เปิดวิธีคิด หญิงแกร่ง ปั้น "C2" น้ำดื่มรักษ์โลก 

22 ธ.ค. 2566 | 01:23 น.

คอลัมน์ ซีอีโอโฟกัส" เปิดวิธีคิด หญิงแกร่ง ปั้น "C2" น้ำดื่มรักษ์โลก  ตั้งบริษัทลูก "ซีดิ้ง" ดึงแจ็คสัน หวัง ศิลปินหนุ่มมากความสามารถ เป็นพรีเซ็นเตอร์ 

 

นับเป็นน้ำดื่มที่ได้รับ  รางวัลมากที่สุดในโลก  สำหรับ ซีทรู (C2)เครื่องดื่มสัญชาติไทย  ของบริษัทซีดิ้ง จำกัด  ที่ถูกออกแบบมาแบบไร้ฉลากรักษ์โลก จนได้รับรางวัลออกแบบระดับโลกมาก ถึงเกือบ 12 รางวัล  ภายใต้การบริการงานของ คุณโม“กฤติยา ใหญ่โสมานัง “General Manager ASA Bangkok  หญิงแกร่งในวัยเพียง 30 ปี ที่ถ่ายทอด วิธีคิด การทำธุรกิจ ผ่าน “คอลัมน์ซีอีโอ โฟกัส”  ว่า

ได้ทำธุรกิจเกี่ยวกับ น้ำดื่ม ซี่งธุรกิจนี้เป็นธุรกิจครอบครัว ก่อตั้งมาประมาณเกือบ 40 ปีที่ผ่านมา หลักๆ ได้รับเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ตามแบบมาตรฐานหรือ OEM ให้กับแบรนด์ชั้นนำทั่วประเทศอย่าง ร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่น (7-11) แม็คโคร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลวิภาวดี เป็นต้น โดยมีโรงงานทั้งหมดกระจายอยู่ทั่วประเทศปัจจุบันมีอยู่ 3 ภาค ภาคกลาง ภาคใต้และอีสาน

เมื่อต้นปีที่ผ่านมาได้แตกไลน์ผลิตธุรกิจ ออกมาก่อตั้งบริษัทใหม่ ชื่อ บริษัทซีดิ้ง จำกัด บริษัทลูก ทำน้ำดื่ม ซีทรู(C2) เปิดตัวได้ไม่นานโดยมีคุณ แจ็คสัน หวัง หรือ แจ็คสัน GOT7 ศิลปินหนุ่มมากความสามารถ มาเป็นพรีเซ็นเตอร์  เธอเล่าว่า ตกใจมากที่คุณ แจ็คสัน หวัง  เลือกมาเป็นฟรีเซ็นเตอร์ ให้น้ำดื่มซีทู ที่เขารับเพราะมีเรื่องราวที่น่าสนใจมากกว่าน้ำดื่มธรรมดา ขวดสามารถรีไซเคิลได้ 100% ทรงขวดที่ออกแบบได้รับรางวัลจากทั่วโลก และคนไทยคนแรกที่ทำขวดขึ้นมาแล้วได้รับรางวัลจากทั่วโลก ได้ไปโชว์ผลิตภัณฑ์ที่ ประเทศสหรัฐอเมริกา และอังกฤษ

ขณะเดียวกันลวดลายจะเป็นสัตว์อยู่บนขวดมี 4 ลายจะมีหมี นกปลา และกวาง ที่จะสื่อถึงโลกใบนี้   ถ้าเป็นหมีก็จะเป็นหมีขั้วโลกที่น้ำแข็งกำลังละลาย จากภาวะโลกร้อน นกที่บินอยู่บนอากาศเจอมลพิษ กวางอยู่ในป่าที่ป่ากำลังถูกเผาไหม้และปลาที่มีเศษพลาสติดไมโครที่อยู่ในน้ำ  แน่นอนว่า ไม่ใช่แค่น้ำดื่มแต่มันคือความใส่ใจความที่อยากจะเชิญชวนคนทุกคนมารักษ์โลกด้วยกันผ่านน้ำดื่ม ช่วยผลักดันเพราะเป็นของคนไทย ไม่ใช่ของต่างชาติและดีไซน์เนอร์ที่ออกแบบเป็นคนไทย

กฤติยา ใหญ่โสมานัง

วิธีคิดที่เป็นแบบนี้เริ่มจากทำไมต้องเป็นธุรกิจผ่านการรักษ์โลก เนื่องจากเราทำน้ำดื่มมา 40 ปี ได้เห็นว่าพลาสติก ซึ่งเราก็ดูทุกวันว่าพลาสติกเริ่มเยอะมากขึ้นในโลกนี้ ทำให้รู้สึกว่า เราทำน้ำ จะทำพลาสติกรักษ์โลกได้อย่างไรให้มันยั่งยืนจึงมอบ นักออกแบบ ไกด์ไอเดียว่าทำอย่างไร ขวดน้ำธรรมดา มีค่าขึ้นมา จึงออกมาเป็นขวดน้ำรักษ์โลกไร้ฉลาก 100% และแกะเป็นอักษรเบรลล์ ลงบนขวดสำหรับคนพิการทางสายตาเลยทำให้ขวดตัวนี้ ได้รับรางวัลทั่วโลกมากที่สุด

" ขวดเล็ก แต่มีมูลค่า ซึ่งคนอาจไม่ทราบ ว่ารีไซเคิลได้ 100% ทำเป็นเสื้อ ผ้าห่ม รองเท้าหรือกระเป๋า หรือนำกลับมาเป็นขวดใหม่ได้แต่ไม่ใช่ขวดที่นำมาดื่มอาจจะเป็นขวดประเภทอื่นที่ไม่ใช่การบริโภค"

 อนาคตวางแผนธุรกิจสำหรับน้ำดื่มซีทู คุณโม บอกว่า อยากเติบโตสู่ระดับโลกไม่แค่แต่เติบโตในประเทศก็คิดว่าอีก 3 ปี 5 ปี เริ่มส่งออกต่างประเทศมากขึ้น โดยเริ่มจากประเทศที่เกี่ยวกับรักษ์โลกหรือ Sustainable อย่างสิงคโปร์ โดยจะเริ่มส่งออกไปที่ประเทศสิงคโปร์ประเทศแรก ส่วนใหญ่ถ้าเป็นต่างประเทศเราจะส่งออกเป็นน้ำแร่มากกว่า อย่างต่างประเทศจะนิยมดื่มน้ำแร่ คิดว่าเป็นประเทศในแถบอาเซียนก่อนแล้วค่อยขยับไป  โดยในบ้านเราขายถูกมากสำหรับน้ำดื่มถ้าในเซเว่น อีเลฟเว่น (7-11) ขายขวดละ10 บาทเท่านั้น ไม่แพงแถมขวดมีประโยชน์

 ส่วนไลฟ์สไตล์ในตัวเองโมทำงานมาตั้งแต่เด็กเริ่มทำงานกับที่บ้าน ทำธุรกิจเสื้อผ้า ร้านอาหาร จิวเวอร์รี่  ทำหลายๆอย่างเลยมีความรู้สึกว่าน้ำเป็นอะไรที่ทำมา 40 ปีอยากมาสานต่อให้แค่น้ำมีมูลค่าไม่กี่บาทมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นแล้วมันทำอะไรที่รักษ์โลกได้ด้วย ซึ่งจริงๆ แล้วขวดได้ออกมามา 3-4 ปีแล้วแต่ประเทศเรา ช่วงนั้นอาจจะยังไม่เอื้อต่อเทคโนโลยีนี้  ยังไม่เอื้อต่อการรักษ์โลกมากเท่าที่ควรเนื่องจากช่วงนั้นเทคโนโลยีที่จะเป่าขวดออกมาเป็นรอยนูนค่อนข้างยาก ดังนั้นจึงรอทุกอย่างลงตัว แล้วจึงเปิดตัว

การทำธุรกิจ น้ำดื่นรักษ์โลก ได้ทำร่วมกับพี่สาวและพี่เขย กว่าจะทำให้ทุกคนเปิดใจกับแนวคิดใหม่ค่อนข้างยากเธออธิบายว่ากว่าจะมาเป็นวันนี้เคยโดนโจมตีค่อนข้างมากทั้งผู้ใหญ่เองที่เคยทำธุรกิจมาก่อนหรือจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)บ้านเราที่ไม่อนุญาตกับการทำสิ่งของที่ไม่มีฉลากแต่ต่อสู้หลายปีกว่าจะออกมาเป็นโปรดักส์นี้จนเป็นที่ยอมรับใช้เวลานานพอสมควรอย่างที่บอกถ้าเราทำเมื่อ 5 ปีที่แล้วกับทำตอนนี้เทคโนโลยีบางอย่างมันไม่เอื้อ

งานอดิเรกโมชอบไปเดินชมธรรมชาติปีนผาและชอบต่อยมวยเหมือนแบบได้ระบายอารมณ์ออกด้วยแต่จริงๆชอบเดินป่าเดินเขาได้ชมธรรมชาติแล้วมันทำให้เราเฟช จากที่รู้สึกว่าเหนื่อยล้าจากการทำงานได้ไปรับความสงบอากาศดีๆ ทำให้มีีไฟที่จะกลับมาทำงานให้ดีกว่าเดิมเพราะเวลาไปสูดอากาศอย่างไปเขาใหญ่มีความรู้สึกว่าต่อไปอีก 10 ปี 20 ปีข้างหน้าจะมีอากาศแบบนี้อีกหรือไม่ อนาคตเปลี่ยนแน่ถ้าคนยังใช้ทรัพย์กรมากอยู่เราจะไม่สามารถเอาสิ่งต่างๆที่ใช้มันกลับมา รียูสหรือนำมารีไซเคิลได้ มันก็จะหมดไป

เมื่อถามถึง โรล โมเดล คุณโม บอกว่า  เป็นครอบครัว คุณพ่อ คุณแม่และพี่สาวซึ่งเขาผ่านอะไรมามาก ในฐานะน้องคนสุดท้อง แต่ว่าในครอบครัวสอนให้รู้จักคำว่าอดทนคือสิ่งที่สำคัญที่สุดไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามหรือการทำธุรกิจไม่ใช่เดือนเดียวได้ผลปีเดียวได้ผลแต่มันคือ 3 ปี 5 ปี 10 ปี ต้องอดทนรอ และสั่งสมประสบการณ์ ต้องรู้จักรับฟังผู้อื่น รู้จักเรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาดไม่ใช่ยอมแพ้แต่ให้กลับไปดูว่าคุณผิดพลาดจากอะไรแล้วกลับมาแก้ไข คุณแม่สอนให้เป็นผู้ใหญ่

ที่บ้านมีแต่ลูกผู้หญิงมีพี่น้องด้วยกันสองคน มีพี่สาวและเธอเป็นคนสุดท้องและเป็นหัวเรี่ยวหัวแรง ย้อนไปก่อนหน้านี้คุณแม่อยู่บนถนนสายการเมือง ประมาณมีลูกสาวอยากให้แข็งแกร่งเหมือนผู้ชาย ดังนั้นต้องทำได้หมดทุกอย่างเหมือนผู้ชายเขาจะสอนให้เผชิญกับโลกภายนอกไม่โลกสวยหรูมีอะไรจะบอกเราทุกอย่างตอนนี้บ้านเกิดอะไรขึ้นมีปัญหาอะไรเขาต้องบอกให้ลูกๆรับรู้เตรียมตัว

 สำหรับการเรียน หลักสูตร WOW คุณโมอธิบายว่าการเข้ามาเรียนในหลักสูตรนี้มันไม่ใช่แค่การเพิ่มเติมความรู้แต่ มานั่งฟังประสบการณ์ของพี่ๆหลายๆท่านไม่ว่าจะเป็นพี่ๆ หรือรุ่นน้องคนที่อายุมากหรือน้อยกว่า นั่นคือประสบการณ์ที่หาไม่ได้จากที่อื่น คือการแชร์เรื่องราวแล้วทำให้รู้สึกว่าเขาเก่งกว่าเรามาก หลังจากที่เคยรู้สึกว่า เราทำดีที่สุดแล้วเก่งที่สุดแล้วหรือแย่ที่สุดแล้วแต่เมื่อ ฟังเรื่องราวของคนอื่นทำให้รู้สึกว่า เขาเก่งมากเลยยังมีคนอีกหลายคนที่เก่งกว่าและสามารถนำเอาสิ่งเหล่านั้นไปต่อยอดปรับใช้กับชีวิต

เธอมองว่าการเรียนรู้มันไม่มีที่สิ้นสุดและคิดว่าหลักสูตรนี้ ทั้งความรู้ที่เขาให้มาและมิตรภาพ มันดีทั้งนั้นเลยต่อยอดธุรกิจแชร์ประสบการณ์ที่สามารถเชื่อมโยงกันได้ อยากฝาก ให้ทุกๆท่านช่วยสนับสนุนผลงานของคนไทยไม่ว่าจะเป็นการออกแบบภาพยนตร์ ละครและแม้แต่โปรดักต์ซีทู วอเตอร์เอง โดยมองว่าจริงๆแล้ว คนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก นี่คือ ประโยคสั้นๆแต่กินใจ สำหรับหัวใจรักษ์โลกอย่างแท้จริง!!!

 

หน้า 17 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 43 ฉบับที่ 3,950 วันที่ 21 - 23 ธันวาคม พ.ศ. 2566