ผวาโรงไฟฟ้าตั้งกองทุน ปัญหาลงบัญชีรับรู้รายได้-นํ้าตาลบุรีรัมย์หารือตลาด8ธ.ค.นี้

08 ธ.ค. 2560 | 14:02 น.
ผู้ประกอบการธุรกิจโรงไฟฟ้า วิ่งโร่หารือตลาด หลักทรัพย์ฯ พบปัญหาการลงบัญชีรับรู้รายได้การขายโรงไฟฟ้าเข้ากองทุน เป็นการขายรายได้ล่วงหน้า

นายอนันต์ ตั้งตรงเวชกิจ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท นํ้าตาลบุรีรัมย์ฯ (BRR) เปิดเผยว่า บริษัท จะเข้าหารือตลาดหลัก ทรัพย์ฯ เกี่ยวกับการลงบันทึกบัญชีการขายโรงไฟฟ้าเข้ากองทุน ซึ่งเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา BRR ได้ขายโรงไฟฟ้า (ชีวมวลจากกากชานอ้อย) เข้ากองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้ากลุ่มนํ้าตาลบุรีรัมย์ (BRRGIF) ไปแล้วจำนวน 2 โรง และมีแผนนำโรงไฟฟ้าที่มีเข้ากองทุนเพิ่มเติมอีก 2 โรง ซึ่งโรงไฟฟ้าที่นำเข้ากองทุนแล้ว เป็นการขายรายได้ล่วงหน้า โดยบริษัทรับเงินจากการขายโรงไฟฟ้าเข้ากองทุนแล้ว 3,000 ล้านบาท ผลตอบแทนจากหน่วยลงทุนเฉลี่ยปีละ 6% เป็นเวลา 18 ปี ตามสัญญาโอนสิทธิรายได้โรงไฟฟ้าดังกล่าว

[caption id="attachment_239352" align="aligncenter" width="503"] อนันต์ ตั้งตรงเวชกิจ อนันต์ ตั้งตรงเวชกิจ[/caption]

ประธานกรรมการบริหาร กล่าวว่า การตีความรายได้จากการขายโรงไฟฟ้าเข้ากองทุน บริษัทเห็นว่า มีรายได้จากการขายโรงไฟฟ้าเข้ามา การลงบัญชีจะบันทึกเป็นรายได้การขาย ไม่ใช่หนี้สิน แต่บริษัท ไพร้ซ วอเตอร์เฮาส์ คูเปอร์ส เอบีเอเอส (PWC) ซึ่งเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท เห็นว่าเป็นการขายรายได้ ล่วงหน้า จึงต้องบันทึกบัญชีเป็นหนี้สิน ส่งผลให้หนี้สินเพิ่มขึ้น และสัดส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) สูงขึ้น แม้ว่าจะเป็นตัวเลขทางบัญชีเท่านั้น

“ตัวแทนบริษัท จะเข้าหารือกับตลาดหลักทรัพย์ฯ วันที่ 8 ธันวาคมนี้ ว่ารูปแบบการรับรู้รายได้จากการขายโรงไฟฟ้าเข้ากองทุน จะสรุปอย่างไร ซึ่งทั้งตลาดและบริษัท เห็นตรงกันให้บันทึกเป็นการขายสินทรัพย์ ที่มีเงินสดเข้ามา หากเป็นรูปแบบการลงบัญชี เป็นรายได้รับล่วงหน้า จะเป็นการลงบัญชีหนี้สิน ทำให้โรงไฟฟ้าโรง 3-4 ขนาดกำลังการผลิตโรงละ 9.9 เมกะวัตต์ ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ ต้องสะดุดพับแผนขายเข้ากองทุน” นายอนันต์ กล่าว

MP17-3320-A ประธานกรรมการบริหาร BRR กล่าวถึง การลอยตัวราคานํ้าตาลว่า ไม่ส่งผลกระทบกับบริษัท เนื่องจากบริษัทขายนํ้าตาลล่วงหน้าแล้ว 2.8 ล้านตัน หรือ 30% ของปี 2561 ราคาเฉลี่ย 19.25 เซ็นต์ต่อปอนด์ ขณะที่ราคาตลาดโลกประมาณ 15 เซ็นต์ต่อปอนด์ ซึ่งจุดเด่นของนํ้าตาลบุรีรัมย์คือ นํ้าตาลต่อตันอ้อยสูงที่สุด โดยอ้อย 1 ตัน ได้นํ้าตาล 118 กิโลกรัม สูงกว่าเฉลี่ยของประเทศได้ 103 ตัน

“ราคาเฉลี่ยนํ้าตาลปีก่อน 20 เซ็นต์ แต่บริษัทมีมูลค่าเพิ่มที่ได้จากผลผลิตมาช่วยเรื่องราคา รวมทั้งความเข้มแข็งเรื่องผลผลิตต่อไร่ที่โตมาตลอด 3 ปี ผลผลิตอ้อยจาก 2.2 ล้านตัน ขึ้นมา 2.8 ล้านตัน และปี 2561 ขึ้นสู่ 3 ล้านตัน และแผนการลงทุนใหม่ๆ ที่มีผลตอบแทนการลงทุนไม่ตํ่ากว่า 10% รอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เช่นธุรกิจต่อยอดจากการใช้ชานอ้อย ประเภทกล่องโฟม และโรงไฟฟ้า 3-4 ขณะนี้รอการขอใบอนุญาตจากรัฐ ซึ่งสามารถดำเนินการได้ทันที

วิทยุพลังงาน แหล่งข่าวผู้สอบบัญชี กล่าวว่า ตามรูปแบบการขายรายได้ล่วงหน้า เข้ากองทุน มี 2 รูปแบบคือ รูปแบบแรก การขายขาด หรือขายสินทรัพย์ออกไป มีเงินสดเข้ามา และมีผลต่างกำไร วิ่งเข้าไปเป็นกำไรจากการขายสินค้านั้นๆ ทำให้งบกำไรขาดทุนในปีที่ขายออกมาดี และรูปแบบที่ 2 คือ การขายรายได้ล่วงหน้า แต่สินทรัพย์รวมทั้งสิทธิการบริหาร ยังอยู่กับเจ้าของเงินที่ได้มาจะเป็นหนี้สินแทน ซึ่งมุมของผู้สอบบัญชีมองว่าเป็นการกู้เงิน ผลกระทบนี้ทำให้บริษัทมีหนี้เพิ่มขึ้น

“ก่อนที่ผู้สอบบัญชี จะยอมให้เป็นการขายขาดได้ ต้องให้เจ้าของทรัพย์สินดีแคร์ขนาดไหน เงื่อนไขการทำสัญญาต่างๆ ขณะตั้งกองทุน จะกำหนดไว้ชัดเจน ซึ่งในตลาดหลักทรัพย์ฯมีบางรายที่ขายรายได้ล่วงหน้า เป็นการขายขาด โดยเฉพาะกรณีของกองทุนบีทีเอส เป็นกองทุนแรกๆ ที่นำมายกตัวอย่างไม่ได้ เพราะเป็นเคสแรกยังมีแนวทางไม่ชัดเจน” ผู้สอบบัญชีกล่าว

ผู้บริหารบีทีเอส กรุ๊ป (BTS) กล่าวว่า บริษัท ขายรายได้จากค่าโดยสารล่วงหน้า เป็นการขายขาด และมีกำไรจากการขาย 2,000 ล้านบาท สามารถนำมาจ่ายเงินปันผลผู้ถือหุ้นได้

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,320 วันที่ 7 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว