วันพืชมงคล 2566 ตรงกับวันไหน เช็กวันหยุด- เปิดประวัติพระราชพิธีสำคัญ

02 เม.ย. 2566 | 01:00 น.

อัพเดท “วันพืชมงคล 2566” ปีนี้ ตรงกับวันที่ 17 พฤษภาคม “ประยูร” ปลัดเกษตรฯผู้ทำหน้าที่พระยาแรกนา นำเจ้าหน้าที่ลงไปทำความคุ้นกับพระโคที่ใช้ในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ หรือที่นิยมเรียกว่า “พิธีแรกนา” กำหนดจัดขึ้นในราวเดือนหกของทุกปี หรือเดือนพฤษภาคมที่มีฤกษ์ยามที่เหมาะสมต้องตามประเพณีให้จัดขึ้นในเวลานั้น อันถือเป็นเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มต้นฤดูกาลแห่งการทำนา ซึ่งเป็นอาชีพหลักของประชาชนคนไทย เพื่อความเป็นสิริมงคลและบำรุงขวัญเกษตรกรให้เกิดความมั่นใจในการเพาะปลูก

วันพืชมงคล 2566 ตรงกับวันไหน เช็กวันหยุด- เปิดประวัติพระราชพิธีสำคัญ

ทั้งนี้ พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญได้สืบทอดมายาวนาน ตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี และได้กระทำเต็มรูปบูรพประเพณีครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2479 เว้นไปจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2503 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ฟื้นฟูพระราชประเพณีนี้ขึ้นใหม่และได้กระทำติดต่อเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เว้นแต่ปี พ.ศ.2563-2564 ซึ่งประเทศไทยประสบสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มิได้จัดงานพระราชพิธีฯ โดยมีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิธีปลุกเสกเมล็ดพันธุ์ข้าวพระราชทาน เพื่อเป็นเมล็ดพันธุ์สำหรับเพาะปลูก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพิธีหว่านข้าวในแปลงนาทดลองสวนจิตรลดา

วันพืชมงคล 2566 ตรงกับวันไหน เช็กวันหยุด- เปิดประวัติพระราชพิธีสำคัญ

สำหรับปีนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยนายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้ทำหน้าที่พระยาแรกนา มีการกำหนดวันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2566 โดยได้กำหนดให้วันอังคารที่ 16 พฤษภาคม 2566 เป็นวันสวดมนต์การพระราชพิธีพืชมงคล และวันพุธที่ 17 พฤษภาคม 2566 เป็นวันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

วันพืชมงคล 2566 ตรงกับวันไหน เช็กวันหยุด- เปิดประวัติพระราชพิธีสำคัญ

โดยแต่ละหน่วยงานจะมีหน้าที่รับผิดชอบในงาน อาทิ กรมส่งเสริมสหกรณ์ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเตรียมความพร้อมฝึกซ้อมเกษตรกรผู้เข้าเฝ้ารับพระราชทานรางวัล และนำเกษตรกรเข้าร่วมงานพระราชพิธีฯ เป็นต้น

วันพืชมงคล 2566 ตรงกับวันไหน เช็กวันหยุด- เปิดประวัติพระราชพิธีสำคัญ


ทั้งนี้ พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จัดขึ้นเพื่อสร้างความเป็นสิริมงคลแก่การผลิตพืชพันธุ์ธัญญาหารของประเทศไทย มุ่งหมายบำรุงขวัญให้กำลังใจแก่เกษตรกรของชาติ เมื่อย่างเข้าสู่ต้นฤดูกาลเพาะปลูกทุกปี นับตั้งแต่โบราณจวบจนปัจจุบันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพระราชพิธี 2 พิธีรวมกัน คือ พระราชพิธีพืชมงคลอันเป็นพิธีสงฆ์ ประกอบพระราชพิธีวันแรกในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (พิธีไถหว่าน) อันเป็นพิธีพราหมณ์ ซึ่งจะประกอบพระราชพิธีในวันรุ่งขึ้น ณ มณฑลพิธีสนามหลวง กรุงเทพมหานคร

