สหรัฐฯยังไม่ประกาศต่ออายุGSPที่สิ้นสุด31ธ.ค.60

16 ม.ค. 2561 | 08:49 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

สหรัฐฯ ยังไม่ประกาศผลการพิจารณาต่ออายุโครงการ GSP ที่เพิ่งจะสิ้นสุดโครงการฯ เมื่อ 31 ธ.ค. 60 เหตุรัฐสภาสหรัฐฯ ต้องพิจารณาออกกฎหมายช่วงปลายปีจำนวนมาก

นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เผยว่า โครงการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ปัจจุบัน สหรัฐอเมริกา ได้ต่ออายุโครงการฯ มาเป็นระยะเวลา 4 ปี 5 เดือน ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2556 จนถึง 31 ธันวาคม 2560 เพื่อให้สิทธิ GSP แก่สินค้าที่นำเข้าจากประเทศที่กำลังพัฒนาและพัฒนาน้อยที่สุด รวมถึงประเทศไทย ซึ่งขณะนี้สหรัฐฯ ยังไม่ได้ประกาศต่ออายุโครงการให้กับไทย ตลอดจนกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาน้อยที่สุด จำนวนรวม 131 ประเทศ ทำให้การใช้สิทธิพิเศษ GSP ขาดความต่อเนื่อง โดยหากรัฐสภาสหรัฐฯ พิจารณาและประกาศต่ออายุโครงการดังกล่าวแล้ว ผู้นำเข้าสหรัฐฯ ที่ขอสงวนการใช้สิทธิพิเศษฯ ไว้ จะสามารถดำเนินการยื่นขอคืนภาษีอากรขาเข้าได้ในภายหลัง

[caption id="attachment_250544" align="aligncenter" width="503"] ???????????????????????????????????? นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์[/caption]

ทั้งนี้โครงการ GSPสหรัฐฯ เป็นระบบสิทธิประโยชน์ทางการค้าที่ผู้ประกอบการไทยคุ้นเคยและสร้างประโยชน์แก่การส่งออกของไทยมาเป็นเวลาช้านาน ตั้งแต่ปี 2519 เพื่อช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้สินค้าจากประเทศที่กำลังพัฒนาและพัฒนาน้อยที่สุดให้สามารถเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ ได้มากขึ้น โดยจะยกเว้นภาษีนำเข้าสหรัฐฯ หากสินค้าอยู่ในข่ายที่ได้รับสิทธิฯ ซึ่ง สหรัฐฯ กำหนดหลักเกณฑ์ในการระงับและตัดสิทธิ GSP ไว้ เช่น หลักเกณฑ์ระดับการพัฒนาประเทศ (GNP per Capita) หากประเทศใดมีรายได้ระดับสูง (High Income) จะถูกตัดสิทธิฯ

appl1

โดยข้อมูล World bank ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2560 ประเทศที่มีรายได้ระดับสูงจะมี GNP per Capita มูลค่ามากกว่า 12,235 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมี GNP per Capita มูลค่า 5,640 ดอลลาร์สหรัฐฯ และหลักเกณฑ์ทบทวนการให้สิทธิฯ รายสินค้า โดยจะกำหนดเพดานมูลค่าการนำเข้าสหรัฐฯ เป็นต้น ที่ผ่านมา กรมการค้าต่างประเทศได้ดำเนินการยื่นคำร้อง (Petition) เพื่อรักษาสิทธิพิเศษฯ ตามกำหนดระยะเวลาที่สหรัฐฯ เปิดโอกาสให้ดำเนินการมาอย่างสม่ำเสมอ

728x90-03

ทั้งนี้หลักการสำคัญของ GSP คือ เป็นการให้ฝ่ายเดียว และเป็นการให้สิทธิฯ แบบชั่วคราว ประเทศผู้ให้สิทธิฯ จะยกเลิกหรือระงับสิทธิพิเศษนี้ได้ตามความจำเป็น โดยที่ผ่านมาสหรัฐฯ พิจารณาต่ออายุโครงการ GSP ต่อเนื่องมาโดยตลอด เพราะการนำเข้าผ่านประเทศที่ได้รับสิทธิ GSP จะช่วยลดการนำเข้าจากจีนและเพิ่มช่องทางการนำเข้าสินค้าจากหลากหลายแหล่งให้แก่ผู้นำเข้าได้เลือกสินค้าที่มีคุณภาพ และราคาที่เหมาะสมได้ ทั้งนี้ ในปี 2560 (มกราคม-ตุลาคม) สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าจากไทยภายใต้โครงการ GSP เป็นมูลค่า 3,472.78 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยสินค้าที่มีการใช้สิทธิสูง ได้แก่ ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ ถุงมือยาง อาหารปรุงแต่ง ผลไม้แปรรูป และเครื่องยนต์ เป็นต้น

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9