“อังกฤษ” กับภาวะ “รัฐสภาแขวน”

09 มิ.ย. 2560 | 09:41 น.
—9 มิ.ย.60—การเลือกตั้งทั่วไปของอังกฤษครั้งนี้จบลงด้วยที่ไม่มีพรรคใดชนะได้เสียงข้างมากในสภา ทำให้เกิดภาวะสภาแขวน หรือ hung Parliament สถานการณ์จะเป็นอย่างไรต่อจากนี้?

Hung Parliament หรือรัฐสภาแขวน คือภาวะที่ไม่มีพรรคการเมืองพรรคใดชนะเลือกตั้งด้วยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้เสียงเกินครึ่งหนึ่งของที่นั่งในสภา ซึ่งภาวะนี้เคยเกิดขึ้นกับการเลือกตั้งทั่วไปของอังกฤษมาแล้วในปี 2010

b1 คำถามต่อจากนี้คือ พรรคที่ได้สส.มากที่สุดจะเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลใช่หรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่จำเป็นเสมอไป แม้ว่าพรรคที่ได้สส.มากที่สุด จะเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งและหัวหน้าพรรคก็มักจะกลายเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศก็ตาม บางทีพรรคที่ได้สส.มาเป็นอันดับที่ 2 ก็สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ด้วยเช่นเดียวกันหากได้รับความร่วมมือจากพรรคอื่นๆ

สำหรับอังกฤษ การที่จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีนั้นต้องได้รับเสียงโหวตส่วนใหญ่จากสส.ในสภาสามัญชน ซึ่งจำนวนเสียงที่กำหนดไว้คือ 326 เสียง เพราะเป็นตัวเลขที่มากพอที่รัฐบาลจะสามารถผ่านกฎหมายใหม่ได้โดยไม่ถูกฝ่ายค้านคว่ำร่าง และหากจำนวนสส.ของรัฐบาลไม่เพียงพอจนทำให้รัฐบาลไม่สามารถผ่านกฎหมายใหม่ได้ นั่นก็คือภาวะสภาแขวน หรือสภาชะงักงันนั่นเอง

b2-768x530 สำหรับสถานการณ์ในตอนนี้ รัฐบาลพรรคอนุรักษ์นิยมจะยังคำทำหน้าที่อยู่และนางเทเรซ่า เมย์ ก็จะยังคงเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป จนกว่าจะมีการตัดสินใจว่าพรรคใดจะจัดตั้งรัฐบาลใหม่แทน หรือเกิดกรณีที่นางเมย์นั้นลาออกเอง

นอกจากนี้อาจมีกรณีการเจรจากันระหว่างบรรดาผู้นำพรรคการเมืองและทีมเพื่อจัดตั้งพรรคร่วมรัฐบาลใหม่ว่าจะให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีระหว่างนางเทเรซา เมย์ หรือนายเจเรมี คอร์บิน ซึ่งเป็นสองหัวหน้าพรรคที่มีโอกาสมากที่สุดตอนนี้ และยังมีความเป็นไปได้ว่า ทั้งสองพรรคอาจตัดสินใจเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย โดยไม่พึ่งพรรคร่วมเลยก็เป็นได้ โดยไปรอลุ้นในแต่ละครั้งที่จะเสนอกฎหมายใหม่ว่าจะโน้มน้าวพรรคอื่นๆให้ลงมติให้ได้หรือไม่

7085-1-1-768x512 ตามธรรมเนียมการเมืองอังกฤษแล้ว นางเทเรซา เมย์จะมีสิทธิในการจัดตั้งรัฐบาลก่อนเพื่อให้ได้เสียงข้างมาก และหากเป็นที่แน่ชัดว่าเธอไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ และเธอตัดสินใจลาออก นายคอร์บิน ถึงจะมีโอกาสก้าวมาเป็นนายกรัฐมนตรีแทน

สำหรับระยะเวลาในการจัดตั้งรัฐบาลนั้น ไม่ได้มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจน ในปี 2010 รัฐบาลใช้เวลา 5 วันในการตั้งรัฐบาล แต่การเลือกตั้งครั้งอื่นๆใช้เวลามากกว่านี้

a14 อย่างไรก็ตาม รัฐสภาอังกฤษจะเปิดประชุมเป็นครั้งแรกในวันที่ 13 มิถุนายนนี้ นางเมย์จึงมีเวลาเหลืออีกไม่กี่วันเพื่อหาพรรคร่วม หรือไม่ก็ประกาศลาออก

ทั้งนี้ รัฐบาลอังกฤษต้องได้รับการสนับสนุนจากจำนวนสส.ที่เพียงพอเพื่อผ่านกฎหมายใหม่ตามข้อเสนอของพรรคในวันที่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบ็ธที่สองจะมีพระราชดำรัสแถลงนโยบายของรัฐบาลในพระปรมาภิไธยด้วยพระองค์เอง หรือ Queen’s Speech ในวันที่ 19 มิถุนายน

นางเมย์สามารถเลือกเสี่ยงอยู่ในอำนาจต่อและลุ้นเอาในวันนั้นเพื่อให้ได้คะแนนเสียงทีเพียงพอในวันดังกล่าว

ทั้งนี้ตามธรรมเนียมแล้ว สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบ็ธที่สอง จะไม่ทรงยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และพระองค์จะไม่ทรงเลือกนายกรัฐมนตรีเอง แต่พระองค์อาจได้รับการทูลเกล้าฯแนะนำว่า ยังไม่ต้องมีพระราชดำรัส Queen’s Speech ในกรณีที่มีข้อสงสัยว่ารัฐบาลอาจไม่ได้เสียงจากรัฐสภาที่เพียงพอ