คันไถ

สำหรับการประกอบพิธีนั้นจะถูกกำหนดขึ้นโดยโหรหลวง ซึ่งในระหว่างพิธีอันสวยงามนี้ ก็จะมีการทำนายปริมาณน้ำฝนในช่วงฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง โดยพระยาแรกนาจะทำการเลือกผ้า 3 ผืนที่มีความยาวต่างกันตามชอบใจ ซึ่งผ้าทั้ง 3 ผืนนี้มีความคล้ายคลึงกัน หากพระยาแรกนาเลือกผืนที่ยาวที่สุดก็ทายว่า ปีนี้ปริมาณน้ำฝนจะมีน้อย

ย้อนหลังปฏิทินวันพืชมงคล

แต่ถ้าเลือกผืนที่สั้นที่สุด ทายว่าปีนี้จะมีปริมาณน้ำฝนมาก หรือหากเลือกผืนที่มีความยาวปานกลาง ทายว่าปีนี้จะมีปริมาณน้ำฝนพอประมาณ ต่อมา หลังจากที่สวมเสื้อผ้าที่เรียกว่า ผ้านุ่ง เรียบร้อยแล้ว พระยาแรกนาก็จะไถลงไปบนพื้นที่ท้องสนามหลวงด้วยพระนังคัลสีแดงและสีทอง มีพระโคเพศผู้ลำตัวสีขาวทำหน้าที่ลาก แล้วตามด้วยเทพีทั้ง 4 ทำหน้าที่หาบกระเช้าทองและกระเช้าเงินที่บรรจุเมล็ดข้าวเปลือก

วันพืชมงคล 2566 ตรงกับวันไหน เช็กวันหยุด- เปิดประวัติพระราชพิธีสำคัญ

นอกจากนี้ยังจะมีคณะพราหมณ์ที่เดินคู่ไปกับขบวน พร้อมทั้งสวดและเป่าสังข์ไปในขณะเดียวกันเมื่อเสร็จจากการไถแล้ว พระโคจะได้รับการป้อนพระกระยาหารและเครื่องดื่มทั้งสิ้น 7 ชนิด ได้แก่ เมล็ดข้าว ถั่ว ข้าวโพด หญ้า เมล็ดงา น้ำ และเหล้า ไม่ว่าพระโคจะเลือกกิน หรือดื่มสิ่งใดก็ทายว่าในปีนั้น ๆ จะสมบูรณ์ด้วยสิ่งที่พระโคเป็นผู้เลือก

วันพืชมงคล 2566 ตรงกับวันไหน เช็กวันหยุด- เปิดประวัติพระราชพิธีสำคัญ

ขั้นตอนต่อมา พระยาแรกนาจะทำการหว่านเมล็ดข้าว ประชาชนจะพากันมาแย่งเก็บ เพราะถือกันว่าเมล็ดข้าวนี้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อันจะนำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์และก่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่มีไว้ในครอบครอง เมื่อเก็บเมล็ดข้าวกลับไปแล้ว ชาวนาก็จะใช้เมล็ดข้าวที่เก็บได้มาผสมกับเมล็ดข้าวของตัว เพื่อให้พืชที่ลงแรงลงกายปลูกในปีที่จะมาถึงนี้มีความอุดมสมบูรณ์

วันพืชมงคล 2566 ตรงกับวันไหน เช็กวันหยุด- เปิดประวัติพระราชพิธีสำคัญ

สำหรับพระโคที่จะเข้าพระราชพิธีแรกนาขวัญนั้น จะถูกเลี้ยงดูอย่างดีที่จังหวัดราชบุรี โดยพระโคที่ใช้ในพระราชพิธีจะต้องมีลักษณะที่ดี ขาด หรือเกินไม่ได้ อันประกอบด้วย หูดี ตาดี แข็งแรง เขาทั้งสองตั้งตรงสวยงาม พระโคแต่ละคู่จะต้องมีสีเหมือนกัน อีกทั้งจะมีการคัดเลือกพระโคเพียงสองสี คือ สีขาวสำลีและสีน้ำตาลแดง เจาะจงว่าเป็นเฉพาะเพศผู้เท่านั้นและต้องผ่านการตอนเสียก่อนด้วย

วันพืชมงคล 2566 ตรงกับวันไหน เช็กวันหยุด- เปิดประวัติพระราชพิธีสำคัญ

ล่าสุดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566 นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ศูนย์วิจัยผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพราชบุรี เพื่อเตรียมความพร้อมและทำความคุ้นเคยกับพระโคที่ใช้ในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2566 พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง