห็นจากคณะกรรมการกฤษฎีกา ตอบกลับมาถึง อำนาจหน้าที่เช่นเดียวกัน ในขณะที่คณะอนุกรรมการกลั่นกรอง มีมติให้ชะลอการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิร์ตซไว้ก่อน จน กว่าการทดลองการ์ดแบนด์จะพบว่าไม่มีการรบกวนระบบรถไฟความเร็วสูง โดยต้องแล้วเสร็จและใช้งานได้ไม่เกินปี 2563 ส่วนในอีกกรณีคือ หากกระบวนการสรรหา กสทช. ชุดใหม่เป็นไปตาม ระยะเวลาที่กำหนด กสทช. ชุดใหม่ก็สามารถดำเนินการต่อได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องรอผลจากคณะกรรมการกฤษฎีกา แต่หากการสรรหาเกิดการติดขัด รักษาการ กสทช. ปัจจุบันอาจต้องนำเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณาเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อภาครัฐ

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก

 

ประเด็นที่ 2 การดำเนินการโครงการ USO Net 15,732 หมู่บ้าน ภายใต้กรอบวงเงินกว่า 3,200 ล้านบาท โดยคาดว่าจะมีการออกเงื่อนไขการประกวดราคาภายในปลายเดือนนี้ เพื่อให้มีการลงนามสัญญาแล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม และเปิดให้บริการครบถ้วน 15,732 หมู่บ้าน ในปลายปี 2561 จากกรณีที่จะมีการส่งมอบโครงการดังกล่าวให้ทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ดำเนินการต่อนั้น หากยังไม่มีการแจ้งมาอย่างเป็นทางการว่ากระทรวงดีอีจะรับทำหรือไม่ ทาง กสทช. จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบโครงการนี้ต่อไป

นอกจากนี้ประเด็นเรื่องของการขยายเวลาการชำระหนี้ของผู้ประกอบ การทีวีดิจิตอลและโทรคมนาคมนั้น ทาง กสทช.ได้มีการติดตามและจัดทำข้อมูลเสนอไปยังรัฐบาล โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างรอการพิจารณาจากนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,341 วันที่ 18 - 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว