ชาวสวน รอลุ้นข่าวดี กนย. นัด วันที่ 31 ต.ค. ไฟเขียว "ประกันรายได้ยางพารา" ปี 4

18 ต.ค. 2565 | 02:47 น.

“อุทัย” แจ้งข่าวดี กนย.นัดประชุม วันที่ 31 ต.ค. ไฟเขียว "ประกันรายได้ยาง" ปี 4 พร้อมชง นายกรัฐมนตรี พ่วงเรื่อง รีดภาษีชาวสวนยางที่ปลูกยางพารา อัตราขั้นต่ำ 80 ต้น/ไร่ ซ้ำเติมราคายางตก ร้องกำหนดอัตราขั้นต่ำใหม่ ชี้ขัดกับกฎหมาย กยท. ปัจจุบันยังต้องจ่ายค่าเซสส์ กก.ละ 2 บาท

อุทัย สอนหลักทรัพย์

 

นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย และผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ในวันที่ 31 ตุลาคม 2565 นี้ ทางการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ได้แจ้งแล้วว่าจะมีการประชุม กนย.เพื่อเดินหน้าโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 4 หรือประกันรายได้ยางพารา ปีที่ 4 โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในที่ประชุมคาดว่าจะเห็นชอบในหลักการ  ซึ่งมีหลักเกณฑ์เหมือนปีที่ผ่านมา

 

เริ่มประกันรายได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 -มีนาคม 2566  แบ่งสัดส่วนรายได้ เจ้าของสวน ร้อยละ 60 และคนกรีด ร้อยละ 40 ของรายได้ทั้งหมด รายละไม่เกิน 25 ไร่ ประกันรายได้ราคายางแผ่นดิบคุณภาพดี 60 บาท/กิโลกรัม ประกันรายได้ราคาน้ำยางสด (DRC 100%) 57 บาท/กิโลกรัม ประกันรายได้ราคายางก้อนถ้วย (DRC 50%) 23 บาท/กิโลกรัมงบประมาณ  เมื่อผ่านการพิจารณาเห็นแล้วก็ให้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการจัดทำรายละเอียดโครงการ เพื่อนําเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาได้ในลำดับต่อไป

 

นายอุทัย กล่าวว่า ในวันดังกล่าว ได้ให้ทางเจ้าหน้าที่บรรจุวาระเพิ่มเติม  เป็นเรื่องประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่องหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ซึ่งออกประกาศอาศัยอ่านาจตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ซึ่งมีประกาศ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอนที่ 63 ก. หน้า 2 วันที่ 14 กรกฎาคม 2558 มาตรา  4 ค่าว่า “สวนยาง”  อาศัยอ่านาจตามมาตรา 6 วรรคหนึ่งและมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งก่อสร้าง พ.ศ.2562 กระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย ได้ออกประกาศเรื่องหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง เพื่อจัดเก็บภาษีตามอัตราในมาตราที่ 37 ดังนี้

 

 

1) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ให้มีอัตราภาษีไม่เกิน ร้อยละ 0.15 ของฐานภาษี

 

(2) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย ให้มีอัตราภาษี ไม่เกินร้อยละ 0.3 ของฐานภาษี

 

(3) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกเหนือจาก (1) หรือ (2) ให้มีอัตราภาษีไม่เกินร้อยละ 1.2 ของฐานภาษี

 

(4) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ท่าประโยชน์ตามควรแก่สภาพ ให้มีอัตราภาษีไม่เกินร้อยละ 1.2 ของฐานภาษีการใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมตาม (1) ต้องเป็นการท่านา ท่าไร่ ท่าสวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ และกิจการอื่นตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ร่วมกันประกาศกำหนด

 

ชาวสวน รอลุ้นข่าวดี กนย. นัด วันที่  31 ต.ค. ไฟเขียว "ประกันรายได้ยางพารา" ปี 4

 

ทั้งนี้ ในการจัดท่าประกาศดังกล่าว ให้น่าความเห็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาประกอบการพิจารณาด้วย ปรากฏว่า บัญชีแนบท้ายประกาศฯ (ก) กำหนดชนิดพืช “ยางพารา” มีอัตราขั้นต่ำของการประกอบการเกษตรต่อไร่ไว้ 80 ต้น/ไร่ ซึ่งหมายถึง “ขั้นต่ำ 80 ต้นต่อไร่” เข้าหลักเกณฑ์เป็นการประกอบเกษตรกรรมซึ่งอัตราภาษีจะไม่เกินร้อยละ 0.15 ของฐานภาษีตามข้อ (1) แต่ถ้าต้นยางน้อยกว่า 80 ต้น/ไร่ ก็ต้องเสียภาษีในอัตราตามข้อ (3) หรือ (4) อัตราภาษีไม่เกินร้อยละ 1.2 ของฐานภาษี

 

นายอุทัย กล่าวว่า สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย มีความเห็นว่าการกำหนดอัตราขั้นต่ำ 80 ต้น/ไร่ ส่าหรับ “พืชยางพารา” ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง เพราะเหตุว่า โดยข้อเท็จจริงแล้ว การปลูกยางซึ่งใช้เวลาถึง 7 ปี จึงจะได้ผลผลิต ระยะปลูกส่วนมากจะเป็น 3×8 เมตร จะได้ต้นยางจ่านวน 68 ต้น/ไร่ แต่กว่าจะครบ 7 ปี ถึงเปิดกรีดต้นยาง ต้นยางส่วนหนึ่งจะตายเนื่องด้วยภัยธรรมชาติหรือเป็นโรค คงเหลือต้นยางประมาณ 50 ต้นต่อไร่

 

 

“ในปัจจุบันเมื่อราคายางตกต่ำ ภาครัฐก็จะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชแซมยางและพืชร่วมยาง ระยะปลูกยางก็ต้องปรับเป็น 3×12 เมตร ซึ่งจะได้ต้นยางจ่านวน 44 ต้น/ไร่ เปิดกรีดได้ประมาณ 30-35 ต้น/ไร่ ซึ่งใกล้เคียงกับ ข้อกฎหมายตามพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทยพ.ศ.2558 มาตรา 4 ที่กำหนดค่าจ่ากัดความค่าว่า “สวนยาง”โดยเฉลี่ยควรไม่น้อยกว่า 25 ต้น/ไร่จึงควรทบทวนและแก้ไขจ่านวนขั้นต่ำของพืชยางพารา เป็น 25 ต้นต่อไร่ ซึ่งเกษตรกรชาวสวนยางจะเสียภาษีที่ดินในอัตราไม่เกินร้อยละ 0.15 ของฐานภาษี

 

ชาวสวน รอลุ้นข่าวดี กนย. นัด วันที่  31 ต.ค. ไฟเขียว "ประกันรายได้ยางพารา" ปี 4

 

สมาคมฯ ขอเรียนว่า การกำหนดอัตราขั้นต่ำ 25 ต้นต่อไร่ของการปลูกพืช “ยางพารา” ซึ่งฐานภาษีจะไม่เกินร้อยละ 0.15 ของฐานภาษีตามที่เสนอข้างต้นนั้น แม้ว่าจะเป็นไปตามหลักวิชาการการปลูกยางและสอดคล้องกับข้อกำหนดในพระราชบัญญัติการยางฯ ก็ตาม เหตุผลอื่นที่สนับสนุนคือ จะสร้างความเป็นธรรมให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง เพราะเกษตรกรชาวสวนยางยังต้องเสียค่าธรรมเนียม (ทางอ้อม) ตามพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 มาตรา 12 (4) ซึ่งค่าธรรมเนียมส่งออก(cess) ปัจจุบันได้เก็บในอัตรา 2 บาท/กก. อยู่แล้ว โดยการยางแห่งประเทศไทยน่าเข้า “กองทุนพัฒนายางพารา” เพื่อใช้จ่ายตามมาตรา 49 (1)-(6) แล้วเกษตรกรชาวสวนยางทุกคนยังต้องเสียภาษีอื่นเช่นเดียวกับเกษตรกรที่ปลูกพืชชนิดอื่นด้วย เช่น ภาษีรายได้หัก ณ.ที่จ่าย ฯลฯ ด้วย

 

ดังนั้นการทบทวนภาษีที่ดิน ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอนที่ 63 ก หน้า 2 วันที่ 14 กรกฎาคม 2558 ตามที่เสนอ จึงเป็นการลดความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรชาวสวนยางในภาวะราคายางตกต่ำ อีกด้วย สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย ขอน่าเสนอให้นายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติได้โปรดพิจารณา เพื่อลดผลกระทบความเดือดร้อนของพี่น้องชาวสวนยาง